ค่าแรงขั้นต่ำ คุณเห็นด้วยหรือไม่?

ปัจจุบันเรามีค่าแรงขั้นต่ำเท่าไหร่อยู่ ?

RT @spin9 ปัจจุบัน (ปี 54) กทม. ขั้นต่ำ 215 บาทครับ ปรับขึ้นจาก ปี 53 ขึ้นมา 9 บาท และถ้าปีหน้าเป็น 300 จะถือว่าเพิ่มขึ้นอีก 39.5%
RT @jerasak: ค่าจ้างขั้นต่ำ 2554 มีคนทำไว้เป็น PDF จะเห็นว่า ภูเก็ตสูงสุดที่ 221 บาท รองลงมา กทม. 215

ค่าจ้างขั้นต่ำ 2554 (บาท/วัน)

บาท / จังหวัด
221 ภูเก็ต
215 กรุงเทพมหานคร,สมุทรสาคร,ปทุมธานี,นครปฐม,นนทบุรี, สมุทรปราการ
196 ชลบุรี
193 ฉะเชิงเทรา,สระบุรี
190 พระนครศรีอยุธยา
189 ระยอง
186 พังงา
185 ระนอง
184 กระบี
183 ปราจีนบุรี,นครราชสีมา
182 ลพบุรี
181 กาญจนบุรี
180 ราชบุรี,เชียงใหม่
179 จันทบุรี,เพชรบุรี
176 สงขลา,สิงห์บุรี
175 ตรัง
174 นครศรีธรรมราช,อ่างทอง
173 สตูล,พัทลุง,ชุมพร,สระแก้ว,เลย
172 สุราษฎร์ธานี,ยะลา,สมุทรสงคราม,ประจวบคีรีขนธ์
171 อุดรธานี,อุบลราชธานี,นราธิวาส
170 ปัตตานี,นครนายก
169 หนองคาย,ลําพูน,ตราด
168 กําแพงเพชร,อุทยธานี
167 ข่อนแก่น,กาฬสินธุ์,สุพรรณบุรี,ชัยนาท
166 สกลนคร,ยโสธร,ร้อยเอ็ด,บุรีรัมย์,เชียงราย,เพชรบูรณ์,นครสวรรค์
165 สุโขทัย,มุกดาหาร,หนองบัวลําภู,ลําปาง,ชัยภูมิ
164 นครพนม
163 พิจิตร,แพร่ ,อุตรดิตถ์,แม่ฮ่องสอน,พิษณุโลก,มหาสารคาม,อํานาจเจริญ
162 สุรินทร์,ตาก
161 น่าน
160 ศรีษะเกศ
159 พะเยา

ที่มาตั้งต้น วารสารข้อมูล Spreadsheet ของ @Thanr

ที่มากระแสเรื่อง ค่าแรงขั้นต่ำ

วันนี้มีกระแสเรื่องนโยบายของพรรคเพื่อไทยเกี่ยวกับเรื่องค่าแรงขั้นต่ำให้เพิ่มเป็น 300บาท เฉพาะในกทม. และต้องผ่านการฝึกฝีมือแรงงานก่อนด้วย ผมเลยลองเสวนาไปในแวดงวง twitter พบว่าได้ข้อมูลน่าสนใจหลายอย่างครับ 🙂 ประเด็นคือ คนที่ให้ความเห็นในเรื่องนี้มักเป็นคนมีเสียงในสังคมซึ่งเป็นคนที่ “พอมีพอกิน” แล้ว

ดังนั้นหากเป็นผู้ที่มองแบบเชียร์นโยบายนี้นิดหน่อย ก็จะใช้กรอบความคิดของตัวเองมาตัดสิน เช่นการมองอนาคตของเรา หรือการมีลูกเลี้ยงลูก ส่งเข้าโรงเรียน ซึ่งคนที่ได้รับค่าแรงขั้นต่ำไม่มีสิทธินี้เลย (ผมเองยังอดคิดไม่ได้ว่าสัตว์เลี้ยงในบ้านเพื่อนหลายคนใช้เงินเยอะกว่าค่าแรงขั้นต่ำต่อวันเสียอีก) หลายคนพูดถึงการสนับสนุนโอกาศในการเรียนมหาวิทยาลัย (ซึ่งแม่ผมบอกว่าเรายึดติดกับการเรียนมหาวิทยาลัยมากเกินไป และไม่มีมหาวิทยาลัยที่ไหนฟรี) แต่ผู้ที่ไม่ชอบนโยบายนี้จะมองในแง่เศรษฐศาสตร์เช่นจะทำให้ผู้จ้างทนต้นทุนไม่ได้ เลิกจ้าง เงินเฟ้อ คนตกงานมากขึ้น และปัญหาแรงงานต่างด้าวเข้ามาแย่งงานแทน (RT @NochiPH: “ค่าแรง300บาท-เป็นไม่ได้เลย หากทำจริงจะเสียหายมาก ระบบพัง นักลงทุนหนีหายหมด” บุญชัย โชควัฒนา บอสใหญ่ เครือ สหพัฒน์)

อย่างไรก็ตามมีข้อเขียนของคุณ ปกป้อง จันวทย์ เรื่อง ค่าจ้างเพื่อชีวิต ที่แชร์โดย @fringer ได้กล่าวถึงแนวคิด”ค่าจ้างเพื่อชีวิต”ทำให้เกิดการเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำในอเมริกานั้นไม่ส่งผลต่อราคาสินค้า, การจ้างงาน, และเงินเฟ้ออย่างมีนัยสำคัญ แต่ @fringer ได้ชี้ว่า “เงื่อนไข” ที่จะให้ค่าจ้างเพื่อชีวิต “ได้ผล” ในบทความนั้นคือประเด็นที่สำคัญที่สุดครับ

RT ( ความเห็นของหลายคน ) แรงงานไทยค่าแรงสูงขึ้นเป็น 300 คนน่าจะไปจ้างแรงงานต่างด้าวหมด ?

