Ukulele อุคุเลเล่ ในวัฒนธรรมแดกด่วน

Ukulele อุคุเลเล่ กับ วัฒนธรรมแดกด่วน ( fastfood ) และสังคม online

ความจริงจะเขียนเรื่องอุกุเลเลในวัฒนธรรมสังคมออนไลน์ แต่ก็คิดว่า ช่วงนี้มาลองการพาดหัวข่าวแบบตื่นเต้นบ้างน่าจะดีครับ 😛 คือในสังคมที่เราต้องมีการสร้างคอนเท้นท์ส่วนตัวอย่างเร่งด่วนและเพื่อภาพพจน์ของตนและสังคมในโลกออนไลน์ ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เครื่องดนตรีอย่างอุคุเลเลฮิตขึ้นมาในเมืองไทย อย่างคุณพาที สารสิน ไปเที่ยวฮาวายเมื่อไม่นานมานี้ คนฮาวายนั้นยังไม่เข้าใจเลยว่าทำไมในไทยเพิ่งมาฮิตอุกุเลเลกันครับ

สำหรับประวัติของอุกุเลเล่,ชมโรงงาน และลิงก์ของผู้เปิดตลาด Ribbee แนะนำที่บล็อกของ @Plajazz ครับ

วัฒนธรรมแดกด่วน

คำว่าวัฒนธรรมแดกด่วน มาจาก fast food culture หมายถึง ชีวิตที่เน้น การเข้าถึงง่าย ใช้งานได้เร็ว ไม่ต้องซับซ้อนหรือลงลึก ไม่ต้องใช้เวลาศึกษาอะไรมากมาย มีต้นทุนต่ำและมีความสำเร็จรูป และคนในวัฒนธรรมนี้จะมีความอดทนที่ต่ำลง ลามไปถึงวงการศึกษาที่ต้องการเพียงดีกรีจนเกิดดีกรีเฟ้อและมหาลัยแดกด่วน และบทความที่ผมเคยเขียนไว้คือ สังคมในอนาคตไม่สนับสนุนผู้เชี่ยวชาญ

อย่างไรก็ตาม คำว่าแดกด่วนนั้นมีความหมายออกไปทางประชดประชันวัฒนธรรมการบริโภคของชาวตะวันตกมากกว่าครับ ผมเองไม่แน่ใจว่าถ้าเรียกให้สุภาพจะเป็นอย่างไร 😛 ผู้ใหญ่หลายคนบอกว่าเด็กสมัยนี้ไม่พยายาม ไม่ค้นหา นั่นเพราะเทคโนโลยีได้ถึงพร้อมสำหรับเค้าสามารถเอาตัวรอดได้แล้วครับ เช่นข้อมูลในโลก เพียงคลิป Google ก็รับรู้ได้ ไม่ต้องไปค้นระเบียนหนังสือห้องสมุดเหมือนสมัยก่อน แม้กระทั่งการ search google ก็ยัง spoil ด้วยการไม่ต้องพิมพ์คำให้ถูกต้องก็สามารถ search ได้ หรือแม้แต่การประกวดดนตรีก็ยังมี ?Airband? นั่นคือการ ทำท่าเล่นดนตรีประกอบเพลง โดยไม่ต้องเล่นดนตรีจริง ไม่ต้องฝึกและใช้ทักษะทางดนตรี เพียงใช้ท่าทางการแสดงเท่านั้นครับ

ปัจจัยที่ทำให้อุคุเลเล่ Ukulele ฮิตในวัฒนธรรม แดกด่วน

อุกุเลเลเล่นง่ายมาก และเพลงในปัจจุบันก็เล่นง่ายมากในทางคอร์ด

อึกึเลเล่ หรืออุกุเลเล หรือ อุค เป็นเครื่องดนตรีที่ฝึกฝนได้ง่ายเนื่องจากมีเพียง 4 สาย และเพลงในปัจจุบันก็มาถึงยุคที่มีความเรียบง่ายขึ้นมาก หลายๆเพลงที่มีชื่อเสียงมีคอร์ดไม่เกินสี่คอร์ดทำให้การหัดเล่นให้เป็นเพลงนั้นง่ายมาก เรียกได้ว่าการมาของอุกุเลเลในไทยนั้นเหมาะสมกับยุคสมัยของดนตรีในประเทศไทยและทั่วโลกพอดี

