Social Media คือโครงข่ายการสร้าง Media ที่มีการตอบสนองทางสังคมได้หลายทิศทาง โดยคนที่สร้างสื่อใช้ความสามารถในการเข้าถึงได้ง่ายของอินเตอร์เน็ท ความจริงแล้ว Social Media เกิดขึ้นเพราะความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ในความเป็นสัตว์สังคมที่ต้องการการปฎิสัมพันธ์กันและต้องการความเห็นกันนั่นเอง ในครั้งแรกนั้นเกิดจากยุคเว็บ 2.0 ( จาก broadcast media monologues : one to many เป็น social media dialogues :many to many ) และเมื่อเกิด media จำนวนมากก็จะเกิดสถิติของแต่ละ Category ,เกิดกลุ่มผู้เสพสื่อแต่ละCategory และการคัดเลือกคุณภาพ Media ตามธรรมชาติ
ถ้าพูดให้ง่ายขึ้นก็คือยุคนี้เราไม่ได้ต้องการตัดสินใจอะไรจากสื่อๆสื่อเดียวแล้วครับ เราฟังข่าวแต่เพียงด้านเดียวจากทีวีและหนังสือพิมพ์มานาน เราเบื่อคำว่า Super ,Extra Ordinary , Award winning หรือคำพร่ำพรรณาเชิง Marketing จากโฆษณาของผู้ผลิต แต่เราอยากอ่านความคิดเห็น และสอบถามความรู้สึกของคนที่เคยมีประสบการณ์จากมันมากกว่า นั่นคือมุ่งไปทาง Social Media มากขึ้น ( สำหรับการ Marketing ด้วย Social Media ผมจะได้พูดในโพสต่อๆไปครับ )
ผมอยากสรุปสั้นๆในทัศนะของผมว่า Social Media คือ Framework ทางสังคมและอินเตอร์เน็ทของการสร้างสื่อโดยทุกคนเพื่อทุกคน (รบกวน Discuss คำจำกัดความด้วยครับ) 🙂
ความแตกต่างของ Social Media และ Industrial Media
Industrial Media ( “traditional”, “broadcast” หรือ “mass” media ) หรือสื่อกระแสหลักนั้นได้แก่สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโทรทัศน์ สื่อทั่วไปที่ต้องลงทุนสูงและทำงานเป็นระบบนั่นเอง สื่อหลักเหล่านี้มีความรับผิดชอบด้วย Model Business ที่ run บนความเชื่อมั่นในสื่อ ดังนั้นข้อมูลส่วนใหญ่ต้องมีที่มาและมีแหล่งข่าวที่เชื่อถือได้ ส่วน Social Media นั้น Vary ความเชื่อมั่นตั้งแต่คนทั่วไปสามารถผลิตสื่อได้เลยโดยแทบไม่ต้องลงทุนและบางคนไม่จำเป็นต้องหาข้อมูลอ้างอิงครบก็สามารถพูดได้เลยก็มีจนไปถึงคนดังๆที่ต้องมีการ research ก่อนพูดครับ ส่วนความสามารถในการเข้าถึงคนจำนวนมากระหว่างสื่อทั้งสองอย่างนั้นในประเทศไทยก็ใกล้เคียงกันขึ้นเรื่อยๆแล้ว ทั้ง Industrial และ Social Media นั้นมีสิทธิ์ที่จะไม่มีคนมาดูเลยหรือมีคนมาดูเป็นหลักแสนได้เหมือนกัน
จุดทีแตกต่างอย่างมากก็คือ Social Media นั้นปัจจุบันสามารถแพร่ออกไปได้เร็วกว่าสื่อกระแสหลักเสียด้วยซ้ำ ในสมัยก่อนสมมติว่าเกิดเหตการณ์ A ขึ้น สื่อหลักจะมีนักข่าวที่ไปทำการเก็บภาพและสัมภาษณ์พยานในที่เกิดเหตุ แต่ในปัจจุบันยุคที่พยานทั้งหลายต่างมีโทรศัพท์มือถือถ่ายรูปได้และสามารถส่งรูปพร้อมข้อความออกไปได้ในทันทีนั้น ผู้บริโภคสื่อจะได้ข้อมูลที่เร็วกว่าโดยที่มีข้อแลกเปลี่ยนตรงต้องใช้วิจารณญาณในการกรองข้อมูลเอง ในขณะที่ผู้สื่อข่าวถ้าไม่ได้อยู่ในเหตการณ์ก็เปรียบเหมือนได้ข่าวมือสองไปนั่นเองครับ กว่าภาพข่าวจะออกข่าวก็ล้าสมัยไปมากแล้ว อย่างไรก็ตามเมื่อมีสื่อมากขึ้นมหาศาล ผู้คนก็จะพยายามสร้างระบบจัด Category ของผู้นำเสนอข่าวว่าคนๆนี้ชอบพูดเรื่องใดและเชี่ยวชาญเรื่องใดเป็นพิเศษ เช่นถ้ามีโปรแกรมเมอร์ที่ไม่เคยคุยเรื่องรถยนต์คนนึงเกิดพูดเรื่องรถยนต์ออกมาในบล็อกก็น่าจะได้ความน่าเชื่อถือต่ำกว่าคนที่คร่ำหวอดเรื่องรถมานานนั่นเอง รวมทั้ง Google เองก็พยายามที่จะทำความเข้าใจจากการ Reference โดยคนอื่นๆใน Category ต่างๆด้วยนั่นเอง
