ประชุมเครือข่ายอาสาสมัคร : ศูนย์ประสานงานช่วยเหลือสถานการณ์น้ำท่วม

เมื่อวานได้รับแจ้งด่วนว่าต้องมีประชุมรอบดึกกับทีมงานคุณ อภิรักษ์ โกษะโยธิน ( @apirak_bangkok ) ที่โรงแรม Imperial Queen’s Park เวลา 20:30 น.ก็แปลกใจเล็กน้อยครับ เมื่อไปถึงก็พบว่ามีทีมงานอาสาสมัครภาคประชาชนอยู่หลายคน ตั้งแต่ @iwhale ที่ผลักดัน www.thaiflood.com ตั้งแต่แรก , @aceimage แห่ง สยามอาสา, ตัวแทนจากทีมงานร่วมด้วยช่วยกัน มีตัวแทนนักข่าวอย่างคุณ @sresuda มีทีมงานจาก Change Fusion ซึ่งเป็นผู้ทำเว็บ pm.go.th และทีมงานคุณอภิรักษ์

ประชุมเครือข่ายอาสา เพื่อบูรณาการร่วมกับภาครัฐฯ
ประชุมเครือข่ายอาสา เพื่อบูรณาการร่วมกับภาครัฐฯ (ภาพโดย @sunit)

คุณอภิรักษ์ได้บริฟให้ฟังว่ารัฐบาลได้ตั้ง ศูนย์ประสานงานช่วยเหลือสถานการณ์น้ำท่วมขึ้นเนื่องจากต้องการให้มีตัวกลางในด้านข้อมูลและการประสานงานระหว่างภาครัฐและเอกชน ที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีนั้นได้รับข้อมูลมากมายเช่นกันจากหน่วยงานต่างๆ แต่ต้องการการบูรณาการ

โดยปกติการทำงานในภาพรวมของการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมมีหลายก้อนใหญ่ๆคือ

1. การทำงานด้านข้อมูล รัฐบาลนั้นมีหน่วยงานและองค์กรที่มีข้อมูลต่างๆอยู่มาก และต้องนำมา matching กันเพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ เช่นข้อมูลจาก กรมอุตุนิยมวิทยาให้ข้อมูลฝนตกและปริมาณน้ำฝน ,กรมอุทกศาสตร์ – กองทัพเรือ ดูเรื่องน้ำขึ้นน้ำลง , กฟผ ดูปริมาณน้ำในเขื่อน , กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ฯลฯ เช่นน้ำจะท่วมได้ ต้องวิเคราะห์จาก 3 น้ำได้แก่ น้ำเหนือ,น้ำทะเลหนุน และน้ำฝน นั่นเอง

2. การทำงานประสานการกระจายข่าวสารและแจ้งเตือนภัยสู่ท้องถิ่น เช่นเมื่อมีการปล่อยน้ำจากเขื่อน ต้องมีการประสานงานแจ้งข่าวลงสู่วิทยุชุมชนเพื่อเตือนน้ำท่วม (แต่ที่ผ่านมาไม่มีการแจ้งเตือน)

3. ปัญหาการรวมข้อมูล,ตัดสินใจและประสานงานการช่วยเหลือ ให้กับองค์กรที่มีหน้าที่เช่น กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย, และองค์กรที่มีการให้การช่วยเหลือต่อเนื่องอย่าง กองทัพ หรือ สภากาชาดไทย ฯลฯ และองค์กรภาคประชาชนรวมถึง NGO ต่างๆ (ที่ผ่านมาไม่มีศูนย์กลาง บางครั้งประชาชนไม่สามารถร้องขอความช่วยเหลือได้โดยตรง)

แนวคิดจากกลุ่มต่างๆ

ทาง @iwhale ได้เล่าให้ฟังถึงประสบการณ์ในการทำงานสมัยทำงานกับกรณี ซึนามิ, เรื่อง Software Opensource ที่มีต่างประเทศพัฒนามาเพื่อการบริหารงานน้ำท่วมโดยเฉพาะ, pkflood เว็บน้ำท่วมของปากีสถาน และการผลักดัน www.thaiflood.com ซึ่งเป็นเว็บศูนย์กลางของข้อมูลและประกาศขอความช่วยเหลือต่างๆ ( ใช้ ระบบ Google Crisis Response @tonawe ด้วย ) เป็นศูนย์กลางรายงานสถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นขณะนี้ ประสานงาน แจ้งข่าว ขอความช่วยเหลือ และเชื่อมต่อยังทุกๆอาสา ระดมความช่วยเหลือ กับผู้ประสบภัยในครั้งนี้ และข้อดีของการทำงานภาคประชาชนที่มีแรกผลักดันสูง เพราะประชาชนด้วยกันเป็นผู้เดือดร้อน

ทาง @klaikong @sunit ในฐานะตัวแทนจาก Change Fusion ที่ทำงานด้านเว็บไซต์ pm.go.th ได้แนะนำ pm.go.th/flood และแนวคิดต่างๆในการทำเว็บสื่อกลาง วิธีการแจ้งสถานการณ์น้ำท่วม ( มีจุดร่วมโดยมวิธีทวีตและใส่ #Thaiflood , สรุปมาตรการช่วยเหลือจากรัฐ ,รายงานเหตุการณ์ล่าสุด) และข้อดีต่างๆในการใช้เว็บรัฐบาลเป็นศูนย์กลาง และแนะนำว่าเว็บสามารถที่จะเชื่อมกันกับ www.thaiflood.com ได้

