ประกาศควบรวมกิจการไทเกอร์ไอเดีย-มาร์เวลิคเอ็นจิ้น-ฟิกกาไบท์ APFD!

ต้องกราบขออภัยผู้ติดตาม Blog ทุกท่านครับ ความจริงเรารวมกันทางพฤตินัยเท่านั้น ^___^ ไม่ได้ควบรวมแต่อย่างไร และขอให้มีความสุขในวันโกหกโลกทุกท่านนะครับ !

april-fool

ในที่สุด OpenSource เมืองไทยก็เป็นปึกแผนตามฝัน
ในที่สุด OpenSource เมืองไทยก็เป็นปึกแผนตามฝัน

ได้มีโอกาศคุยกับพี่บังนานแล้วว่าการทำธุรกิจ OpenSource Implementation ในเมืองไทยมันช่างยากลำบากมาก ภาครัฐที่เหมือนจะสนับสนุนแท้ที่จริงไม่เข้าใจและกลับเรียกใช้คนที่ทำงานจริงให้ช่วยทำระบบ+ฝึกอบรมคนอื่นๆแบบการกุศล รวมทั้งเอกชนเองสไตล์คนไทยก็ยังคิดว่า OpenSource คือของถูกของฟรี ทั้งที่ความจริง OpenSource ก็เปรียบเสมือนปากกาถูกๆที่ใครก็ใช้ได้ แต่คนที่วาดรูปโดยใช้ปากกาที่ลงแรงใช้เวลาต่างหาก เป็นผู้สร้างสรรค์ผลงานที่มีมูลค่าและควรได้ค่าตอบแทน

ไทเกอร์ไอเดีย มาเวลิคและฟิกกาไบท์ก็มีการทำงานด้าน OpenSource มานาน (โดยเฉพาะมาเวลิคและทีมลายไทยนั้นนานมาก ถือว่าเป็นผู้บุกเบิกธุรกิจ OpenSource ก็ว่าได้) ไทเกอร์ไอเดียเองมีจุดเด่นเรื่องความเข้าใจลูกค้า,ด้านการดีไซน์, Content Management ,White Hat SEO และการใช้ WordPress, ส่วน มาร์เวลิค นั้นมี Production ที่เป็นระบบระเบียบโดดเด่น มี Solution ครบครันสำหรับงาน Requirement ไม่นิ่งแบบภาครัฐ และยังมี Branding เป็นอันดับหนึ่ง Joomla! ส่วน ฟิกกาไบท์ เป็นบริษัทน้องใหม่ไฟแรงที่มุ่งพัฒนา Social Media โดยเฉพาะ Facebook Apps, iPhone Apps ที่มีสื่อในมือหนุนหลังโดย meedee.net จากทีมงานที่มีประสบการณ์หลายสิบปี พร้อมลุยภาคสนามแหลก ,มีการพัฒนาระบบคลัง ข้อมูลอยู่อย่างสม่ำเสมอ รวมถึงบริการบริหารจัดการเนื้อหา สำหรับลูกค้าครบวงจร (Content Service Provider)

ที่มาของการควบรวม

อย่างไรก็แล้วแต่ ทั้งสามบริษัทมีโปรเจ็คหลายตัวที่ทำด้วยกันหลายตัวเนื่องจากไทเกอร์เองก็เป็นบริษัทขนาดเล็กและไม่ได้มี System พร้อมขยายรองรับ #Petdo ได้ขนาดนั้น บางโปรเจ็คทางไทเกอร์จึงรับวางแผนทำ TOR เป็น AE และดีไซน์ และส่งมาร์เวลิคด้าน Systems และ Server เช่นงานของ กทช.และบางโปรเจ็คไทเกอร์ก็รับงานบางส่วนผ่านมาเวลิคเช่นกัน เช่นโปรเจ็คมูลนิธิชัยพัฒนา ส่วนกับ ฟิกกาไบท์ ทางไทเกอร์ไอเดียก็กำลัง Develope งานโปรเจ็คธนาคารแห่งหนึ่งไว้อยู่ครับ เมื่อทำมากขึ้นพี่บังจึงเสนอว่าถ้าเรารวมกันเลย knowledge ทั้งหลายของแต่ละบริษัทจะทำให้เราน่าจะมีความเข้มแข็งพอที่จะทำงาน OpenSource ในระดับ Asia ได้ทีเดียว และในระดับประเทศก็น่าจะมีความเข้มแข็งในเรื่องอำนาจต่อรองมากขึ้น รวมทั้ง Branding OpenSource ก็จะแข็งแกร่งขึ้น

ในเรื่องทุนนั้น รายละเอียดปลีกย่อยเยอะพอสมควร แต่ด้วยความเฉียบแหลมของคุณนุ่น เราก็สามารถควบรวมกันได้ไม่ลำบากนัก เมื่อศึกษากันมาตลอด 4 เดือนเลยตัดสินใจได้ครับ

ก้าวสู่ ทศวรรษใหม่ แห่ง OpenSource เมืองไทย ! 😀 โอเพนซอร์สเข้มแข็ง !