JoomlaDay : Open Source ไม่ได้โตมาเพราะโชคช่วย

เมื่อวันเสาร์อาทิตย์ที่ผ่านมามีงาน Open Source ที่สำคัญของไทยคืองาน JoomlaDay Bangkok 2009 ที่แม่งานทีมระดับเทพที่สำคัญคือ Marvelic Engineได้จัดเตรียมและแก้ไขปัญหาต่างๆจนงานประสบความสำเร็จลุล่วงด้วยดี ผมเองติดภารกิจหลายอย่างเลยไม่ได้ไปช่วย ต้องขอโทษทีมพี่บังไว้ด้วยนะครับ อย่างไรก็ตาม คุณเม่นไปช่วยเต็มที่ในหน้าที่สำคัญและค่อนข้างใช้พลังสมองมากซะด้วยคือ “คนแปล” ที่จะต้องแปลวิทยากรพูดจากอังกฤษเป็นไทยและไทยเป็นอังกฤษทั้งสองวันและเรียบเรียงเป็นภาษา IT ให้ชาวไทยและต่างประเทศเข้าใจ ซึ่งคนที่ร่วมแปลกับคุณเม่นก็คือ น้องเกียวปิ @sexdrum ลูกค้าเก่าของเรานี่เอง (ตอนนี้กลายเป็น Partner กันอีกครั้งหนึ่งแล้ว หลังจากได้รับแรงบันดาลใจบางอย่างจากคุณเม่นในการสัมมนากับทีมมาเลเซียในคืนวันเสาร์… )

ภาพ JoomlaDay จาก Flickr พี่บังนะครับ ลองคลิกที่รูปเข้าสู่ Flickr พี่บ้งได้

joomla-7

ภาพคุณเม่นไปร่วมงาน Joomla Day (คนตัวใหญ่นั่งหลังป้ายด้านซ้าย)
ภาพคุณเม่นไปร่วมงาน Joomla Day (คนตัวใหญ่นั่งหลังป้ายด้านซ้าย)
คุณเม่นและน้องเกียวปิกำลังเตรียมการ คนแปลเหมาเกลี้ยง
คุณเม่นและน้องเกียวปิกำลังเตรียมการแปลเหมาเกลี้ยง
บรรยากาศในงาน Joomladay ใหญ่ทีเดียว
บรรยากาศในงาน Joomladay ใหญ่ทีเดียว
เม่นหน้าป้ายงาน
เม่นหน้าป้ายงาน พร้อมด้วย @lungkao @supachai_chai
ลงทะเบียน
ลงทะเบียน

@imenn บอกว่าการแปลนี้ยากและยิ่งยากมากสำหรับการแปลไทยเป็นอังกฤษเพื่อสื่อให้คนต่างชาติเข้าใจ และอารมณ์ของการแปลก็จะสอดคล้องกับวิทยากรอย่างน่าประหลาด ถ้าคนพูดสนุก แปลแล้วก็สนุก ถ้าคนพูดเครียด เรื่องก็จะเครียดครับ สอดคล้องดังบล็อกของน้องเกียวปิที่บอกว่า

เอาเข้าจริงๆ งานแปลนี่ก้อเหนื่อยใช่ย่อยเหมือนกันนะครับ เพราะว่าต้องแปลอยู่หลายหัวข้อทีเดียว แถมบางช่วงก้อยากเสียด้วย โชคดีส่วนใหญ่แปลอังกฤษเป็นไทย ยังไม่ยากเท่าไหร่ครับ แค่ว่า ภาษาอาจจะไม่สละสลวยนัก ไม่ไหลลื่นเท่าที่ควร แต่แปลไทยเป็นัองกฤษนี่สิ? นากสุดๆ ไปเลยครับ โดยเฉพาะหัวข้อ Joomla Template โอ้ว? ศัพท์ที่มีอยู่ในหัวนี่ กระเจิดกระเจิงไปหมด แต่ผมรับรู้ความรู้สึกที่ดี และเป็นกำลังใจที่ดีมากคือ เห็นฝรั่งที่นั่งแถวหน้า กำลังตั้งใจจด สิ่งที่ผมกำลังแปลอยู่ครับ เอาวะ! ยังมีคนฟังอยู่ เลยลุยต่อไปได้ครับ

นอกจากนี้ยังได้เรียนรู้อีกว่า บรรยากาศการแปลนั้น ขึ้นกับวิทยากร เป็นอย่างมาก ถ้าผู้บรรยาย มีบุคลิกเช่นไร การแปลออกมาก้อจะได้อารมณ์เช่นนั้นครับ บางท่านมาแบบว่า เป็นทางการและขรึมมาก ผมหละแปลไม่ถูก พูดตะกุกตะกักไปหมด แต่ถ้าผู้บรรยาย มีท่าทางสบายๆ หน่อยๆ คุยเล่นกับคนดูเยอะ ก้อจะทำให้บรรยากาศการแปล สนุกสนานขึ้นมาได้ครับ

