เสื้อเหลือง เสื้อแดง – น้ำจิ้มของหนทางแห่งประชาธิปไตย

จากที่ผมได้อ่านตอนจบของบทความหนึ่งของคุณ mk ตอนจบที่คุณ mk ถูกลุงฝรั่งแก่ๆ ที่รู้จักกันครั้งแรก สอนประชาธิปไตยจบภายในหนึ่งประโยค ก็เลยไปลองค้น wikipedia ดูครับเรื่องเกี่ยวกับ ประชาธิปไตย

ประชาธิปไตยนั้นมีมาตั้งแต่ยุคกรีกก่อนคริสตกาลแล้ว เริ่มโดยนักปราชญ์ในยุคที่มนุษย์เริ่มมีเหตุและผลที่นอกเหนือจากการดำรงค์ชีวิตเพื่อกษัตริย์หรือพระเจ้า เหล่าผู้นำนี้มองตนเองว่าเป็นอภิชนผู้ดำรงไว้ซึ่งปัญญาและความกล้าหาญ ซึ่งจะนำโลกไปสู่ความก้าวหน้า และขบวนการนี้เป็นต้นเค้าความคิดซึ่งนำไปสู่การปฏิวัติอเมริกาและฝรั่งเศส รวมทั้งการเติบโตขึ้นของทุนนิยมและการถือกำเนิดของสังคมนิยมด้วย (ยุคภูมิปัญญาในแง่นี้ เทียบเท่ากับยุคไฮบาโรกในทางดนดรี และยุคนีโอคลาสสิกในทางศิลปะ)

อย่างไรก็ตามแม้คำว่า ประชาธิปไตยเองก็ยังมีหลายความหมายประกอบกันอยู่ จากข้อความใน wikipedia ?ประชาธิปไตย? มาจากภาษากรีกโบราณว่า ?Democratia? เป็นคำผสมระหว่างคำว่า ?Demo? หมายถึง ประชาชนหรือสาธารณชนทั่วไป นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ กล่าวถึงคำว่า demo หรือ demos ว่ามี 2-3 ความหมาย ความหมายแรกหมายถึง ประชาชนหรือสาธารณะชนดังกล่าวไปแล้ว อีกความหมายหนึ่งคือ ชายฉกรรจ์ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ไม่ได้เป็นทาส มีอิสระและได้แสดงตนว่าสามารถทำหน้าที่ปกป้องนครรัฐของตนเองได้ส่วนอีกความหมายหนึ่งคือสภาประชาชน หรือ ?ekklesia? ซึ่งเป็นที่รวมของรายชื่อประชาชนทั้งหลาย อีกคำหนึ่งที่ประกอบคือ ?cratia? ที่มีความหมายถึง ระบอบการปกครอง (ผมเห็นว่าประชาธิปไตยเองก็มีการแบ่งแยกอยู่บ้างในความหมาย เช่นชายหรือคนที่ทำงานได้น่าจะมีสิทธิมีเสียงมากกว่าหรือไม่)

ประชาธิปไตยได้เติบโตขึ้นเรื่อยๆในแต่ละภูมิภาคเรียกได้ว่าเป็นร้อยเป็นพันปีก่อนก่อนและปรับตัวเพื่อให้เข้ากับสภาวะสังคมของแต่ละภูมิภาคมาเรื่อยๆ ผ่านร้อนผ่านหนาวรวมทั้งสงครามหรือการโค่นล้มระบอบต่างๆในหลายประเทศ ได้รับการปรับตัวจากการพัฒนาระบบ ทุนนิยม และถูกเบียดจากสังคมนิยมด้วยเช่นกัน จนในหลายประเทศเริ่มจะนิ่งในปัจจุบันเป็นเพราะว่าสภาพสังคมเริ่มนิ่งนั่นเอง ใน wikipedia นั้นรวบรวมระบอบการปกครองแบบต่างๆของแต่ละประเทศทั่วโลกมาไว้ครับ น่าสนใจที่ประเทศของเรานั้นจริงๆไม่ใช่ “ประชาธิปไตย” แต่กลับใช้ชื่อว่า “ราชาธิปไตยใต้รัฐธรรมนูญ” ต่างหาก ในกลุ่มนี้มี 18 ประเทศ ลองดูที่ wiki และเมื่อรวมเครือจักรภพอังกฤษก็จะมีเพิ่มอีก 52 ประเทศ ส่วนประเทศที่เรียกว่าเป็นประชาธิปไตยได้เต็มรูปแบบจะมีเพียง 33 ประเทศเท่านั้นครับ(รวมสหรัฐอเมริกา) จะเห็นว่าหลายประเทศที่กำลังพัฒนากำลังมุ่งสู่ประชาธิปไตยหรือราชาธิปไตยจะมีเหตการณ์รุนแรงกันอยู่ และประเทศที่ระบบบริษัทเริ่มมีอำนาจเหนือการเมืองจะมีการเมืองที่ค่อนข้างนิ่งครับ