ข้อแตกต่างต่อมาคือ สื่อหลักมักจะไม่สามารถที่จะ Update ข้อมูลเดิมได้สะดวกนักโดยถ้าประกาศออกไปแล้วทุกคนก็จะรับรู้การประกาศนั้นครั้งเดียว ในขณะที่สื่อ Social สามารถปรับเปลี่ยนเพิ่มเติมได้ทั้งจาก Comment และการ edit ข้อมูลเพิ่มเติมโดยไม่ต้องมีต้นทุนใดๆ อย่างไรก็ตาม Industrial Media ก็พยายามปรับปรุงผสมกันทั้ง Social โดยมีนักข่าวมือสมัครเล่นร่วมกับการประกาศผ่านระบบหลัก ( industrial media frameworks) แต่ผมเห็นว่าทำได้ค่อนข้างยากเพราะมี Conflict of Interest เกิดโดยธรรมชาติระหว่าง “การได้รับการยอมรับในนามองค์กร”กับ”การได้รับการยอมรับในตัวบุคคล” สำหรับในยุคปัจจุบันอยู่แล้ว
เคสคลาสสิคก็คือคุณจิมมี่ที่ชอบรีวิวรถซึ่งเป็นเพื่อนผมตั้งแต่สมัย Monotone นั่นเองครับ ในครั้งแรกๆนั้นจิมมี่อยู่ทีมทำหนังสือรถ ThaiDriver ซึ่งเป็นสื่อกระแสหลัก ต่อมาก็เริ่มเขียนกระทู้ใน pantip เพราะสามารถเขียนความเห็นได้เต็มที่กว่าเขียนในสื่อหลักและออกจาก Thaidriver มาเขียนบทความลงเว็บเป็นกลุ่มกับทีมนักข่าวรถ (ถ้าจำไม่ผิดน่าจะเป็น caronline.net ) ช่วงที่เค้าเขียนเรื่องราวลง pantip นั้นโด่งดังถึงขนาดบริษัทรถยนต์ต้องมาเชิญตัวไปทดสอบรถรุ่นใหม่ที่ญี่ปุ่นทีเดียว แต่ท้ายที่สุดก็ออกมาทำเว็บของตัวเองก็คือ www.headlightmag.com นั่นเอง ตัวอย่างคุณจิมมี่จะเห็น revolution ของ Blogger ชื่อดังได้ดีครับ
Social Media และการเปลี่ยนผ่าน
ความเห็นจาก netfuture เรื่องโครงสร้างบริษัทสื่อแบบใหม่ สำหรับสื่อแบบใหม่
บริษัทสื่อใหม่ในอนาคตจะมีขนาดเล็กลง แต่ละรายโฟกัสงานเฉพาะด้าน ไม่เป็นเครือสื่อยักษ์ที่มีทุกอย่างแบบเดิม แต่ก็ควรรวมตัวกันเป็นเครือข่ายแบบหลวมๆ ด้วยการเปิด API ให้เนื้อหาในแต่ละเว็บสามารถผสมหรือรวมเข้าด้วยกันได้
การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของอุตสาหกรรมสื่อจะยังไม่เกิดขึ้นในเร็ววัน แม้ว่าสื่อใหญ่แบบเก่าเริ่มจะได้รับผลกระทบจากสื่อใหม่ แต่ว่าสื่อเก่าก็ยังทรงอิทธิพลกว่าสื่อแบบใหม่มาก อย่างไรก็ตาม ช่วงนี้คือ ?ระยะเปลี่ยนผ่าน? ที่สำคัญ
ผมเห็นว่าสำหรับธรรมชาติของการเสพสื่อในแต่ละพื้นที่ก็จะเป็นตัวกำหนดลักษณะการเปลี่ยนผ่านด้วยครับ สำหรับประเทศไทยที่เป็นประเทศแห่งความเชื่อและมีการ Reference ต่ำนั้นการเปลี่ยนผ่านจะขลุกขลักว่าประเทศที่ทำวิจัยอย่างสม่ำเสมอก็เป็นไปได้ นักวิจัยในประเทศเราก็ยังมีโครงสร้างที่สัมพันธ์กับสื่อหลักอยู่ค่อนข้างแน่นและมีจำนวนมากที่ไม่เข้าใจปรัชญาของ Web 2.0 ในการเผยแพร่ผลงานตัวเองด้วยซ้ำ ( แต่ก็เป็นวังวนของการไม่เชื่อมั่นในเรื่องลิขสิทธิ์ทางปัญญาของไทยด้วยเช่นกัน )
Social Media Presentation
VDO อธิบาย Social Media จาก Commoncraft
Social Media Presentation จาก Socialnomics09
Social Media ROI: Socialnomics
Social Media Tools
Tools & Service ต่างๆเกี่ยวกับ Social Media
Tools & Service ต่างๆเกี่ยวกับ Social Media นั้นออกมาเป็นจำนวนมาก แต่ที่ฮิตๆติดหูพวกเรานั้นส่วนใหญ่จะอยู่ด้านขวาของ Chart นี้ครับ ที่มาจาก fredcavazza

Using Social Media To Boost Your Brand
จาก webguild.org

หมายเหตุ :โพสเรื่อง Social Media นี้ผม Reference มาจาก Wikipedia ประกอบกับความเห็นของผมเองด้วยครับ
Social Media ภาคผนวก VDO เกี่ยวกับ Blog ,Twitter และ facebook
จาก leelefever เจ้าเก่า
Blog
Social Networking (EX. facebook)
