ตั้งแต่เด็ก ถ้าพูดถึงการ์ตูนไทย หลายคนคงจำหนังสือ หนูจ๋า มหาสนุก ขายหัวเราะกันได้ดี ( นอกจากนั้นก็เป็นการ์ตูนประโลมโลกเล่มละบาทที่ชอบดำเนินโครงเรื่องดีตอนแรกแต่จบแบบห้วนๆ) ผมเองชอบอ่านตั้งแต่เป็นเล่มใหญ่ A4 จนถึงกลายเป็นขนาด pocket book ( B5 ขายหัวเราะฉบับกระเป๋า ปี 2529 เมื่อผมอายุ 9 ขวบ) เวลาเดินทางจะนั่งรถทัวร์รถไฟไปไหนๆก็ต้องรบเร้าขอให้คุณแม่ซื้อให้อ่านเป็นประจำ

ในสมัยเริ่มแรกขายหัวเราะมีรูปเล่มขนาดใหญ่เท่ากระดาษ A4 ต่อมาในปี พ.ศ. 2529 จึงได้เริ่มปรับขนาดหนังสือให้เล็กลง ใช้ชื่ว่า “ขายหัวเราะฉบับกระเป๋า” มีขนาดเท่ากระดาษ B5 ซึ่งคงขนาดจนถึงปัจจุบัน ส่วนขายหัวเราะฉบับเดิมก็ยังคงพิมพ์ต่อไป จนกระทั่งมีการยกเลิกในเวลาต่อมา เหลือเพียงขายหัวเราะฉบับกระเป๋าเท่านั้น
ราคาขายของขายหัวเราะในสมัยเล่มใหญ่นั้นอยู่ที่ 7 บาท ฉบับกระเป๋า 10 บาท ภายหลังจึงขึ้นราคาเป็น 12 บาท และ 15 บาท (ราคาปัจจุบัน ปรับขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2549) ตามต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น
กำหนดการออกนิตยสารนั้นเดิมกำหนดออกเป็นรายปักษ์ (ราย 15 วัน) ภายหลังจึงปรับให้ออกเป็นรายสัปดาห์พร้อมกับมหาสนุก โดยขายหัวเราะมีกำหนดออกในวันอังคาร ส่วนมหาสนุกออกจำหน่ายในวันศุกร์ ต่อมาจึงปรับกำหนดออกอีกครั้งให้เป็นวันพุธทั้งสองฉบับ
คนที่นักเขียนชอบเอามาล้อเลียนก็คือ บก.วิธิต อุตสาหจิต ไม่น่าเชื่อว่าจนถึงปัจจบัน บก ก็ยังเป็นผู้ approve แกีกด้วยตัวเองอยู่นะครับ หนังสือขายหัวเราะตีพิมพ์ครั้งแรกพร้อมๆนิตยสารมหาสนุก ซึ่งจัดพิมพ์โดยบรรลือสาส์นเช่นกัน เริ่มตีพิมพ์ฉบับแรกเมื่อ พ.ศ. 2516 ก่อนผมเกิดเสียอีก แรกๆตอนเด็กๆผมก็ชอบอ่านมหาสนุกเพราะมีการ์ตูนภาพเยอะกว่า ผมชอบจำแก๊กเรื่องสั้นในการ์ตูนมาเล่าให้ผู้ใหญ่ฟังในสมัยประถมและทุกคนก็ดูพอใจตลกกันดีทำให้ผมรู้สึกเป็นศูนย์กลางของวงสนทนาได้ไม่ยาก 😛
แม้แต่ในช่วงที่กรุงเทพฯมีปัญหาทางการเมือง ทีมงานก็ยังหยิบจับ issue ต่างๆมาเขียนเป็นการ์ตูนได้อย่างน่ารัก และแก้เครีียดได้ด้วยความเป็นกลางๆ ซึ่งสิ่งนี้ไม่ใช่ทุกคนจะทำได้เพราะต้องมีความเข้าใจทุกฝ่ายอย่างจริงจังจึงจะเขียนได้ครับ ( ความฮาแบบไม่มีพิษภัย โน้ต อุดม ยังทำไม่ได้เลย 😛 )
ส่วนนักเขียนคนดังที่ผมชื่นชอบก็จะมีคุณต่าย คุณนิค หมู และปุ๋ย ทุกคนมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว แต่สิ่งที่ทุกคนมีคือความฮาที่ดูน่ารัก ไม่กระทบกระเทือนใคร ไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของการด่าทอเพื่อให้สนุกสนาน และมีความเป็นกลาง นี่คือสิ่งที่ผมชอบมาก

