ทำไมการบินไทยถึงขาดทุน

ความรู้ทั่วไปของสายการบิน

ก่อนอื่นต้องมาดู Load Facters / Cabin Facters ก่อนครับ นั่นคือถ้าเป็น 100% = เต็มทุกที่นั่งในการบิน ซึ่งจะต้องพิจารณาจากราคาและปัจจัยอื่นๆ โดยต้องวิจัยค่าที่ทำให้เกิดการ Maximize ของกำไร เช่นถ้าตั๋วถูกไปคนนั่งเต็มแต่อาจจะได้กำไรน้อยกว่าตั่วแพงขึ้นมาหน่อยแต่คนนั่ง 80% เป็นต้น จากนั้นมาพิจารณาถึงปัจจัยในการที่คนจะเลือกขึ้นเครื่องของสายการบินใดๆมีอยู่เพียง 3อย่างดังนี้ครับ

  1. เวลา หมายถึงเวลาที่เหมาะสมในการบิน เช่นคนที่อยากไปทำงานต่อที่ยุโรปในวันนั้นส่วนใหญ่ก็ต้องการขึ้นเครื่องบินและนอนเลย ตื่นเช้าขึ้นมาก็ถึงที่หมายไปทำงานต่อได้เลย และอาจประหยัดค่าโรงแรมได้ด้วย ประเด็นนี้การบินไทยซึ่งเป็นสายการบินแห่งชาติจะได้เปรียบเพราะผูกขาดเรื่องการควบคุมเวลามานานและได้สิทธิเลือกเวลาก่อนคนอื่นครับ
  2. ราคา การบินไทยมักมีคนบ่นว่าแพง ซึ่งมาจากหลายปัจจัยและกลยุทธของ Loading facters ด้วยครับ
  3. สิทธิพิเศษ และ แบรนด์ สายการบินไหนมีโปรโมชั่นบ่อย หรือมีการทำการตลาดที่ดีอย่างต่อเนื่อง ผู้คนที่บินก็จะให้ความสำคัญต่อปัจจัยนี้เช่นเดียวกัน

ปัจจัยที่ทำให้ขาดทุนของการบินไทย

ทำไมการบินไทยถึงขาดทุนจาก Route ภายในประเทศแต่ได้กำไรบาง Route ภายนอกประเทศเช่นยุโรป ? อันนี้เป็นตัวชี้วัดชัดเจนถึงโครงสร้างขององค์กรขนาดใหญ่ในประเทศไทยทั่วไปว่า ถ้าไปแข่งระดับโลกคงจะแย่กันหมดแน่ๆครับ ทุกคนควรจะรู้ว่า ที่องค์กรของตนเองอยู่ได้เป็นเพราะโมเดลพิเศษที่ไม่เป็นไปตามหลักทุนนิยมหรือเพราะความสามารถจริงๆกันแน่ ( ลองอ่าน การทำธุรกิจในประเทศไทย )

1.โครงสร้างที่ผูกติดกับการเมืองระดับประเทศ แม้ว่าการบินไทยจะเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แต่การบริหารจัดการยังคงเป็นรัฐวิสาหกิจที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของ ขึ้นอยู่กับเจ้ากระทรวงที่ดูแล กรรมการบางส่วนอภิสิทธิ์ตามโควตาการเมือง และกรรมการโดยตำแหน่ง รวมทั้งผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งเป็นเก้าอี้อภิสิทธิ์เที่ใครๆ ก็ต้องการ อ่านต่อได้ที่บทความของ คุณบุญลาภ ภูสุวรรณ

2. การเมืองจากบุคคลที่มีผลประโยชน์ร่วมทั้งจากพนักงานและผู้บริหารเองทำให้ไม่สามารถตัดสินใจแก้ปัญหาได้ ตอนนี้หลายๆคนอาจจะได้ยินข่าวการบินไทยเกี่ยวกับปัญหาการยกเลิก Route ที่ดังๆ และขาดทุน Route ในประเทศ พยายามจะยกเลิก Route หลาย Route แต่เจอการเมือง? ที่มาจากคนที่ได้รับผลประโยชน์จากการบินโดยตรงเข้ามาเกี่ยวข้อง ทำให้ไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้ (ผู้ที่บินฟรีเช่น พนง การบินไทย ญาติพี่น้อง ข้าราชการการเมือง ฯลฯ) ลองดูกรณีประท้วงยกเลิก Route อุบลราชธานี

Route ที่บินไปยุโรปนั้นพอจะได้กำไรจากปัจจัยเวลา และความเป็นศูนย์กลางการบิน แต่ Route ที่บินภายในประเทศเมื่อใช้วิธีบริหารจัดการแบบ Route ต่างประเทศก็จะทำให้ต้นทุนสูงมาก จึงขาดทุน นอกจากนี้ยังมีการถูกรบกวน Load Facter ด้วยสิทธิพิเศษในการนั่งฟรีของญาติพี่น้องของพนักงานการบินไทยที่มักเดินทางในประเทศอีกด้วย