ลองอ่านวิธีเล่นอุกุเลเลได้ที่บล็อกของ @Tongkatsu ครับ และเรื่องอื่นๆเกี่ยวกับ ukulele ลองอ่านที่บล็อกของอาทิตย์

รายการที่มีอุคุเลเลออก จะต้องบอกว่าเล่นง่ายทุกรายการ

ฟังมาจาก @muenue มีหลายคนบอกว่า ถ้านึกถึงเพลงที่เป็นตัวแทนของ ukulele ต้องนึกถึง I’m yours ของ Jason Mraz ซึ่งเป็นเพลงที่มี 4 คอร์ดและคนไทยนิยมเล่นกันมาก แต่ความจริงแล้ว Jason Mraz ไม่เคยเล่น Ukulele เลย O_o

ราคาของอุกุเลเล Ukulele

เนื่องจากเป็นเครื่องดนตรีที่ไม่ได้มีความสลับซับซ้อนและไม่มีเรื่องราวมากมาย (ถ้าเทียบกับกีต้าร์) ราคาอุกุเลเลจึงถึอว่าเป็นเครื่องดนตรีที่มีราคาค่อนข้างไม่แแพงมาก ลองเทียบกับกีต้าร์และไวโอลินที่แพงกว่ามากครับ หรือพวกเครื่องเป่าก็แพงเช่นกัน ดังนั้นคนที่ซื้อจึงสามรถหาข้อมูลได้อย่างไม่ซับซ้อนและตัดสินใจได้ง่ายต่อการซื้อหามาใช้งาน ส่วนหนึ่งที่ราคาของอุกุเลเลถูกส่งผลทำให้คนไม่ต้องซีเรียสกับมันมากด้วยเวลาจะซื้อแต่ละตัว

ข้อจำกัดซึ่งส่งผลถึงความคาดหวังในการเล่นอุคุเลเล

ตัวอุกุเลเลนั้นมีข้อจำกัดในการเล่นที่มาก เนื่องจากมันมีสี่สาย ทำให้เมื่อมีคนเล่น เราจึงไมด่อยคาดหวังต่อคุณภาพของเพลงที่ได้จากมันมาก ทั่วไปๆคือถ้าดีดแล้วจังหวะถูกดับคอร์ดถูกก็เพียงพอแล้ว ในขณะที่เมื่อเราเล่นเปียโนหรือกีต้าร์ที่มีนักดนตรีมากความสามารถโชว์มานักต่อนัก เราจะคาดหวังว่าเมื่อต้องโชว์จะเล่นได้ดีระดับหนึ่ง (ซึ่งระดับหนึ่งที่ว่าก็ต้องซ้อมนับปี) ถ้าอยู่ๅคุณไปเล่นเปียโนโชว์ ก็อาจไม่มีคนสนใจเพลาะเห็นมาเยอะแล้วก็เป็นไปได้ครับ

แม้ในระดับโลก คนที่เล่นอุกุเลเล่เก่งก็ยังมีน้อยและคลิปที่มีคนดูมากถ้าเท่ียบกับเครื่องดนตรีแระเภทอื่นก็ยังไม่ถือว่าทำให้ว้าวได้มากแต่อย่างใด


The Beatles เล่นอุคุเลเล่ในบรรยากาศแบบปิคนิกกัน แสดงถึงความไม่ซีเรียสในการเล่นเครื่องดนตรีชนิดนี้

อุคุเลเล่นั้นมีขนาดเล็ก เบา เดินทางง่ายๆ

อุกุเลเลนั้นพกง่ายซึ่งเหมาะกับการเดืนทาง คุณขนุน @ukucafe ยังเคยบอกว่าเราสามรถที่จะซ้อมอุกุเลเลระหว่างที่รถติดได้เพราะไม่เกะกะมากจนเกินไป ในยุคที่คนแชร์รูปบน internet เป็น iPhone เยอะที่สุดแล้ว การพกเครื่องดนตรีที่ใหญ่ดูจะไม่ค่อย make sense เท่าไหร่ การพกง่ายขชองเครื่องดนตรีชนิดนี่ยังหมายถึงการแชร์ให้เกิดกระแสใน Social Media ได้ง่ายอีกด้วย เมื่อเกิดกระแส ทุกคนก็อยากที่จะเล่นเพื่อเข้าสังคมด้วยเช่นกัน

