รู้ไหม? เพลงเทียบเวลาก่อนเคารพธงชาติไทย ชื่อเพลง พม่าประเทศ!

บังเอิญกำลังจะซ้อมดนตรีเพื่อเล่นคอนเสิร์ตเปิดตัวลำโพงรุ่นใหม่ของ Bose และต้องการหาเพลงไทยที่คุ้นหูครับ ปรากฏว่าเพลงไทยที่เราคุ้นหูคือเพลง พม่าโยนกลอง พม่าประเทศ พม่ารำขวาน ลาวดวงเดือน ลาวแพน ลาวเจริญศรี ลาวดำเนินทราย มอญดูดาว ทยอยญวน ญวนรำกระถาง เขมรไทรโยค แขกบรเทศ ดูแล้วงงๆเล็กน้อยเพราะมีชื่อของชาติอื่นในเพลงหมดเลย -_-

แถม เพลงเทียบก่อนเคารพธงชาติไทย 8:00น. และ 18:00น. ฉบับเต็มของกรมประชาสัมพันธ์ ชื่อเพลง พม่าประเทศ! ดูชื่อแล้วลักลั่นพอสมควรครับ

คลิปเพลงพม่าประเทศ ก่อนเคารพธงชาติ 18:00

คลิปเพลงพม่าประเทศ รายการคุณพระช่วย

และเมื่อค้นนิดหน่อยก็ได้คำตอบจาก Wiki คือ เพลงนี้เป็นเพลงไทยสำเนียงพม่า?ในอัตราสองชั้น? ประพันธ์ขึ้นครั้งแรกเพื่อประกอ?บการแสดงละครพันทางเรื่องพระเจ้?าสีป๊อมินทร์ พระนิพนธ์ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ในเวลาต่อมาได้มีการคัดสรรเพลงท?ี่จะใช้เทียบเวลา ซึ่งเพลงนี้ได้รับเลือกเพราะทำน?องจากเครื่องดนตรีมีเสียงติ๊กต๊?อก ๆ คล้ายเสียงนาฬิกา คำว่า ประ แปลว่า สั้น และคำว่า เทศ แปลว่า ต่างชาติ โดยแผลงมาจากคำ บรเทศ มิได้หมายถึง ประเทศ แต่อย่างใด

ทำไมเพลงไทยมีชื่อเป็นชาติอื่นเยอะ?

วันก่อนก็ลองถามใน twitter ดูพบว่าได้ความรู้ที่น่าสนใจครับ คือลักษณะของประเทศ และชนชาติในอดีตนั้นมีการกระจายตัวที่ไม่เหมือนกับทัศนคติที่เราได้ยินได้เรียนมาในปัจจุบัน ศิลปะวัฒนธรรมก็ถ่ายทอดกันในภูมิภาคแห่งนี้ ความเป็นประเทศของเรานั้นเป็นเรื่องของวาทกรรมในยุคสมัยใหม่มากกว่า นั้นทำให้การตั้งคำถาม “ทำไมเพลงไทยมีชื่อเป็นชาติอื่นเยอะ” มีปัญหาในตัวของมันเองครับ 😉

ข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องชื่อเพลง

พอลองหาที่มาก็พบว่า เพลงไทยเดิมที่มีชื่อเป็นสัญชาติอื่นนั้นเรียกว่า ?เพลงออกภาษา? หรือเพลงออกสำเนียงภาษานั่นเอง เกิดจากกวีนักแต่งเพลงเกิดจินตนาการจากที่ได้ฟังดนตรี หรือบทขับขานของชนชาติต่าง ๆ แล้วจับสำเนียง จับจุดเด่นซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นคนบ้านใกล้เรือนเคียง มาประพันธ์เป็นเพลงไทยเดิม แล้วก็ให้ชื่อเพลงโดยมีชื่อชนชาติเจ้าของสำเนียงอยู่ด้วย อย่างเพลงฝรั่งรำเท้า ผู้แต่งเกิดความประทับใจจากการฟังเพลงมาร์ช สวนสนามของชาวตะวันตก แล้วจึงนำส่วนเด่นของเพลงที่ได้ฟัง กลั่นกรองเป็นเพลงไทย

เพลงที่ได้รับอิทธิพลมาจากต่างชาติ มักมีรูปแบบและอารมณ์ของเพลงเฉพาะอยู่เป็นชาติ ๆ ไป เพลงฝรั่ง เพลงจีนจะให้บรรยากาศสนุกสนาน เพลงมอญค่อนข้างจะเศร้า ฟังแล้วหัวใจเหมือนถูกขยำอย่างเยือกเย็น เพลงพม่าจะให้ความรู้สึกสนุกสนาน และบางครั้งก็แสดงถึงบรรยากาศของศึกสงคราม เพลงแขกนั้นจะสนุกสนานชวนเต้นชวนรำเป็นหลักเพลงลาวมีทุกบรรยากาศ ทั้งไพเราะ รื่นเริง อาลัยรัก หรือเกี้ยวพาราสี

การจับส่วนเด่นหรือสำเนียงของต่างชาติ บางทีผู้ประพันธ์เพลงไทยก็เลือกเอาชิ้นดนตรีที่เป็นที่นิยมในการบรรเลงเพลงของชาตินั้น ๆ มาเป็นส่วนเด่นของเพลงไทยดังกล่าวด้วย เช่นเอาขิมมาใช้ในเพลงบอกสำเนียงจีน ดังมีการแต่งเพลงชุด ๑๒ ภาษา ที่นำสำเนียงดนตรีของชาติต่าง ๆ ถึง ๑๒ ชาติ มาแต่งรวมไว้เป็นเพลงไทยเดิมเพียงเพลงเดียว สำเนียงทั้ง ๑๒ ประกอบด้วย ไทย จีน พม่า มอญ ลาว แขก ฝรั่ง มลายู ญี่ปุ่น ญวน เขมร และเงี้ยว

ส่วนเพลงไทยเดิมที่เป็นไทยแท้ ๆ ก็มีอยู่มากมาย เช่น เพลงเทพทอง เพลงต้นวรเชษฐ์ อย่างไรก็ตามได้ให้ข้อมูลเพิ่มว่า ในบรรดาเพลงไทยเดิมทั้งหมด เพลงออกภาษาที่มาจาก “เขมร? มีมากที่สุด เพลงไทยเดิมที่ออกสำเนียงภาษาของต่างชาติกับเพลงไทยเดิมแท้ ๆ มีจำนวนใกล้เคียงกันทีเดียว

วงดนตรีไทยนี้ชื่อ วงปี่พาทย์มอญ
วงดนตรีไทยนี้ชื่อ วงปี่พาทย์มอญ

เพลงลาวดวงเดือนที่คุ้นหูคนไทยมาก และเอามาเรียบเรียงแบบใหม่กันหลายคน

http://www.youtube.com/watch?v=QhDxY87dwQA

เขมรไล่ควาย

http://www.youtube.com/watch?v=lPCP-1B8Mzo