จุดหมาย และจุดยืน กับปลายทางของการเคลื่อนไหว

จุดหมายกับจุดยืน

กว่าจะถึงจุดหมาย เราอาจต้องเสียจุดยืน แต่ถ้ารักษาจุดยืน อาจไม่ถึงจุดหมาย

การที่คนแต่ละคนมีจุดยืนแต่ไม่มีพวกพ้องและอำนาจมันก็เหมือนได้แต่คิดเปลี่ยนแปลงอะไรไม่ได้เลย แต่พอเราแสวงหาอำนาจและเริ่มมีพวก เราก็ต้อง Compromise ตามพวก และนี่คือ “การเมือง” ครับ

หลายๆคนในองค์กรขนาดใหญ่คงเคยตั้งคำถามว่า ทำไมคนนั้นคนนี้ได้รับการโปรโมททั้งๆที่มีคนที่เก่งมากกว่าเค้าอยู่ หลายคนสงสัยว่าทำไมผู้ที่มีอำนาจในมือ แทนที่จะตัดสินใจอย่างดี กลับตัดสินใจอย่างที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ หรือตัดสินใจอย่างไม่ฉลาดเหมือนแต่ก่อน นั่นเป็นเพราะชื่อเสียงและตำแหน่งของเขา มาจากหลายๆอย่างที่เค้าต้องตอบแทนนั่นเอง

( คุณแม่เล่าให้ฟังระหว่างกินข้าวให้ฟังถึงอดีตของแกนนำทางการเมืองหลายๆคนที่เริ่มสะสมอำนาจสมัยแม่ยังสาว เลยเอามาโน้ตไว้ครับ )

Model การเคลื่อนไหวแบบต่างๆของ NGO และองค์กรต่างๆ

อ่านเจอ NESTA Connect ได้เขียน Model ในการพูดคุย นำไปสู่ความสัมพันธ์และมีการแลกเปลี่ยน Value กัน มี diagram ประเภทของคน / และ network ระหว่างกลุ่มที่น่าสนใจดังนี้

Model ของการ Connect แบบต่างๆของแต่ละกลุ่มเคลื่อนไหว
Model ของการ Connect แบบต่างๆของแต่ละกลุ่มเคลื่อนไหว

คือมีแบบ Centralized , Decentralized และ Distributed นั่นเอง

การปรับตัวเมื่อต้องเปลี่ยนรูปแบบ Network ของนักเคลื่อนไหว

ในศตวรรษก่อนหน้านี้ องค์กรอิสระ หรือองค์กรไม่ขึ้นกับรัฐ ฯ (NGO) มักสื่อสารโดยมีรูปแบบ Hub และมีโฆษกในการกระจายสู่ Network โดยตัว NGO จะอยู่ตรงกลางส่งข่าวสารผ่านไปยัง member รอบๆ และ member ก็จะส่งเงินหรือการช่วยเหลือต่างๆย้อนกลับเข้ามาภายใน แต่โมเดลนี้นับว่าทำได้ยากสำหรับปัจจุบันแล้วเนื่องจากการสื่อสารได้เปลี่ยนจากทางเดียวเป็น Social Network ที่ member สามารถติดต่อกันได้ทั้ง network จึงมีคนที่นำเสนอแนวคิดใหม่ขึ้นนั่นคือ การสร้างพลังให้เกิดกับ องค์กร โดยไม่ต้องมี องค์กรจริงๆ ก็ได้ด้วยการสะสมพลังจากช่องทางต่างๆ ทั้งการร่วมทาง การร่วมทำงาน และการร่วมกลุ่ม

the line back is much less radical, and represents a much less dramatic shift than the lateral lines,

องค์กรจะเป็นตัวจัดหาบางอย่างที่น่าสนใจในพื้นที่ต่างๆกัน และกลุ่มต่างๆที่สนใจสามารถเข้าร่วมได้ไม่จำเป็นต้องทุกครั้งเสมอไปโดยกิจกรรมจะมีทิศทางที่ไปในทางที่ส่งเสริมกัน และสะสม Value เพื่อแลกเปลี่ยนกัน ไม่ใช่ว่ากลุ่มนักเคลื่อนไหวตรงกลางจะขับเคลื่อนไปได้ด้วยเงินจากสมาชิกที่ป้อนเข้ามาแบบเมื่อก่อน แต่ทั้งหมดขับเคลื่อนไปด้วยกัน กลุ่มคนตรงกลางขับเคลื่อนไปด้วยกลุ่มคนรอบข้างที่มีโมเดลต่างๆกันได้และ Share Value ผ่านกันด้วย Social Network แนะนำบทสัมภาษณ์และบทความจาก Social Reporter นี้

คีย์เวิร์ดสำคัญจาก NESTA คือ Conversations first, then relationships, then transactions

?There is a sequence of activities that occur in networks that can seldom be bypassed. Namely you start with lots of conversations, some of which will lead to a smaller number of some kind of relationships. Eventually, and almost certainly long after the first time people met, some transactions may follow that create value, be it commercial or social.? NESTA

สิ่งที่ผมกำลังหาเวลาศึกษา

1.@iwhale ได้แนะนำโมเดลของ Worldcafe ซึ่งเป็น KM ของการสนทนาให้หัวข้อต่างๆ ผมยังไม่มีเวลาดูเลยครับ 😛

2.สภานะของ NGO ในไทย : ดูเผินๆเหมือนกับ NGO แท้ๆในเมืองไทยนั้นกำลังมีปัญหา กลุ่มที่ได้รับการสนับสนุนด้านการเงินที่แน่นหนายังเห็นเพียงกลุ่มขององค์กรศาสนา และมีอีกหลายกลุ่มรับเงินจาก สสส.ซึ่งเป็นองค์กรของรัฐฯจึงไม่น่าจะเป็น NGO ที่แท้จริง ส่วนกลุ่มที่อยากจะเกิดขึ้นใหม่นั้นค่อนข้างมีแรงต้านเยอะและไม่เคยที่จะเชื่อมต่อกันได้สะดวก จึงขอเวลาศึกษาเรื่องนี้สักระยะครับ 🙂