TMB กับการ rebranding แบบนุ่มๆ

ช่วงนี้ใครผ่าน TMB หรือเห็นป้ายโฆษณาสีน้ำเงินที่มีคุณ สัญญา คุณากร ยืนถือธนบัตรต่างๆพร้อมข้อความที่เราน่าจะจำได้อย่าง 0% ค่าธรรมเนียม ลองย้อนกลับไปมองอีกครั้งว่าก่อนหน้านั้นสักสองปี TMB ยังมีภาพลักษณ์เป็นแบ๊งค์ทหารเก่ากึ๊กอยู่เลยนะครับ

คุณสัญญา คุณากร พรีเซ้นเตอร์ TMB
คุณสัญญา คุณากร พรีเซ้นเตอร์ TMB

TMB เริ่ม rebranding มาได้ระยะหนึ่งแล้ว ( หลังจากมีกระแสกดดันเรื่องแบ๊งค์ต่างๆ rebranding กันยกใหญ่ แถมแบ๊งค์ที่ใช้โทนสีน้ำเงินฟ้ามีอยู่ 3 แบ๊งค์ต้องช่วงชิงพื้นที่กัน ) โดยเอเจนซี่ค่อนข้างมีความเข้าใจจุดขายของการเป็นธนาคารที่สนับสนุนโดยรัฐฯ ( กระทรวงการคลังถือหุ้นใหญ่ ) นั่นคือความได้เปรียบในเรื่องค่าธรรมเนียมต่างๆนั่นเอง

TIGERiDEA เองก็มีโอกาสได้ทำโปรเจ็ค TMB ในช่วง Rebranding นี้พอดีเช่นกัน โดยการดีไซน์เว็บในส่วนหนึ่งของคุณเม่นถือได้ว่า “นำร่อง” หรือทำก่อนโมดูลอื่นๆอยู่เป็นระยะหนึ่ง และมีการปรับให้เข้ากับเว็บใหญ่ระหว่างที่ทำครับ ถึงแม้ว่าการจบโปรเจ็คจะยากพอสมควรแต่ก็จะได้เล่าในโอกาสต่อไป

template module
template module by TiGERiDEA

สำหรับเว็บ tmb เอง การใช้ชื่อ tmbbank.com ก็ถือว่าเป็นการตัดสินใจที่ดี ธนาคารทหารไทยตั้งมาโดยจอมพลสฤษดิ์ซึ่งมีประวัติที่น่าสนใจ โดยเบื้องต้นเป็นธนาคารที่ตั้งเพื่ออำนวยความสะดวกในการให้บริหารทางการเงินแก่หน่วยงานทหาร ต่อมาจึงได้ขยายเป็นธนาคารรองรับลูกค้ามาตรฐาน

ด้านล่างเป็นหน้าเว็บ TMB ปัจจุบัน มีหลายคนได้ลองไปใช้ ebanking ของ TMB ก็มีคนชอบพอสมควรเลยนะครับ

หน้าเว็บ TMB ปัจจุบัน
หน้าเว็บ TMB ปัจจุบัน

แคมเปญพวกที่ฟรีค่าธรรมเนียมต่างๆ ถือเป็นสิ่งที่เอเจนซี่หยิบยกขึ้นมาพูดได้อย่างค่อนข้างเหมาะเจาะเพราะเป็นความได้เปรียบของแบ๊งค์ด้วยจริงๆ และกิจกรรมเชิงมาร์เก็ตติ้งนั้นก็ทยอยกันออกมาเป็นกองทัพ Social Media เหมือนกัน

แคมเปญ TMB Social Marketing

?Make THE Difference ? พลังในตัวคุณ เปลี่ยนโลกให้ดีขึ้น?

ตามที่ผมได้ศึกษามา TMB ขยายแนวคิดมาจาก key หลักคือ ?Make THE Difference ? พลังในตัวคุณ เปลี่ยนโลกให้ดีขึ้น? และแนวคิดการบริหารโดยลูกค้าเป็นศูนย์กลางหรือ ” Cutomer Centric” ทำให้ธนาคารต้องพยายามจะสร้างความแตกต่างในทุกอย่างที่ลูกค้าได้เข้าไปสัมผัส

Theme : การนำเสนอของธนาคารเป็นการสร้างแรงบันดาลใจในการ กล้าที่จะคิดและทำสิ่งที่ แตกต่าง สู่การเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ และหลุดออกจากกรอบของความคิด เปลี่ยนคำว่าเป็นไปไม่ได้ ให้มีแต่คำว่า เป็นไปได้ อยู่เสมอ จากจุดเปลี่ยนความคิดเพียงเท่านี้ ทุกคนก็จะสามารถเปลี่ยนโลกไปในทางที่ดีขึ้นได้

การพยายามสร้างความแตกต่างสื่อลงไปในโฆษณาด้วย เช่นโฆษณาที่ต้องดูด้วยแว่น 3D
การพยายามสร้างความแตกต่างสื่อลงไปในโฆษณาด้วย เช่นโฆษณาที่ต้องดูด้วยแว่น 3D