ออง ซาน ซู จี กับประชาธิปไตยเบื้องต้นในพม่า
ออง ซาน ซู จี กับประชาธิปไตยเบื้องต้นในพม่า

สำหรับประเทศที่การเมืองนิ่งแล้วอย่างสหรัฐอเมริกาได้ธำรงค์การปกครองระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยเสรี มาตั้งแต่การประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริกาในวันที่ 17 กันยายน ค.ศ. 1787 (พ.ศ. 2330) ตั้งแต่นั้นมา สถานะการเมืองของสหรัฐอเมริกายังคงมั่นคงมาจวบจนถึงทุกวันนี้ ส่วนอังกฤษใช้ระบอบการปกครองแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยพระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจบริหารผ่านคณะรัฐมนตรีซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าคณะรัฐบาล คณะรัฐมนตรีนั้นเลือกจากรัฐสภาและมีหน้าที่รับผิดชอบต่อรัฐสภาเช่นเดียวกัน รัฐสภาแห่งสหราชอาณาจักรเป็นระบบสภาคู่ แบ่งเป็น 2 สภา คือ เฮาส์ออฟลอร์ดส เป็นสภาสูงที่มาจากการแต่งตั้ง และเฮาส์ออฟคอมมอนส์ เป็นสภาล่างที่มาจากการเลือกตั้ง โดยหลักการแล้วผู้นำของรัฐสภาคือพระมหากษัตริย์ สหราชอาณาจักรเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่ไม่มีรัฐธรรมนูญเป็นลายลักษณ์อักษร แต่ขนบธรรมเนียมประเพณี และกฎหมายรัฐธรรมนูญแยกกันไป

องค์ ดาไล ลามะ ผู้เรียกร้องให้จีนก้าวสู่ประชาธิปไตย แต่เขาเองไม่สามารถกลับประเทศได้
องค์ ดาไล ลามะ ผู้เรียกร้องให้จีนก้าวสู่ประชาธิปไตย แต่เขาเองไม่สามารถกลับประเทศได้