RT @kafaak: ขอแก้ความเข้าใจนิดนึงนะครับ แรงงานต่างด้าว ถ้ามาถูกกฎหมาย ค่าแรงขั้นต่ำเท่าคนไทยนะครับ

RT @malimali: ดูจากคนทำงานที่ได้ค่าแรงรายวันที่บ้าน ชีวิตทั่วไปส่วนใหญ่อยู่ได้ ที่บ้านจะช่วยเหลือด้านค่าเทอมลูก ค่ารักษาพยาบาลต่างๆให้ โดยสรุปรวมจากคนงานหลายสิบชีวิต ค่าแรงปัจจุบันใช้จ่ายในชีวิตประจำวันปรกติได้ แต่พอมีค่าพิเศษอะไรเขาจะไม่มีจ่ายละ

RT @RsmlP: คนงานที่บ้านได้เงินค่าแรงวันละ 250 ค่ากินตัวเองกับลูกก็เกิน 150 บาทต่อวัน ค่าเช่าบ้านเดือนละพัน ถ้าให้ตามค่าแรงขั้นต่ำจริงๆไม่พอแน่

RT @noname_8: อยากได้ยินว่า “เป็นธรรม รึไม่” จากทั้งสองมุมมองของ นายจ้าง และ ลูกจ้าง ในภาวะถ้าค่าครองชีพสูง ลูกจ้างต้องทนรายได้ต่ำ ให้นายจ้างรอด?

RT @Su9arP: เราว่าเหมือนคนบอกว่า ถ้าจ่าย300แล้วต้องเลือกแรงงานที่ดี ที่ไม่ดีก็เลิกจ้างไป ก็เหมือนใครว่า150ไม่พอก็ไปทำที่อื่น บางคนว่า 150ต้องเลี้ยงลูกเมียซื้อบ้านจ่ายค่าไฟ ลูกเยอะเลี้ยงเยอะ หมาแมวอีก ลืมไปรึว่าส่วนใหญ่มิใช่คนกรุงเทพ ถ้าขึ้นแรงงานท้องถิ่นบ้านเกิดเขาสิเราว่าดี เขาซื้อบ้านได้ ตั้งรกรากได้ มีลูกหลานสืบทอด

RT @RITT41: ลองมองไปที่ค่าเงินที่หล่นลงไปกว่าครึ่ง ในรอบ 5 ปี นี้สิ 300 บาทวันนี้ มีค่าไม่ต่างจาก 150 บาท เมื่อ 5-6 ปีก่อน

RT @CometSunshine

ผู้ที่คิด1ขั้น = ว้าว ค่าแรงเพิ่ม เงินเดือนเพิ่ม สบายแน่ๆ

ผู้ที่คิด2ขั้น = ค่าแรงสูงอย่างนี้ เดี๋ยวของก็แพง หมดอะดิ

ผุ้ที่คิด3ขั้น = แต่เค้ามีนโยบาย ลดภาษีนิติบุคคล จาก30 เหลือ? 23เปอเซนต์ (เยอะนะ) ทำให้มีเงินส่วนนี้มาจ่ายค่าแรง ที่จะเพิ่มขึ้น

ผู้ที่คิด4ขั้น = พอค่าแรงเพิ่ม คนมีกำลังใช้จ่ายมากขึ้น เศรษฐกิจขยายตัว เพราะเป็นไปตามกลไกเศรษฐกิจ

RT @iPattt ค่าแรงขั้นตํ่าผมว่าเอามาปนกับความหวังความฝันไม่น่าจะตรงจุดนะครับ 🙂 น่าจะเป็นแรงงานของคนไม่มีฝีมือจริงๆ

RT @noppatjak: สรุปไว้ตอนหลังว่าไม่ใช่ความฝัน แต่เป็นเรื่องพื้นฐานครับ คนไม่มีฝีมือก็ยังน่าจะส่งลูกเรียนมหาวิทยาลัยได้ คือบ้านเราก็ไม่ได้แย่ขนาดนั้นคนตั้งใจก็มีทางไป แต่ก็อยากให้ยกระดับขึ้นมาให้ทุกคนมีทางเลือก แต่ดูเหมือนว่ามันจะทำไมไ่ด้? อยากให้เค้าไปเที่ยวเหมือนเอมมั่งนะ ให้เค้ากล้าคิดทำบ้าง คือจะบอกว่า เห็นใจ ว่าเค้าไม่มีโอกาสได้มากขึ้นแล้วจริงๆใช่ไหม?

RT @vow_vow: ถ้าเด็กไม่มีตังค์เรียนมหาลัย ควรจะแก้ไขที่การทำให้มหาลัยฟรี มากกว่าการเพิ่มรายได้ ที่ไม่ก่อให้เกิด purchasing power เพิ่ม เพราะหากเกิด hyper-inflation แล้ว PPP เขาจะเท่าเดิม ศก.โดยรวมจะแย่ลงเพราะค.สามารถการแข่งขันกับต่างชาติลดลง, FDI ลดลง สรุปคือให้ 300 บาทก็คงไม่ยาก แต่ต้องดูว่าให้ไปแล้วเขา better off รึเปล่า แล้วรายได้เกษตรกรมันไม่ได้มีการันตีแบบนี้ คนที่จะมาเป็น entrepreneur แบบ SMEs จะลดลงโดยเฉพาะในสาขาเกษตร คนจะเป็นลูกจ้างมากขึ้น ส่งเสริม monopolization รึเปล่า?(entreprenuer ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงเจ้าของธุรกิจใหญ่โตอะไรนะ ชาวนาที่ปลูกข้าวแล้วขายเองเราก็ถือว่าเขาเป็น entreprenuer) เราคิดว่าการเปลี่ยนแปลงทำได้นะ แต่หากเฉียบพลันจะส่งผลกระทบวงกว้าง ตย.เช่น คุณยายแก่ๆ ที่เจอเงินเฟ้อแบบไม่ตั้งตัว เราต้องแก้ไขค.เหลื่อมล้ำ แต่ต้องแก้ไขให้ถูกจุด แก้ที่สวัสดิการพื้นฐาน,โอกาสการศึกษา,ความเท่าเทียม ไม่ใช่โยนเงินอ่ะ