หลายคนคงจะคิดว่า เครื่องดนตรีที่มีขนาดเล็กนั้นมีอีกมาก เช่นไวโอลิน หรือเครื่องเป่า แต่เครื่องดนตรีเหล่านั้นส่วนใหญ่เป็นเครื่องที่ใช้ Solo คือไม่สามารถเล่นคนเดียวได้อย่างสะดวก ต้องเล่นพร้อมกันหลายคน ผิดกับอุกุเลเล่ที่เล่นคนเดียวได้ก็เพราะดีครับ

นักดนตรีอาชีพส่วนใหญ่ ไม่กระโดดเข้ามาเล่น Ukulele (ถ้าไม่ได้ขายซะเอง)

ความจริงแล้วมือกีต้าร์ใช้ความพยายามเพียงเล็กน้อยก็เล่นอุคุเลเลได้ทันที แต่มือกีต้าร์หลายคนก็ไม่ค่อยสนใจเข้ามาร่วมเล่น Ukulele บางคนบอกว่าวิธีการจับคอร์ดต่างจากกีต้าร์ ส่วนบางคนก็อาจเห็นว่าโลกของอุกุเลเล่ไม่ได้กว้างและลึกเหมือนกีต้าร์เลยไม่ได้เข้ามาสัมผัส ทำให้ผู้ที่เริ่มเข้ามาเล่นมีพื้นฐานพอๆกันทุกคน เรียกว่ามือกีต้าร์ยังไม่ได้สนใจเข้ามาแสดงความได้เปรียบจากทักษะตัวเองนั่นเอง เพราะนักดนตรีอาชีพแต่ละคนก็ยังง่วนอยู่กับเครื่องดนตรีที่ตนเองถนัด ทำให้มือใหม่ไม่ถูกข่มและเปรียบเทียบมากเกินไป

แฟชั่น

เป็นธรรมดาของกระแสครับ เมื่อมีคนเริ่ม มีกิมมิค มีกลุ่มสนับสนุน มีเพศตรงข้ามสนใจ มีการโชว์ทาง YouTube แฟชั่นก็เริ่มมาและมาแรงมากๆเมื่อปีก่อน แต่ตอนนี้ถือว่ากระแสเริ่มตกแต่ไม่ถึงกับหดตัวหรือล้าสมัยลงแต่อย่างใดเพราะการเล่นดนตรีเป็นกิจกรรมที่ทำได้เป็นระยะยาว (ต่างจาก planking ที่ไม่มีประโยชน์นอกจากโชว์อย่างเดียว) และเมื่อกระแสเริ่มคงที่ก็จะเริ่มเป็นเวลาของผู้มีฝีมือที่เพิ่มขึ้นครับ ลองติดตามงานนี้ได้

RT @aunonline: เชิญชมการประกวดUkelele Acoustic Band #1เฟ้นหายอดฝีมืออูคูเลเล่ ที่ The Nineพระราม9 3-4,10-11,17-18 ก.ย.54 http://bit.ly/rs2rUR

คุณพร้อมหรือยังที่จะมาร่วมอยู่ในวัฒนธรรมแดกด่วนด้วยกันกับเราครับ !

ขนุน @Ukucafe ให้สัมภาษณ์เรื่อง ukulele

ผมรู้จักขนุนมานานตั้งแต่สมัยเรียนที่สวนกุหลาบครับ คนๆนี้เล่นดนตรีได้อัตถประโยชน์และมีความเป็นมืออาชีพเสมอต้นเสมอปลายมาก เป็นหนึ่งในนักดนตรีไทยที่ผมชื่นชมและชอบเล่นด้วยคนหนึ่งเลย ขนุนเปิดร้านขายอุกุเลเล และยังเป็นคนเขียนหลักสูตรการสอนอุกุเลเลให้สถาบันต่างๆอีกด้วย ถ้าสนใจอุกุเลเลหรืออยากซื้ออุกุเลเล่ดีๆก็ follow ได้ที่ @ukucafe นะครับ 🙂

พอเขียนเสร็จแล้วลอง search clip ดู พบสัมภาษณ์ขนุนซึ่งสิ่งที่เค้าพูดมีหลายอย่างตรงกับลิสต์ด้านบนครับ