คุณต่าย เกิดปี 2503 อายุห้าสิบแล้วนะครับ ยังคงสรรสร้างและมอบความสุขให้คนไทยตลอดมาและตลอดไป คุณต่ายตัวจริงเป็นคนเรียบร้อยเก็บตัว ขี้อาย และไม่ใช่คนตลกเวลาคุยกัน มีลูกสองคนชื่อ ปังปอนด์ และ นินจา โดยชื่อปังปอนด์ก็ถูกนำมาใช้เป็นตัวการ์ตูนยอดนิยมจนถึงทุกวันนี้ เร็วๆนี้ทางบรรลือกรุ๊ปมีแว่วๆว่าอาจจะมีกิจกรรมให้ Blogger รุ่นใหม่ได้พบพี่ต่ายนะครับ
สำหรับตัวของ ปังปอนด์เองก็เป็นคาร์แร็คเตอร์ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดของเครือบรรลือเลยทีเดียว ได้รับการทำเป็น Animation และหนัง IMAX และปี 2546 ? ปัจจุบัน ปังปอนด์ได้รับเลือกเป็น เพื่อนยุวทูตความดี จากกระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงการต่างประเทศ อ่านได้ที่ ไอ้ตัวเล็ก ไม่น่าเชื่อว่าปังปอนด์นั้นมีอายุ 20 ปีแล้วนะครับตั้งแต่เริ่มเขียนครั้งแรก
ก้าวสู่ยุคใหม่กับ อะไรก็ฮา
ถ้าใช้ความรู้สึกของคนยุคผม หน้งสือขายหัวเราะ มหาสนุกนั้น ก็ยังเป็นสิ่งที่ดูเข้ายุคและ “ต้องอยู่ที่ตรงนั้นเสมอ” มาตลอด แต่สำหรับคนรุ่นใหม่ทีมงานบรรลือคงจะคิดอย่างรอบด้านว่าควรจะมีโปรดักซ์สนุกๆรุ่นต่อไปอย่างไรได้บ้างให้เหมาะกับสภาพสังคมที่เปลี่ยนไป จนกระทั่งมีนักเขียนรุ่นใหม่ที่มีวิธีคิดในการทำงานต่างจากนักเขียนรุ่นเดิมๆอย่างมาก และมีแก๊กที่อินเทรนด์อารมณ์ยุคโซเชียลมีเดียมารวมกันได้บ้าง เลยเกิดเป็นการ์ตูนตลกยุคใหม่ที่มีอารมณ์ต่างจากบรรลือสาส์น เล่มเดิมๆ

ตอนนี้บรรลือสาส์น เองก็ออกหนังสือมาหลายเล่มมากครับ ผมเองก็ยังไม่รู้ว่าเล่นไหนเป็นอย่างไรบ้าง แต่สำหรับ “อะไรก็ฮา” ฉบับ ศฮฉ ก็อ่านแล้วสนุกดีนะครับ คนเขียนยุคใหม่หลายคนมีความคมที่น่าสนใจทีเดียว ขายเฉพาะใน 7-11 ครับ 😉
น่าลุ้นสำหรับยุคของการเปลี่ยนผ่านของบรรลือกรุ๊ป ต้องมาดูว่าจะเป็นอย่างไรกันต่อไปครับ