RT @iPattt ถ้าให้สวัสดิการสังคมอย่างเต็มที่โดยไม่ได้เน้นเรื่องให้เงินจำนวนมาก ลองพิจารณาดูมันก็เป็นระบอบสังคมนิยมเหมือนกันนะครับ

ลองสัมภาษณ์ผู้ที่ได้ค่าแรงขั้นต่ำ โดยผมเอง

เด็กเสิร์พ รับค่าแรงขั้นต่ำ

วันนี้ไปกินสเต๊คชื่อร้าน “โชคดีสเต็ค” ที่ฟอร์จูนมา พบว่ามีป้ายรับสมัครพนักงานหน้าร้านรายได้ 230-240 บาทต่อวันดังนี้

ป้างรับสมัครพนักงานร้านอาหารที่ฟอร์จูน ด้วยค่าแรง 230-240บาทต่อวัน
ป้างรับสมัครพนักงานร้านอาหารที่ฟอร์จูน ด้วยค่าแรง 230-240บาทต่อวัน

ิร้านสเต็คที่ฟอร์จูนน้องคนเสิร์พอัธยาศัยดี ผมเลยลองถามน้องบอกได้ค่าแรง 230 บาทต่อวัน และทุกคนในร้านรู้เรื่องนโยบายค่าแรง 300 บาทดี ถามความคิดเห็นว่ารู้สึกอย่างไรกับค่าแรง300และกลัวคนจ้างเลิกจ้างหรือเปล่า น้องบอก “ก็ดีค่ะเพราะทุกวันนี้ไม่พอและไม่กลัวคนจ้างเลิกจ้าง” ผมถามต่อว่าทำไมไม่กลัวถูกเลิกจ้าง น้องบอกว่า “แล้วแต่ร้าน ร้านแบบนี้ต้องการคนไทยทำงาน และคนก็หายากอยู่แล้ว”

คนอาชีพอื่น ที่ไม่ได้รับค่าแรงขั้นต่ำ

ลองถามคนเข็นรถเข็นขายผลไม้ วันนึ่งเค้าได้ 600-700 บาท ซึ่งลบเป็นกำไรแล้วเหลือประมาณ 250 บาทต่อวัน ว่าอยากเปลี่ยนงานรับค่าแรง 300หรือไม่… คนเข็นผลไม้บอกมาว่า เขาไม่อยากเปลี่ยนงานหรอก ส่วนที่รัฐจะขึ้นค่าแรงขั้นต่ำส่วนตัวเค้ามองว่าเป็นการให้กำลังใจคนทำงานมากกว่า

อย่างไรผมจะทยอยลองถามเรื่อยๆนะครับ 🙂

การเสนอเรื่องค่าแรงขั้นในสังคม

ที่ผ่านมาเครือข่ายแรงงานเสนอ 421บาท ต่อวันครับ ตามข่าวนี้ แต่คุณ @pasitt ให้ความเห็นน่าสนใจไว้ดังนี้

RT @pasitt: ตราบใดที่ประเทศไทยหรือประเทศอื่นๆที่ยังมีการพูดถึงค่าแรงขั้นต่ำ ความเป็นธรรมย่อมไม่มี กฏหมายที่กำหนดก็มีไว้เอาเปรียบแรงงานเพราะกฏหมายไม่ได้เขียนด้วยฝ่ายแรงงานเท่านั้นยังมีฝ่ายนายจ้างและรัฐบาล แม้นว่ารัฐจะต้องการฐานเสียงจากแรงงานแต่รัฐฯก็เอนเอียงเข้าฝ่ายนายจ้างเล็กน้อย เหตุผลคือ GDPและการลงทุน โดยเฉพาะจากต่างชาติ ประเทศที่พึ่งการส่งออกเป็นหลัก และหวังการลงทุนจากต่างชาติมากเช่นประเทศไทย ไม่อาจปรับค่าแรงขั้นต่ำได้ตามแรงงานเรียกร้องเสมอ

ตัวอย่างที่ดีดูได้จาก ตัวเลขที่ฝ่ายแรงงาน และตัวเลขที่เสนอออกมาเป็นกฏหมายยังแตกต่างกันอยู่มาก ความเสียเปรียบของแรงงานไทยมีปัจจัยเรื่องของประสิทธิภาพเป็นตัวแปร ประกอบ กับ lifestyle ของคนไทยที่มีลักษณะ easy going นักลงทุนยอมจ่ายค่าแรงสูงหากได้ผลผลิตที่สูงเหมาะสม ไม่มีใครอยากสูญเสียแรงงานที่ดีและเก่งเพราะจะช่วยลดการลงทุนได้ นักลงทุนมีความคิดว่าการจ้างงานไม่ไดเป็นเพียงการจ้างงานเพื่อให้ได้แรงงาน แต่เป็นการลงทุนทางหนึ่งด้วยเพราะจะต้องพัฒนาทักษะตลอด

RT @kafaak แนะนำโพส การคำนวนค่าจ้าง ค่าแรง นโยบายตามที่ได้โฆษณาเอาไว้ตอนหาเสียงคือ รายวัน 300 บาท/วัน ทั่วประเทศอัตราเดียว ส่วน ป.ตรีจบมาได้เงินเดือนเริ่มที่ 15,000 บาท ,จริงๆ นี่ไม่ใช่นโยบายของพรรคเพื่อไทยเพียงพรรคเดียวนะครับ หากย้อนไปดูให้ดีๆ แล้ว พรรคใหญ่ (พท ปชป) และ พรรคกลาง (ภท ฯลฯ) ก็ใช้, เพียงแต่ว่าจะโฆษณาไว้มากหรือน้อย เช่น ปชป ก็ยึดมั่นที่ ปรับขึ้น 25% … พท ก็ 300 /วัน … ชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน 350/วัน (ภายใน 3 ปี)