นำเสนอเว็บ makeTHEdifference.org

จากความคิดเบื้องต้น เนื่องจากธนาคารเองไม่สามารถทำได้ในเว็บที่เป็นทางการของธนาคาร เลยพยายามนำเสนอเว็บ www.makeTHEdifference.org และสร้าง campaign ให้คนแชร์เรื่องราวของนักบอลกลุ่มนี้ (หลายๆคนคงเคยเห็นบนทีวีใน BTS) ให้มากสุด ใครแชร์มากสุดได้รางวัล ( รับตั๋วบินรอบโลก มูลค่า 500,000 บาท หมดเขต 31 มีนาคม นี้ ) แน่นอนว่าการตลาดเป็นแบบ Intrusive พอควรครับ แต่ก็ขึ้นกับการตัดสินใจของผู้บริโภคกับเพื่อนๆของผู้บริโภคนะ

กิจกรรมบน fanpage และ twitter

มี fanpage แชร์เรื่องราวที่สร้างแรงบันดาลใจ และคำคมต่างๆ ที่ http://www.facebook.com/TMBMakeTHEDifference และยังมีกิจกรรมร่วมรับรางวัลจากเมเจอร์ซีนีเพล็คถ้า RT @TMB_MTD อีกด้วย และปิดท้ายด้วย hashtag ยาววว อย่าง #MakeTHEDifference ซึ่งถ้าทวีตโดยมี hashtag นี้ก็ยังมีรางวัลให้วันละ 3 รางวัลอีกด้วย

@TMB_MTD แจกรางวัลด้วยแฮะ ลองเซิร์ทดูครับ
@TMB_MTD แจกรางวัลด้วยแฮะ ลองเซิร์ทดูครับ

VDO บน YouTube และรูปบน Flickr

VDO ตัวนี้เป็น series ให้คนติดตามครับ ดูแล้วบางคนก็เกิดความรู้สึกที่ดีได้เช่นกัน ( ในแบบไทยๆนะ ) ซึ่งส่วนตัวผมคิดว่าบางทีจะตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายที่พอมีอายุนิดหน่อย แต่ทุกครั้งที่ฉายคนก็ดูสนใจดีแบบไม่ถูกกระตุ้นให้เหนื่อยมากเกินไป

ตอนที่1 ปั้นฝัน

ตอนที่2 ปลุกพลัง

ตอนที่3 เป็นไปได้

ตอนที่ 4 เปลี่ยนโลก

สำหรับ VDO ทั้งสี่ตัวทำได้อารมณ์ที่แตกต่างดี แต่มีจุดย้อนแย้งเล็กน้อยสำหรับผม คือเนื่องจากเด็กเก่งโดยใช้จุดแข็งจากการเล่นบนลานที่มีตะปูและถอดรองเท้า หลังจากไปแข่งประสบความสำเร็จแล้วมีสนามคราวนี้จะเก่งน้อยลงหรือเปล่าน่ะสิ 😛

และยังมีช่องทาง Flickr สำหรับคนอยากดูหรือโหลดรูปได้ด้วย ถึงแม้ว่า Flickr จะไม่ถึงกับได้รับความนิยมมากในไทยแต่ก็เรียกว่าทำไว้ครอบคลุมทั้งหมดได้ดีครับ http://www.flickr.com/tmbmakethedifference

บทสรุป TMB แคมเปญครั้งนี้

การพัฒนาองค์กรและภาพลักษณืระดับนี้ค่อนข้างจำเป็นที่จะต้องพัฒนาหลายๆส่วนพร้อมกัน รวมทั้งองค์กรภายในด้วย ( ซึ่งองค์กรภายในน่าจะทำได้ยากกว่ามาก ) ในส่วนของการทำ Campaign นั้นมีพื้นฐานวิธีคิดจากเอเจนซี่ในแบบคลาสสิคและมีตัว Content หลักที่ไปในทางช่วยให้แรงบันดาลใจซึ่งค่อนข้างจัดว่า ” นุ่มนวล ” สำหรับสังคมไทย อาจทำให้การ Viral ไม่ถึงกับแรงมากในกลุ่มผู้ใช้ Social ทีเดียวนัก ( เพราะพวกนี้ถูกกระตุ้นทุกวันจนเริ่มชิน ) แต่น่าจะไป impact ในกลุ่มที่เสพสื่อกระแสหลักมากกว่า

ในส่วนของ Social Media นั้น ความจริงการใช้วิธีทาง Social ในลักษณะ intrusive มีกระแสวิพากย์วิจารณ์กันพอสมควรในช่วงที่ผ่านมาก แต่กระแสของ TMB ยังไม่ถึงกับแรงมาก ซึ่งก็แลกมาด้วยความนุ่มนวลของความรู้สึกของ influencer และอาจจะส่งผลต่อความรู้สึกดีของกลุ่มเป้าหมายได้บ้างครับ

การตลาดในยุคปัจจบันค่อนข้างซับซ้อนขึ้น ผู้บริโภคสื่อ Social เป็นผู้ที่แสดงความไม่พอใจได้ง่ายและ Sensitive มากขึ้น แต่จาก Campaign ที่ผ่านมาก็ยอมรับครับว่าธนาคารทหารไทยมีภาพลักษณ์ที่ต่างไปจากเดิมบ้างแล้ว 🙂