คุณอิสรา ชุมชนคนใจดี budpage @votunteerclub เป็นกลุ่มอาสาที่ทำมาระยะหนึ่งแล้ว เสนอให้จัดตั้งศูนย์ประสานงาน Matching ระหว่าง กลุ่มอาสาประชาชน + ผู้ประสบภัยน้ำท่วม โดยมีขั้นตอนดังโพสนี้ และเล่าประสบการณ์ในการทำงานในอดีตถึงความมีน้ำใจและแรงผลักดันหากภาคประชาชนเข้าร่วมมือกับภาคประชาชนด้วยกันเอง

ทีมงานร่วมด้วยช่วยกัน ได้แจ้งว่า วิธีที่ดีที่สุดในการบรรเทาสาธารณภัยคือทำนายล่วงหน้า แจ้งล่วงหน้า และส่งของบรรเทาทุกข์ล่วงหน้า แต่ในความเป็นจริงไม่สามารถทำได้เพราะสังคมต้องการข่าวก่อน (คือเดือดร้อนก่อน) และค่อยช่วยเหลือ ทางทีมงานมีการประสานกับวิทยุชุมชนอยู่และยังมีความเป็น “สื่อกลาง” มากกว่าองค์กรของรัฐ คือประชาชนเดือดร้อนจะนึกถึงก่อน และประชาชนหลายกลุ่มนั้นมีองค์ความรู้พื้นฐานด้านน้ำท่วมอยู่แล้ว และสามารถที่จะทำนายรวมถึงป้องกันกันเองได้

@aceimage เล่าให้ผมฟังว่าทีมงานสยามอาสานั้นเป็นทีมงานที่เป็นสื่อกลางของการประสานงานการช่วยเหลือบน Social Network ได้ดีมาก และมีสมาชิก facebook ในปัจจุบันถึง 29,000 คน จึงเป็นเครื่องรับประกันถึงการกระจายข่าวทางออนไลน์ และการระดมน้ำใจสามารถทำได้อย่างรวดเร็วมากที่สุด ปัจจบันสามารถประสานกับทีมงาน “กลุ่มประเทศไทยสดใสขึ้นกว่าเดิม” ซึ่งเป็นผู้ตั้งเต๊นท์บริจาคที่ดุสิต

@sresuda ได้กล่าวว่า ทีมงานของนักข่าวนั้นเป็นทีมงานที่ทำงานอย่างหนักในเรื่องข้อมูล และที่ผ่านมาทำงานในเรื่องการลงพื้นที่และระบุปัญหาที่เกิดขึ้นได้ผลมากกว่ารัฐบาล พร้อมกับยังมีพลังในการรวบรวมความช่วยเหลือต่างๆจากภาคเอกชนอีกด้วย ดังนั้นจึงเป็นหน่วยงานที่สำคัญต่อการประสานเกิดภัยพิบัติจริงๆสู่มวลชนในวงกว้าง

ผมเอง ได้เสนอแนวคิด Results orientation โดยผลักดันให้ mission ย่อยๆให้สำเร็จโดยต้องมีผู้รับผิดชอบประจำงานนั้นๆ ณ ปลายทางโดยต้องเป็นผู้ที่มี Social tools ในมือ เพราะโดยปกติการระดมความช่วยเหลือจากทั้งภาครัฐและสื่อนั้นมักจะใหญ่มากๆและใช้ได้ดีกับต้นทาง (เช่นการบริจาค) แต่มีปัญหาในเรื่องประสิทธิภาพการส่งของบรรเทาทุกข์ให้ถึงปลายทาง ดังนั้นหากหน่วยข้อมูลสามารถระบุถึงพื้นที่ที่มีปัญหาได้แล้ว ก็สามารถหา Director ประจำจุด ในการผลักดันทุกวิถีทางให้จุดนั้นๆบรรเทาวิกฤติให้ได้

สรุปการประชุม

โดยสรุปผลการประชุมก็คือ ทั้งภาครัฐและภาคประชาชนนั้นก็ต่างมีข้อดีต่างๆอยู่ในตัวเอง เช่นภาครัฐมีข้อมูล และภาคประชาชนมีความคล่องตัว ดังนั้นจึงต้องมีภาคประชาชนมีส่วนร่วมเข้ามาในศูนย์ประสานงานช่วยเหลือของภาครัฐฯด้วย โดยมีข้อสรุปที่จะมี 2 ที่นั่งของภาคประชาชนคือ @iwhale และ @iPattt พร้อมทั้งอนุกรรมการเป็นกลุ่มอาสาต่างๆข้างต้นเข้ามาเชื่อมด้วย

สำหรับผมเองสาเหตที่รับเป็นกรรมการเนื่องจาก ต้องการรู้แนวคิดการทำงานในภาพกว้างของรัฐฯ และต้องการแชร์และระบุสาเหตของปัญหาที่แท้จริงสู่ภาคประชาชนพร้อมกับเป็นสื่อกลางในการระดมแนวคิดกลับไปยังศูนย์ประสานงานด้วยครับ