แต่เมืองไทยเราเพิ่งมีจุดเริ่มต้นของประชาธิปไตยเมื่อปี 2475 ถึงปัจจุบันก็ยังเพียงแต่ 77 ปีเท่านั้นเองครับ (แถมผู้ผลักดันประชาธิปไตยตอนแรกๆก็ไม่ใช่นักปราชญ์แบบกรีกอีกด้วยแต่เป็นกลุ่มทหารนั่นเอง) เราเพิ่งมีนายกรัฐมนตรี (ณ วันที่เขียน) เป็นคนที่ 27 และถ้าคุณดูประวัติศาสตร์จะเห็นว่า นายกถึงหนึ่งในสามของไทยนั้นไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง เราเพิ่งมีการศึกษาภาคบังคับ (แต่หลักสูตรด้านประวัติศาสตร์ยังบิดเบือนอยู่) ก็ยังไม่นาน แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของประเทศไทยฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540 – พ.ศ. 2544) นั้นก็เพิ่งถือได้ว่าเป็นการเน้นการศึกษาให้มากขึ้นเท่านั้นเอง แต่แล้วสังคมของการศึกษาได้ชักนำให้นักศึกษาหลงเข้าไปในระบบใหม่ที่เป็นหนทางการแสวงหาแบบปัจเจกมากขึ้น (ไม่รู้มีการวางแผนไว้หรือเปล่า) ศิลปะการ marketing แบบใหม่ได้พานักศึกษาออกไปจากกลุ่มก้อนและ ชิล กับการแสวงหาผลประโยชน์ร่วมหรือแม้แต่อุดมการณ์ของคนรุ่นใหม่ก็ถูกทำลายเพราะตัวเองมีหนทางเลือกแห่งความสุขมากมายและสถานะทางสังคมมากมาย (แทนที่จะเลือกเท่ห์กับอุดมการทางการเมืองหรือประชาธิปไตยก็อาจจะเลือกเท่ห์ด้วยอาวุธยุทโธปกรณ์ในเกมส์ออนไลน์ หรือ แต่งรถ หรือ โบว์ลิ่ง หรือ ถ่ายรูป หรือ ดนตรี หรือ ฯลฯ) ส่วนผู้ที่ไม่เคยได้สัมผัสประชาธิปไตยมาก่อนอย่างคนต่างจังหวัดกลับรู้สึกได้สัมผัสมากขึ้นด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น มือถือเครื่องละ 999 บาท(มี GPRS ด้วย) หรือโทรทัศน์เครื่องละ 2000 บาท หรือร้านเน็ทใกล้บ้านค่าเล่นชั่วโมงละไม่ถึงสิบบาท(คนขายก๋วยเตี๋ยวข้างบ้านผม แช็ทกับฝรั่งทุกวันเพราะว่าอยากมีสามีเป็นฝรั่ง – ผู้หญิงต่างจังหวัดจำนวนมากเล่นเน็ทเก่งกว่าผู้สูงอายุในเมืองหลวงเพราะแรงจูงใจหลายอย่าง) และที่สำคัญมากอีกอย่างก็คือคุณทักษิณนั่นเองที่เป็นนายกรัฐมนตรีที่มีที่มาแปลกกว่าคนอื่นๆ ไม่ง้อคนกลาง และให้การสนับสนุนถึงมือของรากหญ้าอย่างเต็มที่โดยทอดทิ้งคนชั้นกลางและผู้นำท้องถิ่นไว้ (แน่นอนว่าเค้านึกไม่ถึงว่าผู้นำท้องถิ่นจะมีผลต่อความมั่นคงของภาคใต้มากแค่ไหน) ประชาธิปใตยจึงต้องปรับตัวตามสภาพสังคมที่เปลี่ยนไปนั่นเอง เพราะเรามีกลุ่มคนต่างจังหวัดที่มีสิทธิมีเสียงที่แท้จริงเพิ่มขึ้นมาแล้ว (สมัยก่อนคนต่างจังหวัดจะเลือกตามผู้มีอิทธิพลท้องถิ่นหรือหัวคะแนนเพราะไม่ได้มีความรู้ทางการเมืองมากนัก)

ผมได้เสวนากับคุณเม่น ประชาธิปไตยจะต้องปรับตัวกันอีกหลายครั้ง ในอนาคตผมมองว่าเมื่อประชาชนเข้าถึงอินเตอร์เน็ทได้ใกล้เคียง 100% เมื่อไหร่ จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงอีกครั้ง ลองนึกถึงว่าประชาชนสามารถออกสิทธิได้ทางอินเตอร์เน็ท ร้านเน็ทใกล้บ้านกลายเป็นศูนย์เลือกตั้ง ข้อมูลทุกอย่างและการออกสิทธิออกเสียงแทนถูกเก็บไว้ทั้งหมด เราอาจจะใช้ระบบ wikipedia ในการร่างและกำหนดนโยบายของประเทศโดยไม่ต้องพึ่งสภา อิทธิพลของสื่อน้อยชิ้นจะถูกเจือจางลง ฯลฯ

การทะเลาะกันระหว่างแต่ละฝ่ายในปัจจุบันคือส่วนประกอบของหนทางสู่ประชาธิปไตยของประเทศไทย ส่วนการคอรัปชั่น การซื้อเสียง การหมิ่น ฯลฯ เป็นเพียงน้ำจิ้มที่ช่วยให้ท่านได้รับการยอมรับจากสังคมรอบข้างถ้าคล้อยตามและเสวนาให้ออกรสชาตรุนแรงยิ่งขึ้น ยิ่งขึ้น ยิ่งขึ้น… จนล้างสมองของตัวท่านในที่สุด อย่าไปกลัวเลยครับ อเมริกาอังกฤษมีประชาธิปไตยมาหลายร้อยปีแล้ว ผ่านสงครามกลางเมืองมานักต่อนักแล้ว เราก็กำลังจะเดินไปสู่จุดนั้นเหมือนกัน เพียงแต่นิสัยของคนไทยนั้นไม่มี Best Practice มาประกบก็เลยไม่รู้จะออกมาในรูปแบบใดเท่านั้นเอง (ประเทศเราดันเป็นเอกราชอยู่ประเทศเดียวในแถบนี้) ลองดูกันทีนะครับ เอาให้เคลียร์กันให้เรียบร้อย
………………………………………….