RT @kafaak จะเห็นได้ว่า รายได้ของคนจำนวนไม่น้อยที่ต่ำกว่า 9000 บาท/เดือน (FYI: ถ้าปรับค่าแรง 300/วัน คนรายเดือนจะต้องมีเงินเดือน 300×30 ครับ) แนะนำอ่านบล็อก ถ้าค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บาทต่อวันจริงๆ จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง เขียนได้ละเอียดดีมาก

RT @kafaak ภาระทางอ้อมในการปรับค่าแรง พนง คนอื่นๆ ในบริษัทเพื่อรักษา Gap เผลอๆ จะหนักกว่าภาระทางตรงอีก เพราะส่วนใหญ่ พนักงานเก่าจะเยอะกว่า ลองคิดว่า บริษัทมีพนักงาน 300 คน มีคนใหม่ 50 คนที่ต้องปรับค่าแรงขึ้น แต่เท่ากับบริษัทต้องไล่ปรับอีก 250 คนที่เหลือด้วย ซึ่งไม่น้อย ที่แน่ๆ คนที่เงินเดือนใกล้เคียง 9000 บาท ต้องอยากได้เงินเดือนขึ้น 2550 บาทด้วยแน่นอน สมมติมีซัก 150 คน ก็เท่ากับจ่ายเพิ่มเกือบ 4 แสน

ปัจจุบัน ค่าแรงขั้นต่ำมีความเป็นธรรมหรือไม่?

ผู้ที่มาตอบในจุดนี้ ตอนนี้ยังมีที่ชัดเจนเพียง นพ.ประเวศ กับแนวคิดค่าแรงขั้นต่ำ 150 บาทก็เพียงพอถ้ามีที่พักและอาหารพอเพียง (ซึ่งได้รับการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง) แต่ใน twitter ยังไม่มีใครตอบคำถามนี้ได้อย่างเด็ดขาดครับ เพราะวิธีการคิดน่าจะยากมาก ผมเองในครั้งแรกยังคิดเรื่องความสัมพันธ์ของค่าครองชีพกับค่าแรงโดยใช้ Big Mac index ที่ดูง่ายดี ( ราคา Burger ขายใน Mcdonald เป็น ดัชนีทางไฟแนนซ์ที่ครั้งหนึ่งกล่าวกันว่าเที่ยงตรงระดับโลก ) แต่ก็มีความเห็นน่าสนใจหลายอย่างตอบมาเช่น

RT @3ty3: Fast Food Index is interesting but virtually inapplicable to Vietnam where there are very few such chain “restaurants” and NO MacDs!

RT @tonnellato: ไม่ได้โดยตรงครับ เพราะว่า Big Mac Index มีการรวมต้นทุนในการผลิต (ค่าครองชีพ)? ภายในประเทศเข้าไปด้วย เช่น ราคาเนื้อ Big Mac Index ใช้เปรียบเทียบค่าครองชีพจะตรงตัวกว่า

เปรียบเทียบค่าแรงขั้นต่ำในระดับโลก

คุณ @warong บอกว่าน่าจะดู % of GDP per capita ซึ่งผมลองดูข้อมูลมีที่น่าพิจารณาดังนี้

>ตารางเปรียบเทียบค่าจ้างขั้นต่ำในระดับโลก ลอง clt+f search ประเทศไทยดูนะครับ

List of countries by GDP (PPP) per capita ซึ่ง GDP (PPP) per capita มาจากผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ
และอำนาจการซื้อ ซึ่งเป็นตัวที่บอกถึงคุณภาพชีวิต

Average GDP PPP per capita 2010 สีฟ้าคือสูงกว่าค่าเฉลี่ย สีส้มคือต่ำกว่าซึ่งไทยอยู่ในกลุ่มนี้
Average GDP PPP per capita 2010 สีฟ้าคือสูงกว่าค่าเฉลี่ย สีส้มคือต่ำกว่าซึ่งไทยอยู่ในกลุ่มนี้

และอีกตัวหนึ่งคือ GDP (nominal) per capita ลองดู List of countries by GDP (nominal) per capita ซึ่งตัวนี้มาจากผลิตภัณฑ์มวลรวมต่อประชากร และคิดสัมพันธ์กับอัตราแลกเปลี่ยนด้วย

ประเด็นที่คนคิดว่าถ้าขึ้นค่าแรงขั้นต่าแล้วควรจะขึ้นค่าแรงของงานอื่นๆเป็นสัดส่วนที่เท่ากันหรือไม่ คำตอบคือไม่เท่ากันครับ แต่จะทำให้ช่องว่างระหว่างค่าแรง (Gap) ลดลงเรื่อยๆเหมือนประเทศที่พัฒนาแล้ว

RT @iPattt เสวนาใน twitter เรื่องค่าแรงมาตั้งแต่เช้า ยิ่งเห็นว่าเราให้ความสําคัญกับวุฒิการศึกษามากเกินไป จนมันเฟ้อไปแล้ว ผมคิดว่าเราเน้นที่วุฒิการศึกษามากกว่าการศึกษาจริง Academic Inflation

RT @noname_8: @iPattt ถ้า รายได้ไม่ขึ้นกับ วุฒิการศึกษามากนัก แต่มองที่ฟังก์ชั่นหน้าที่ความรับผิดชอบเป็นสำคัญ คนไม่น้อยคงไม่ต้องไปลงทุนกับการศึกษามากนัก ที่ UK คนขับรถเมล์ อาจมีรายได้ถึง 24,000ปอนด์ ต่อปี ใช่รายได้ดี แต่ความก้าวหน้าในการทำงานไม่มี (รายได้จะถึงจุดอิ่มตัวเร็วมาก)

RT @bluefrog_su: ที่ UK ตอนนี้ เสริฟอาหารอย่างเดียวได้เงินเดือนเท่าโปรแกรมเมอร์เลย T_T /งี้แหละ อิสระกว่าด้วย

