ขุนรองปลัดชู

ช่วงนี้กระแส “ขุนรองปลัดชู” กำลังมาแรงโดยมีการฉายที่ ThaiPBS กับโรงหนังสกาล่าด้วยครับ ผมได้รับบัตรจากพี่ @hongsyok เลยได้ไปดูรอบสื่อมวลชนมา โดยปกติผมไม่เคยเขียนบล็อกรีวิวหนังนะครับ อย่าเพิ่งงง 😛 แต่อันนี้คิดว่ามีประเด็นการเมืองนิดหน่อยเลยขอบันทึกไว้

ขุนรองปลัดชู

ผมไปดูที่สกาล่า พบว่าหนังจอใหญ่และถ่ายทำด้วยวิธีถือกล้องซะเยอะ ประกอบกับเป็นหนังขาวดำทำให้มีความกดดันมากจนมึนหัวได้ (ดูในทีวีจะมึนน้อยกว่า) และรู้สึกว่าเป็นหนังที่ไม่เชิงเป็นหนังเท่าไหร่ครับ คือมีความเป็นพรีเซ้นท์อยู่ในนั้นด้วยและมีดราม่าอยู่ในหนังน้อยมากทีเดียว ซีนที่ถ่ายทำหลายซีนใช้ซ้ำกันค่อนข้างเยอะ(ทุนทำหนังอาจจะไม่มาก ความเป็นขาวดำช่วยให้ไม่ต้องปราณีตกับฉากมากเกินไป) เพลงประกอบพอใช้ได้ครับ คนรอบข้างที่ไปดูด้วยกันบอกว่าหนังดีครับ ส่วนผมยอมรับว่าดูไม่ค่อยเป็น 😉

ผู้อำนวยการสร้างขุนรองปลัดชู

คุณบุญชัย เบญจรงคกุล อดีตผู้บริหารดีแทค ผู้อำนวยการสร้างขุนรองปลัดชู
คุณบุญชัย เบญจรงคกุล อดีตผู้บริหารดีแทค ผู้อำนวยการสร้างขุนรองปลัดชู

คุณบุญชัยได้ทำโครงการที่ชื่อ “รักบ้านเกิด” มานานแล้วครับ ตัวโครงการมีรายละเอียดปลีกย่อยมากมาย ผมเองก็เคยเข้าไปทำระบบให้ทางทีมงานรักบ้านเกิดอยู่เล็กน้อย และในหนังขุนรองปลัดชูก็มีการนำเสนอเรื่องความรักแผ่นดินเกิดอยู่เช่นกัน (ซึ่งครั้งแรกตัวหนังผมแอบคิดว่าออกแนวเสื้อเหลืองซะด้วย)

ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างคุณบุญชัย-ThaiPBS และรายการคนค้นคน ลองดูได้ที่ สัมภาษณ์คุณบุญชัยโดยคนค้นคน

แต่สิ่งที่หนังเสนอตั้งแต่แรกคือ หนังเริ่มในช่วง “ผลัดแผ่นดิน” และมีผู้ที่มีอำนาจในการขึ้นครองราชย์อยู่สองพระองค์ แต่หนังเน้นให้เราไม่ต้องใส่ใจสนใจเรื่องพวกนั้น เพียงแต่ให้ช่วยเหลือตัวเองและทุ่มแทชีวิตเพื่อ”แผ่นดินเกิด”เท่านั้นเป็นพอ ซึ่งคิดว่าเป็นความต้องการบางอย่างที่ชัดเจนของคุณบุญชัยครับ

@thepchaiyong แห่ง ThaiPBS ในงานเปิดตัวขุนรองปลัดชู
@thepchaiyong แห่ง ThaiPBS ในงานเปิดตัวขุนรองปลัดชู

พระเอกนางเอก ขุนรองปลัดชู (ภาพโดย @thepchaiyong )

พระเอกนางเอกขุนรองปลัดชู
พระเอกนางเอกขุนรองปลัดชู

ประวัติคร่าวๆขุนทองปลัดชู

ขุนรองปลัดชู
ขุนรองปลัดชู

ประวัติคร่าว ๆ ของ ขุนรองปลัดชู (จาก kapook) ทหารหาญแห่งเมืองวิเศษชัยชาญ หัวหน้ากองอาทมาต ที่มีกำลังพลกว่า 400 คน ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นผู้มีความสามารถในการศึกและมีวิชาอาคมแกร่งกล้า ที่ซึ่งอาสาเข้าทำศึกสงครามกับกองทัพพม่าในศึกคราวเดียวกันกับชาวบ้านบางระจัน โดยกองอาทมาตเข้าร่วมกับกองทัพของพระยารัตนาธิเบศร์ รับหน้าที่เป็นกองสอดแนมข้าศึก ตั้งหลักที่เมืองกุยบุรี (จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ในปัจจุบัน) จนกระทั่งวันหนึ่งปะทะเข้ากับกองทัพพม่าที่อ่าวหว้าขาว กองอาทมาตของขุนรองปลัดชูต่างก็ดาหน้าเข้าสู้กับข้าศึกแบบลืมตายถวายชีพ ว่ากันว่าบางคนมีความสามารถในการล่องหน ก็สามารถทะลวงไปได้ถึงใจกลางกองทัพพม่าเลยก็มี

แต่ด้วยกำลังพลที่มีเพียง 400 คน ฤาจะสู้กับกองทัพพม่าที่มีกำลังพลเรือนหมื่น กองอาทมาตผู้เก่งกล้าค่อย ๆ ทะยอยโดนฆ่าตายไปทีละคน ๆ ทั้ง ๆ ที่ยังกำดาบอยู่ในมือ จนกระทั่งนายกองคนเก่งโดนจับตัว ไพร่พลที่เหลือจึงโดนไล่ลงทะเลจมน้ำตายไปก็มาก โดนช้างไสงาเข้าแทงตายก็มาก (เนื่องจากมีวิชาอาคมมีดดาบฟันแทงไม่เข้า พม่าจึงใช้วิธีนี้) จึงถือเป็นการปิดตำนานกองอาทมาตลงในที่สุด เหลือไว้เพียงแต่ตำนานเล่าขานมาถึงปัจจุบัน