บรรยากาศการแปลในห้อง
บรรยากาศการแปลในห้อง

ทีนี้ผมในฐานะคนที่อยู่ด้านนอกไม่ได้ไปร่วม จากการฟังเรื่องต่างๆจากคุณเม่นและคุณจ๋งได้ความว่า Range ของความรู้ของคนที่มาร่วมงานกว้างมาก ทำให้งาน JoomlaDay ตอบสนองทุกๆคนได้ค่อนข้างยาก บางคนบอกว่าอยากลงลึกมากๆและวิเคราะห์ FrameWork แต่หลายคนกลับอยากให้มีการสอน Joomla แบบ step by step ( มีคำถามระดับที่ว่า Joomla ลงยังไง? ) พอไม่สามารถตอบสนองได้ทุกคนก็มีบางคนต่อว่าอีก อย่างไรก็ตามนี่น่าจะเป็นส่วนน้อยของปัญหาที่เกิดครับ โดยรวมงานประสบความสำเร็จดี ต้องให้เครดิตทีมงานเต็มๆอย่างเช่น @joomlacorner @iamnadia และ @lungkao

ในด้านการดำเนินงาน ผมถือว่าเจ้าภาพงาน JoomlaDay นั้นเก็บค่าเข้างานน้อยมากเพียง 490 บาทต่อสองวัน พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกและของรองท้องเรียบร้อย แต่ก็ยังมีบางคนบ่นว่าแพงและบางคนดันมีความคิดว่างานนี้น่าจะมีผู้สนับสนุนและทีมงานก็ได้ประโยชน์ทำไมต้องเก็บเงิน ? ความจริงแล้วการสนับสนุนนั้นมีตามสมควรสไตล์การร่วมแรงกันแบบคนไทยเท่านั้นเองครับ สำหรับบูทที่เห็นมาตั้งนั้นก็มียอดบริจาคน่าจะประมาณบูทละ 5000 บาทซึ่งถือเป็นระดับที่ไม่ได้แพงมาก

ในเรื่องนี้คุณจ๋ง @warong ให้ความเห็นว่าเราต้องอย่าเอา JoomlaDay ไปเทียบกับงานอีเว้นท์ของบริษัท microsoft, Sun, Apple หรืองานบริษัทที่เป็นลักษณะธุรกิจ Commercial ซึ่งจัดได้หรูหราหรือราคาถูกสำหรับคนเข้า เพราะที่เค้าลงทุนทำงานดีมันมีผลประโยชน์กับโปรดักซ์ต่างๆของเค้านั่นเองและยังได้ประโยชน์ด้านการกระจายข่าวสารด้วย ส่วนงาน Open Source นั้นจัดแบบพี่ๆน้องๆกันมากกว่า เพราะต่างคนต่างช่วยกันและ contribute นอกจากนี้กลุ่มที่ได้รับความรู้จากงานก็จะไปเผยแพร่ต่อด้วย

ในเรื่องการพัฒนา สำหรับตัว Open Source เองนั้นจะเกิดได้นอกจากต้องมีผู้ผลักดันที่และมีวิสัยทัศน์ดีแล้วต้องมีเงื่อนไขการเกิดเช่นกัน ไม่ใช่มันเกิดมาเพราะโชคช่วยหรือไม่ต้องลงทุนอะไรเลย เงื่อนไขต่างๆที่คนไทยเราไม่มีเช่นคนอเมริกันมีเช่นการใช้คอมพิวเตอร์ได้คล่องและมีทักษะการหาคำตอบในเรื่องพื้นฐานก่อนในGoogle หรือการหาแหล่งข้อมูลได้ครบด้วยตัวเอง แล้วทีนี้การรวมกันจัดงานก็เพื่อ Synergies ต่างคนก็มีความสามารถและสิ่งที่พร้อมจะร่วมมือกันเพื่อให้เกิดการต่อยอดที่ดีกว่าเดิม

จุดสำคัญคือต้องปรับ Mind Set ของคนไทยใหม่ทั้งหมดว่า Open Source นั้นไม่ใช่ของฟรี แต่คือรูปแบบการร่วมมือทางธุรกิจในโลกสมัยใหม่ที่ไม่ผูกขาดนั่นเอง

ขยายความข้างต้น Opensource ไม่ใช่การกุศลแต่คือการช่วยเหลือตัวเอง และร่วมกัน Contribute ซึ่งเป็นรูปแบบทางธุรกิจรูปแบบหนึ่งที่เกิดขึ้นมาเมื่อเงื่อนไขทางสังคมเปลี่ยนไป ปัญหาคือในไทยนับว่าเงื่อนไขนั้นยังถือว่าคนละเงื่อนไขกับเมืองนอกอยู่ทำให้ความรับรู้ของคนไทยต่อ Open Source ต่างกันอยู่บ้าง หลายคนมาเพื่อ”รับ”อย่างเดียว หลายคนรู้สึกว่ามันน่าจะเป็นของฟรี หลายคนมาแบบไม่รู้อะไรเลยทั้งที่พื้นฐานของผู้ร่วมงานในต่างประเทศทุกๆคนควรเข้าถึงความรู้และพึ่งตัวเองได้แล้ว สำหรับตัวอย่างการสร้างวัฒนธรรมนี้เช่น BarCamp ทำให้ทุกคนพยายาม Contribute เหมือนกันหมดด้วยการให้ผู้เข้าร่วมต้องมีการนำเสนอทุกคนนั่นเองครับ

น้องเกียวปิบอกว่าปีก่อนทางทีมพี่บังก็ช่วยงานเต็มที่จนเหนื่อยเช่นกัน จากรูปจะสังเกตว่ามีคำว่า maybe อยู่ครับเพราะถ้าทีมผู้จัดหมดแรงขึ้นมาก็คงยากที่จะมีใครจัดงานต่อได้ดีเท่านี้อีกนะครับ 😉

joomladay-7