RT @Sonamsangbo: ที่มหาลัยในนอรเวย์ภารโรงเงินเดือนมากกว่าอาจารย์อีก เขาไม่สนว่าใครทำงานอะไร สนว่ารายได้ต้องเท่ากัน ประเทศทางสแกนฯ ไม่มีความเหลื่อมล้ำมากมายแบบบ้านเราเลยครับ ภารโรงก็มีบ้าน มีรถขับ ฯลฯ เหมือนหมอ ทนายความ เค้าก็อยู่ได้อย่างมีศักดิ์ศรีพอสมควรนะครับ วันเสาร์ไปเชียร์บอลได้ บ้านมีทีวีดู มีรถขับ เพิ่มค่าแรงกับพัฒนาคนคงจะต้องไปด้วยกันครับ คือค่าแรงต้องคุ้มกับงานที่ได้ เพิ่มค่าแรงคือเพิ่มคุณภาพงาน

RT @vow_vow: US มี income gap สูงกว่า UK, มี migration เยอะ และมีปัญหาสังคมเยอะกว่ามาก ไม่มีระบบ free universal healthcare , US เป็นทุนนิยม แต่ถ้าไทยจะพยุงคนจนอย่างยั่งยืนต้องใช้ model ของยุโรป (welfare state-สแกนดิเนเวีย) มากกว่าเดินตาม US

RT @tonnellato: @vow_vow @ipattt ถูกต้องครับ เพราะฉะนั้น US เลยเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีหากจะดูที่ income distr อีกอย่างมันเป้นเรื่องวัฒนธรรมใครดีใครได้อีกด้วย ว่าง่าย ๆ คนขยันต้องรวยกว่า นี่คือ american dream ทำให้อเมริกาไม่มี social welfare เท่าไหร่ ผมคิดว่าถ้าดู structure ของไทยเรา ณ เวลานี้มันใกล้เคียง US มากกว่ายุโรปนะ แต่มันต้องแก้ระดับถอนรากถอนโคนเลยทีเดียว

RT @ipattt: ใครมีข้อมูลหรือเปล่าครับว่าการขึ้นค่าแรงครั้งนี้ มีผลกระทบต่อแรงงานกี่คน ? คราวที่แล้วแจกเช็ค 2000 บาทให้ 8ล้านคนมีผลกระทบอะไรกับเงินเฟ้อหรือไม่ (หาคำตอบอยู่ครับ)

ความเห็นเรื่องค่าแรงขั้นต่าใน facebook wall @narudom

ขอบคุณ @mokin27 ที่แนะนำคุณ @Somchai Vantasin ครับ ถ้าเห็นว่าไม่เหมาะให้แชร์สามารถแจ้งได้นะครับ 🙂

RT @narudom นโยบาย 300 บาท เริ่มจะสร้างปัญหาให้ผู้ประกอบก?าร และฐานเสียงของพรรคที่จะต้องตกง?านเพราะนายจ้างไม่มีปัญญาจ่าย ข้อมูลจากบริษัทก่อสร้างแห่?งหนึ่งครับ เตรียมลดการจ้างลูกจ้างคนไท?ยในกรณีที่รัฐบาลประกาศให้ข?ึ้นค่าแรงเป็น 300 บาทจริง อีกอย่างเมื่อ No-Skill Labor ได้ 300 ลูกจ้างมีฝีมือต้องขยับหนีอ?ีกเท่าไร ถ้าผมเป็นเจ้าของกิจการอยาก?ลดต้นทุนผมคงลดการจ้างงานแร?งงานไทยที่ไม่มีฝีมือ ไปใช้แรงงานต่างด้าว สรุปก็แรงงานไทยตกงาน

รายที่สองที่บ่นเป็นซุปเปอร?์มาร์เก็ตแถววงเวียนใหญ่ ถ้าขึ้นค่าจ้างเป็น 300 จริงต้องจ่ายเงินเพิ่มต่อคน?เดือนละ 1800 จำนวน 36 คน เป็นเงิน 777,600 บาทต่อปี ที่ร้านกำไรอยู่ปีละ 2 ล้านกว่าบาท ให้ทายสิว่าเถ้าแก่จะทำยังไ?ง

RT @Somchai Vantasin ถ้าดูนโยบายโดยรวมแล้ว ทั้งสองพรรคที่บริหารประเทศ?ก็จะลงทุนใน Infrustructure เยอะมาก ซึ่งเป็นผลดีโดยรวมกับบริษั?ทฯก่อสร้างทั้งเล็กและใหญ่แ?ต่แน่นอนว่า บริษัทฯใหญ่ก็จะได้เปรียบมา?กกว่า หาก เป็นบริษัทฯเล็ก็คงต้องปรับตัวด้านการบริหารต้นทุน?ต่างๆเพราะคงไม่มีที่ไหนในโ?ลกที่จะให้ค่าจ้างในอัตราเด?ิมไปได้ตลอดเวลา อีกประการหนึ่ง ค่าจ้างลูกจ้างชั่วคราวในปร?ะเภทธุรกิจนี้สามารถจ้างแบบ?ผลงานได้ ถ้าศึกษากฎหมายแรงงานอย่างล?ะเอียด รวมถึงแรงงานข้ามชาติซึ่งเข?้ามาทำงานในไทย ก็เป็นปรากฏการณ์ที่เป็นปกต?ิอยู่แล้วของกระแสเศรษฐกิจใ?นโลกาภิวัฒน์