อ้างอิงเรื่องสิทธิประโยชน์ในการบินฟรีของพนักงานการบินไทย

สิทธิประโยชน์ที่กรรมการและอดีตกรรมการการบินไทยได้รับในปัจจุบันมีหลายเรื่อง เช่น ได้รับบัตรโดยสารเฟิสต์คลาสปีละ 30 ใบ แบ่งเป็นเส้นทางบินระหว่างประเทศ 15 ใบ และเส้นทางบินในประเทศ 15 ใบ โดยสิทธิประโยชน์นี้รวมไปถึงบุคคลในครอบครัวและผู้ติดตามด้วย
ด้านอดีตกรรมการบริษัทจะได้รับบัตรโดยสารที่มีส่วนลด 75% ของค่าโดยสารปกติ โดยเส้นทางบินระหว่างประเทศจะได้รับปีละ 12 ใบ ส่วนเส้นทางบินในประเทศจะได้รับปีละ 6 ใบ ขณะที่บุคคลในครอบครัวของอดีตกรรมการและผู้ติดตามจะได้รับสิทธิประโยชน์เช่นเดียวกับอดีตกรรมการ สำหรับพนักงานการบินไทยได้รับสิทธิประโยชน์ด้านตั๋วโดยสาร โดยพนักงานที่มีอายุงานไม่ถึง 10 ปี จะได้รับตั๋วโดยสารฟรีปีละ 2 ใบ เป็นเส้นทางระหว่างประเทศ 1 ใบ และเส้นทางในประเทศ 1 ใบ แต่ถ้าอายุงานเกิน 10 ปี จะได้รับเพิ่มเป็นปีละ 4 ใบ เป็นเส้นทางระหว่างประเทศ 2 ใบ และเส้นทางในประเทศ 2 ใบ ฯลฯ

3.ความเป็นองค์กรเอกชนที่มีโครงสร้างแบบรัฐวิสาหกิจที่ไร้แรงผลักดันทางธุรกิจ แต่กลับต้องแข่งขันในระดับโลก ลองอ่าน โพสเรื่อง ความไร้ประสิทธิภาพ

4.ความไร้เหตุผลของการไม่แก้ไขปัญหา จากการแถลงข่าวนี้จะเห็นว่ามีประโยคที่ไม่น่าจะใช้เป็นเหตุผลของบริษัทเอกชนได้เช่น การบินไทยได้เจรจาเลื่อนการรับมอบเครื่องบินแอร์บัส A380 ออกไปเป็นเดือนธันวาคม 2553 ถึงแม้ว่าประธานบริหารบริษัทต้องการยกเลิกการสั่งซื้อทั้งหมด เพราะอุตสากรรมการบินจะยังไม่สามารถฟื้นตัวภายในปีสองปีนี้ แต่เนื่องจากมีข้อผูกมัดทางกฎหมายและต้องการรักษาภาพลักษณ์ของประเทศ จึงไม่สามารถยกเลิกการสั่งซื้อได้

หรือจากหัวข้อข่าวนี้

“ยอมรับว่ามีบางเส้นทางที่ขาดทุนเช่น พิษณุโลก ซึ่งบริษัทยังคงต้องทำการบินต่อไป เพราะเป็นหน้าที่ และข้อบังคับในการเป็นสายการบินแห่งชาติที่ต้องอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน”

การจะให้การบินไทยโอนเส้นทางบินภายในประเทศให้นกแอร์ เป็นการแทรกแซงการบริหารงานภายในมากเกินไป เพราะการจะโอนเส้นทางใดให้นกแอร์จะต้องมีเหตุผลที่ชัดเจน และปัจจุบันการบินไทย ถือหุ้นในนกแอร์เพียง 39% ไม่มีอำนาจในการบริหารนกแอร์ จึงไม่ใช้บริษัทแม่ที่แท้จริง นโยบายดังกล่าวทำให้การบินไทยเสียประโยชน์

อันสุดท้ายนี้ต้องอ่านโพสเรื่องเหตุผลวิบัติจะเข้าใจวิธีการพูดครับ

วิธีการบริหารแบบ Low Cost Air Line

แล้วทำไมนกแอร์หรือ Low Cost Airline อื่นๆจึงมีสิทธิได้กำไรจาก Route ในประเทศถ้าไปรับช่วงต่อจากการบินไทย ?

  • high seating density and load factors การบริหารให้ที่นั่งเต็มและการจัดเลย์เอาท์เครื่อง
  • uniform aircraft types ลดต้นทุนการ Maintenance เช่น Nok Air นั้นใช้เครื่องบิน Type เดียวเท่านั้นคือ Boeing 737 -400 แบบเดียว ดังนั้นการ stock อะไหล่และการใช้ช่างที่มีความชำนาญเฉพาะรุ่นเดียวจะทำให้ลดต้นทุนได้มาก และเนื่องจากจำนวนคนนั่งต่างๆมีความเท่ากันในแต่ละเครื่องจึงสามารถโอนโยกเครื่องบินได้อย่างสะดวก
  • direct booking (internet/call centre – no sales commissions) ลดต้นทุนการขาย
  • no frills such as ?free? food/drinks, lounges or ?air miles? ไม่มีต้นทุนจิปาถะเช่นอาหาร,เล้าจ์ หรือการสะสมไมล์ ลดคนบริหารจัดการ
  • simple systems of yield management (pricing) การตั้งราคาที่ยืดหยุ่นได้ ราคาถูกเมื่อซื้อล่วงหน้านานๆทำให้ความเสี่ยงลดลง
  • secondary airports to cut charges and turnaround times ใช้สนามบินรอง ที่ราคาถูก ลดค่าชาร์จต่างๆ