บทความเกี่ยวกับ twitter ของ #SIU โดย @charoenchai

อ่านได้ที่
ทวิตเตอร์ (Twitter) : แหล่งฝึกฝนบ่มเพาะ ?ภูมิปัญญา? ของคนรุ่นใหม่
เขียนโดย @charoenchai

ยิ่งถ้าหากไอดอลซึ่งมีอาชีพต่างกันได้มาสนทนาร่วมกันด้วยแล้ว ก็ย่อมเกิดการเชื่อมร้อยศาสตร์สาขาที่แตกต่างเข้าด้วยกัน (Medici Effect) ตกผลึกเป็นขุมความรู้ที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น จุดประกายให้ผู้อ่าน (Follower) ได้เปิดมุมมองโลกทัศน์และความคิดสร้างสรรค์ของตนให้ลึกซึ้งกว้างไกลยิ่งขึ้น

ในโลกจริงที่มีขีดจำกัดของเวลาและสถานที่ การที่ผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขาจะมีโอกาสเข้ามาร่วมสนทนาเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้กันนั้น ย่อมเป็นไปได้ยากหรือมีต้นทุนที่สูงเกินไป ยิ่งกว่านั้น ภาพลักษณ์ของการเป็นผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาวิชา ยังขีดเส้นจำกัดให้พวกเขาไม่สามารถแสดงความรู้ที่นอกเหนือสาขาเฉพาะทางของตนได้มากนัก แต่บรรยากาศในโลก Twitter ที่มีลักษณะกึ่งทางการกึ่งส่วนตัวย่อมทำให้การทำลายกำแพงอัตตา เพื่อนำไปสู่ ?บทสนทนาข้ามศาสตร์สาขา? (interdisciplinary dialogue) สามารถเกิดขึ้นได้อย่างงดงามไหลลื่น

ดังนั้น หากบริหารจัดการอย่างถูกวิธี Twitter ย่อมสามารถเป็น ?จุดนัดพบ (hub)? ที่นำไปสู่ความร่วมมือใหม่ๆ ในการผลิตความรู้ข้ามสาขาวิชาที่น่าตื่นตาตื่นใจและเป็นประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติได้อีกมากมาย

ส่วนตัวผมเองรู้สึกว่า twitter คือ “ประชาธิปไตย” ที่แท้จริงครับ เพราะทุกคนสามารถออกเสียงได้อย่างเท่าเทียมกันโดยไร้ขีดจำกัดของฐานะ เวลาและสถานที่ ดังนั้นประชาธิปไตยจะเกิดได้ง่ายมากหากประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึง twitter ได้

และในส่วนของการจรรโลงสร้างสรรค์สังคมด้วย social media ยุคใหม่ที่หลายๆองค์กรพยายามจัดงานสัมมนาขึ้นเพื่อหาหนทาง ผมเพียงคิดว่าถ้าเราสามารถทำให้ ผู้บริหารระดับสูงใช้ twitter กันได้แล้ว สังคมเราก็จะพัฒนาขึ้นโดยอัตโนมัติครับ เพราะผู้บริหารทุกคนล้วนต้องแสดงวิสัยทัศน์ที่ดีต่อประเทศชาติออกมา ส่วนหนึ่งเป็นเพราะขีดความสามารถของตัวผู้บริหารเอง ส่วนอีกส่วนก็คือการรักษา Branding และภาพลักษณ์ของผู้บริหารเหล่านั้นครับ