การมองนโยบายเช่นนี้แล้วบอก?ว่ากระทบรายย่อยนั้นคงไม่ถู?กต้อง เพราะถ้ามองให้กว้างและลึกจ?ะพบว่า บริษัทใหญ่ๆอาจจำเป็นต้อง job assign งานขนาดเล็กบางงานออกไปให้บ?ริษัทฯเล็กๆทำ ซึ่งนั้นหมายความว่า บริษัทเล็กและกลางจะได้ประโ?ยชน์ตรงนี้และเมื่อคนงานได้?รับค่าจ้างที่สูงขึ้น ก็จะสามารถต่อสู้กับภาวะเงิ?นเฟ้อได้ ปัญหาอยู่ที่ว่า รัฐบาลใหม่จะมีวิธีการแก้ไข?ปัญหาสินค้าที่แพงขึ้นอย่าง?จริงๆได้เช่นไรยกตัวอย่างกา?รลดค่าครองชีพโดยผ่านการจัด?งานขายสินค้าราคาพิเศษให้มี?การจัดงานอย่างต่อเนื่องและ?ทั่วทุกประเทศ โดยรัฐจำเป็นต้องเข้าไป subsidise ในนโยบายราคาสินค้าที่จำเป็?นบางประเภท ซึ่งก็จะทำให้เกิดภาวะสมดุล?กันระหว่างค่าจ้างที่สูงขึ้?นกับอัตราเงินเฟ้อ

อัตราการว่างงานที่สูงขึ้นค?งไม่ใช่ปัญหาการขึ้นค่าแรง แต่เนื่องจากเราไม่มีระบบกา?รพัฒนาการเพิ่มทักษะของแรงง?านให้ดีมากขึ้น อีกทั้งการขยายตัวของธุรกิจ?ขนาดย่อมและขนาดกลางเติบโตช?้า นโยบายดังกล่าวเป็นการแก้ไข?ปัญหาในลักษณะ Down to Top ซึ่งเคยใช้ในญี่ป่นและเยอรมันและประสบผลสำ?เร็จมาแล้ว สิ่งที่สำคัญก็คือเมื่อกลุ่?มชนชั้นล่างมีเงินมากขึ้น เงินจะถูกใช้ไปในรูปการดำรง?ชีพ ขณะที่นิติบุคคชหรือบุคคลใน?กล่มชนชั้นสูงมีเงินมากขึ้น? จะนำไปใช้ซื้อของฟุ่มเฟือยแ?ละทำให้ประเทศสูญเสียดุลการ?ค้า ลักษณะที่จะต้องเสริมเข้ามา?ในนโยบายนี้ก็คือการพัฒนาทั?กษะแรงงานฝีมือคนไทยอย่างจร?ิงจัง ซึ่งจะต้องแก้ไขปัญหาจาก Top มาส่ Down พร้อมๆกัน ในเชิง Macro Economic ซึ่งเราจะแก้ไขได้ในภาพรวม ดังนั้นการขึ้นค่าแรงไม่ได้?ทำให้เราเสียเปรียบในเรื่อง?การแข่งขันแต่ประการใด แต่เอกชนก็ต้องพัฒนาคุณภาพข?องสินค้าเพื่อสร้างมูลค่าขอ?งสินค้าตนเองในการขยายการตล?าดของตนเองด้วย ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือ? สิ่งทอ ซึ่งเมื่อ 20-30 ปีที่แล้ว สิ่งทอประเทศไทยไม่ได้รับคว?ามนิยมเพราะอ้างเรื่องค่าแร?ง ซึ่งขณะนั้นก็ต่ำมาก แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่า สิ่งทอเราไปจับตลาดล่างซึ่ง?ไม่เป็นที่นิยมของตลาดต่างป?ระเทศและตลาดที่มีมูลค่าเพิ?่มของสินค้าต่างหาก การแก้ไขปัญหาทั้งหมดจึงมิใ?ช่การพึ่งพารัฐแต่เพียงฝ่าย?เดียว เอกชนและทุกคนในประเทศนี้ก็?ต้องร่วมแรงร่วมใจในการแก้ไ?ขปัญหาไปพร้อมๆกัน เพราะคงไม่มีผู้วิเศษที่ไหน?จะบันดาลให้ประเทศเจริญก้าว?หน้าโดยประชาชนไม่ทำอะไร

RT @Kanok Leelahakriengkrai ขอตอบเชิงวิชาการก่อนนะคร?ับ การคาดคะเนผมว่าไม่ผิดหลักว?ิชาการครับ อาจารย์ของผมที่ Kellogg ก็สอนการคาดคะเนโดยหลักวิชา?เหมือนกันครับ ปัญหาบ้านเมืองเราตอนนี้เป็?นการแทรกแทรงของรัฐเรื่องค่?าแรง ทำให้เกิด Supply Shift อละในเชิงเศรษฐศาสตร์จุลภาค? Demand ก็จะค่อยๆ ปรับไปด้านซ้าย คือมีความต้องการจ้างที่น้อ?ยลง คราวนี้เรมาพิจารณาด้านการจ?้างงาน คุณสมชายพูดถูกครับ คือการศึกษาหรือทักษะทำให้เ?กิดการจ้างงานในราคามที่สูง?ขึ้น แต่กรณีเป็นการแทรกแซงของภา?ครัฐเพื่อดันค่าแรงตามประชา?นิยม ทำให้ผู้ประกอบการมีตัวเลือ?กได้มากขึ้นในขณะที่คนที่ไม?่ถูกเลือกจะตกงานครับ เพราะเขามองว่าไม่คุ้มกับกา?รจ้าง และที่ Demand Shift ไปด้านซ้ายก็เพราะเขาจะจ้าง?น้อยลงแต่ต้องการประสิทธิภา?พเท่าเดิมหรือสูงขึ้น ความยั่งยืนต้องพิจารณาองค์?รวม คือ GDP, การจ้างงาน, อัตราดอกเบี้ย, อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่าง?ประเทศ ที่ผมโพสไปอันต้นๆ ก็พูดไว้หมดแล้วถึงความเกี่?ยวข้องกันครับ

คราวนี้พูดถึงภาพเล็กบ้างคื?อผมเองในฐานะผู้ประกอบการ ต่อให้ค่าแรงขึ้น 300 ผมก็ไม่ปลดพนักงานระดับลูกจ?้างครับ เพราะบริษัทผม Outsource มานานแล้ว จุดแข็งของผระเทศไทยไม่ใช่ส?ิ่งทอครับ แต้่เป็น Design ครับ ผมจึงทำ Marketing & Branding ไม้่ใช่ Manufacturing ซึ่งถ้ายัง Manufacturing แรงๆ สัดส่วนสูงๆ ผมว่าผมไปนานแล้วครับ แต่โครงสร้างราคากระทบแน่ๆ คือต้นทุนสูงขึ้น ของต้องแพงขึ้น แต่คนก็มีเงินมากขึ้นก็ซื้อ?ได้ ทำให้ผมบอกว่าจะเกิดเงินเฟ้?อในระดับสูงครับ ไม่เชื่อลองดูซิครับ ดูอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตร?ระยะยาว 10 ปี ก็ได้ จะกระทบก่อนเลยครับ ดอกเบี้ยจะได้เห็นระดับ 7-9% แน่ๆ แล้วอะไรๆ ก็จะตามมาอีกเยอะ เงินจะไหลเข้ามาก การลงทุนต่างชาติจะเข้ามา ค่าเงินจะอ่อนสลับแข็งค่อนไ?ปทางแข็งขึ้นเรื่อยๆ คราวนี้ที่ผมบอกไงครับ ถ้าความได้เปรียบเชิงการแข่?งขันของเราไม่ ok เราเดี้ยงครับ และยาวด้วยครับ เพราะถ้าไม่มีความได้เปรียบ?ที่แท้จริง เศรษฐกิจจะเป็นฟองสบู่และบุ?ม!

ฉะนั้น การรักษาความเติบโตที่ยั่งย?ืนจึงต้องทำ 2 สิ่งคือ 1. เพิ่มการลงทุนจริงจังในทุกๆ? ภาคส่วน และ 2. เพิ่ม Productivity ของประเทศ คือเน้นเรื่อง R&D, Education, Long-term people investment และอีกมากมาย เพราะ…เพียงเราเพิ่ม Productivity ของภาพรวมของประเทศแค่ 1% อีก 70 ปีข้างหน้า GDP ของประเทศจะกลายเป็น 2 เท่าครับ อันนี้ไม่ใช่ความคิดผม ให้ไปอ่านหนังสือ “Growth Accelerations” ของ Hausmann, Pritchett, and Rodrick ครับ

RT @Somchai Vantasin ผมยังยืนยันว่า การเกิดเงินเฟ้อในภาพเล็ก (Micro-inflation)ไม่ใช่มาจ?ากค่าแรงขั้นต่ำที่ Shift ขึ้นมา แต่เพียงประการเดียว ผมจะตอบในเชิงข้อเท็จจริงที?่เกิดขึ้นเช่น น้ำมันปาลม์ ที่เราเคยซื้อบริโภคขวดละไม?่เกิน 25.0 บาท แต่ปัจจุบันน้ำมันปาล์มราคา? 47 บาท ไม่ใช่เพราะค่าแรงที่ถูกปรั?บขึ้นมาแล้ว 2 ครั้ง แต่เป็นเพราะ มีกลุ่มผู้ผลิตและนักการเมื?องบางคนรู้ว่าน้ำมันปาล์มจะ?ขาดตลาด และขาดมากกว่าทุกปี จึงมีการนำเข้าแฝง จากประเทศเพื่อนบ้านแล้วส่ง?ออกกลับไปเพื่อให้ขาดแคลนหน?ักขึ้น ในขณะที่ผู้ผลิตที่ต้องการก?อบโกยก็สต๊อกน้ำมันปาล์มดิบ?ไว้เป็นจำนวนมาก และเมื่อต่อมาฝ่ายการเมืองป?ล่อยให้มีการขึ้นราคาขายปลี?ก ซึ่งเป็นการแก้ที่ปลายเหตุ น้ำมันปาล์มสำเร็จจึงทะลักอ?อกมาในตลาดประเภทไม่น่าเชื่?อได้เลยว่าวันเดียวจะผลิตได?้เป็นแสนเป็นล้านขวด ในทางทฤษฏีเศรษฐศาสตร์ รัฐจำเป็นต้องเข้าไปแทรกแซง?ราคาและกลไกตลาดของอุปสงค์อ?ุปทานบางประเภท แต่ต้องเข้าใจว่า ไม่ว่าจะเป็นอจ.ที่ Kellog หรือ ที่ Columbia (ซึ่งมีอจ.เศรษฐศาสตร์ระดับ? Nobel price) ยังยอมรับว่า สิ่งที่สอนนั้นถูก limited ไว้ด้วยตัวแปรที่เราทำให้ไม?่เปลี่ยนแปลงเช่น อัตราดอกเบี้ยนโยบาย การเข้าถึงสินค้าของผู้บริโ?ภคในทุกระดับ การแข่งขันที่เป็นธรรม เหล่านี้เป็นตัวแปรที่ไม่ได?้ใช้มาสอนในห้องเรียน ที่เห็นชัดก็คือ รัฐเองก็พยายามแก้ไข (ซึ่งก็ปลายเหตุ) โดยการออกพันธบัตรชดเชยเงิน?เฟ้อ เพื่อดูดซับสภาพคล่อง ซึ่งมาตราการนี้เป็นมาตรากา?รในการชะลอภาวะเงินเฟ้อ ผมยังยืนยันว่า นโยบายการขึ้นค่าแรงเป็นวัน?ละ 300 บาทเป็นนโยบายที่อย่างไรเสี?ยก็ต้องทำ เพียงแต่เป็นเรื่องของ timing เท่านั้น

อีกประเด็นก็คือ การที่เงินทุนต่างชาติไหลเข?้ามานั้น ปัจจัยใหญ่ๆ ก็คือ การที่ตลาดทุนของเรายังมีคว?ามน่าสนใจอยู่มากกว่าประเทศ?อื่นในภูมิภาคนี้ ซึ่งฝรั่งเรียกเงินนี้ว่า Hot Fund นั่นก็คือเข้ามาเร็วและออกเ?ร็ว การใช้การควบคุมอัตราแลกเปล?ี่ยนเป็นวิธีหนึ่งซึ่งจะชะลอความร้อนแรง?ของการไหลเข้า แต่ต้องใช้อย่างระมัดระวัง และไม่ผลีผลามเหมือนที่เคยใ?ช้ในรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ แต่ต้องผ่านหน้าต่างเงิน และเครื่องมือการดำรงเสถียร?ภาพเงิน นอกจากนั้น ผมยังยืนว่า ประเทศไทยไม่เคยก้าวข้ามผ่า?น การติดบ่วงแร้วของการใช้แรง?งานราคาถูกอยู่ซึ่งนี่เป็นป?ัญหาของประเทศมามากกว่า 40 ปี ทั้งๆที่เรามีตัวอย่างที่ดี?มากๆ และองค์กรต่างๆซึ่งมีเพียงแ?ค่ไม่ถึง 10% ที่จะมีงบในการพัฒนา R&D เพราะเมื่อมีกำไรก็ทำอยู่สอ?งสิ่ง คึอจ่ายปันผลให้ผู้ถือหุ้น และนำไปขยายกิจการในสิ่งที่?ตนเองไม่ถนัด

มุมมองของค่าแรงขั้นต่ำและคุณภาพแรงงาน

คุณคิดว่า ณ ขณะนี้ แรงงานขาดแคลนหรือล้นตลาด ?

คำถามนี้มีหลายคำตอบน่าสนใจครับ ตัวผมเองมองอยู่สองมุมก็คือ แรงงานที่ไร้ฝีมือนี้แหละที่ควรจะได้ค่าแรงขั้นต่ำ ในขณะที่แรงงานมีฝีมือไม่น่าจะเข้ากฏเกณฑ์ค่าแรงขั้นต่ำนี้ ดังนั้นแนวคิดของการเพิ่มค่าแรงเป็น 300บาทต่อวัน ยังมีความกำกวมเล็กน้อยระหว่างความเป็นแรงงานมีฝีมือและไร้ฝีมืออยู่บ้าง (ซึ่งตรงกับความคิดเห็นของ @jerasak )

คำตอบต่อเรื่องแรงงานขาดแคลนหรือล้นตลาด?

RT @Pa_Tok: ทั้งสองแบบนะ แต่คนละอาชีพ

RT @SoraidaSalwala: คิดว่าแรงงานมีแต่เขาเลือกงานค่ะ เลยดูเหมือนขาด

RT @sweetiejeep: ขาดแคลนอย่างมากมายค่ะ

RT @Nok77: แรงงานที่ขาดฝีมือ ความตั้งใจและความซื่อสัตยืล้นตลาด ส่วนแรงงานที่มีฝีมือ ความตั้งใจและความซื่อสัตย์ขาดแคลนมากๆ

RT @iamgooodview: แรงงานมีฝีมือขาดแคลน ส่วนพวกคุณภาพไม่ถึงแต่จะเอาค่าแรงสูงๆ นายจ้างก็เลยไปจ้างต่างด้าวดีกว่า ฝีมือเท่ากันแต่ถูกกว่า

RT @Shaiwat: แรงงานไร้ฝีมือมีมากกว่าแรงงานมีฝีมือเฉพาะทางเยอะมากครับ

RT @l3oRToR: คิดว่าแรงงานธรรมดาล้นตลาด แต่แรงงานมีฝีมือขาดตลาดค่ะ และเลือกงานกันมากขึ้น

RT @lingjaidee: ขาดแคลนแรงงานคุณภาพ ทั้งในแง่ฝีมือ และความมุ่งมั่น

ความเห็นเรื่องฝีมือแรงงานกับค่าแรงขั้นต่ำ

RT @malimali: บางทีก็พูดยากเหมือนกันค่ะ อยู่ที่การปรับทัศนคติในการทำงานของผู้ใช้แรงงานด้วย จำนวนมากแค่ขอมีงานทำๆ จะห่วยก็ไม่สน ขอให้ได้เงิน อย่างคนงานก่อสร้าง มาทำงาน ก็ไม่มี skill ทำๆไปเบี้ยวๆมั่งอะไรมั่ง เดี๋ยวๆก็กลับไปทำนาบ้างอะไรบ้างละ กลับมางานห่วยเหมือนเดิม

RT @Shaiwat: ส่วนตัวผม ควรจำเป็นต้องแยกเกรดและทักษะของแรงงานออกมา แล้วประเมินค่าแรง ไม่ใช่ยกทั้งระบบครับ คำว่าคนไทยตกงาน ต้องไปดูเลยว่าตอนนี้สถิติภาคแรงงานประเทศเราขาดแคลนขนาดไหน สถิติลดลงเรื่อยๆทุกปี ไม่ใช่ไม่ต้องการ แต่ไม่มีคนสมัครต่างหาก สาเหตุให้อุตสาหกรรมบ้านเรา ต้องหันไปพึ่งบริการแรงงานต่างชาติเข้ามาทำงาน ยอมรับว่ามันถูกกว่าคุ้มกว่าจ้างคนไทยจริงๆ แต่เป็นคนไทยเองนี่แหละ ที่เอาตัวเองออกจากการเป็นผู้ใช้แรงงาน ต่อให้อัตราจ้างว่าง คนไทยก็ไม่ทำ สรุปคนไทยชอบงานสบายครับ

RT @jerasak: ค่าแรง300บ.: เป็นได้ว่า รบ.ปู อาจเลี่ยงให้แรงงานเข้าอบรมเพื่อรับ อัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงาน11สาขา สำหรับแรงงานฝีมือ11สาขา จะเริ่มมีผล 28กค.54 ส่วนใหญ่เกิน 300บ./วัน *แต่ไม่ใช่ค่าแรงขั้นต่ำ* ที่ พท.อ้างจะได้ค่าแรง300บ./วัน ต้องเข้าอบรมก่อน ที่แท้คงอิงมาตรฐานฝีมือแรงงานที่มีอยู่แล้ว อาจเข้าข่ายหลอกลวง

คลิป “ค่าแรงที่เป็นธรรม” จาก @Jerasak ล่าสุดขอที่ 441บ./วัน

* เดี๋ยวมาเขียนต่อครับ