บริษัทเล็กดีอย่างไร ตอนที่ 2: Social Media มีพลังกับธุรกิจขนาดเล็ก

ข้อดีอีกอย่างของบริษัทขนาดเล็กคือเจ้าของ/ผู้บริหารสามารถที่จะโปรโมทมันได้อย่างไม่ขัดเขิน และความดังของบริษัทนั้นสามารถไปด้วยกันกับความดังของเจ้าของบริษัทได้ง่าย แต่ถ้าเป็นบริษัทใหญ่ๆ ความดังๆของคนๆหนึ่งในบริษัทอาจทำให้เกิด Conflict of Interest ได้ครับ และเมื่อหนึ่งในผู้บริหารเกิดมีชื่อเสียงหรืออำนาจเหนือบริษัท ตัวบริษัทเองก็อาจเกิดปัญหาต้องต่อรองกับผู้บริหารคนนั้นๆได้ ( ความดังจากตัวเจ้าของเจ้าของบริษัทนั้นในบางกรณีที่ดังมากเกินอาจมี conflict ได้บ้างดังเช่นโพสเรื่องเว็บไซต์นายกฯครับ )

ยิ่งไปกว่านั้นในยุคของ Social Media บริษัทขนาดเล็กไม่จำเป็นต้องลงทุนลงเงินในการโฆษณาบนสื่อหลักอย่างทีวีวิทยุนิตยสารมากมาย ผู้บริหารสามารถเขียนบล็อกเกี่ยวกับธุรกิจอย่างสม่ำเสมอและใช้ twitter ในการป่าวประกาศได้ง่ายกว่าผู้บริหารในบริษัทขนาดใหญ่ครับ และผู้บริหารมีแรงจูงใจจากการที่ตนเองได้เป็นทีรู้จักในสังคมไปพร้อมๆกับบริษัทของตนเองด้วย พอ Value ของผู้บริหารนั้นเพิ่มขึ้น Value ของบริษัทก็จะเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน ผิดกับบริษัทขนาดใหญ่ที่แรงจูงใจไม่ชัดเจนเพราะผลที่ได้จากผู้บริหารคนหนึ่งเกิดมีชื่อเสียงขึ้นมาก็ไม่แน่ว่าบริษัทจะมีชื่อเสียงหรือผลประกอบการดีขึ้นเท่าไหร่ครับ

ผลดีของการมี Blog ต่อธุรกิจขนาดเล็ก : โดย small fuel marketing
ผลดีของการมี Blog ต่อธุรกิจขนาดเล็ก : โดย small fuel marketing

การเขียนบล็อกนั้นทุกๆคนก็รู้ว่า Google ชอบมันมาก ( จากแนวทาง Content is the King ของ Google ) ผมเองเขียนบล็อกด้วยใจรักมาระยะหนึ่งแล้วพบว่าบล็อกนั้นสามารถทำให้เราเป็นที่รู้จักได้มากขึ้น และสามารถใช้อ้างอิงกับลูกค้าได้จริงๆเนื่องจาก Blog ได้ถูก Publish สู่สาธารณชนนั่นเองครับ (ลองอ่านเพิ่มเติมได้ที่ ทำไมต้องเขียนบล็อก ) ส่วน twitter นั้นเป็นเหมือนโทรโข่งของเจ้าของบล็อกนั่นเอง นอกจากนี้ยังมี Social Media Tools จำนวนมากที่จะนำ User พุ่งมายังบล็อกของเราได้อีกหากผู้บริหารมีเวลาในการจัดการด้าน Social Media ได้ดีเพียงพอ

ผมเคยเปรียบเทียบว่า Blog เป็นเหมือนบ้านและฐานที่มั่นของเรา ,Facebook เป็นเหมือนสิ่งที่ช่วย Maintenance ความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อน และ twitter เปรียบเสมือนโทรโข่งที่สร้าง Opportunity ให้กับตัวเรา ท่านอื่นอาจมีความเห็นมาแชร์กันได้ครับ

ลองนึกถึงเวลาผมคิดราคากับลูกค้า ถ้าพูดราคาออกมาลอยๆลูกค้าก็จะต่อรองหรือไม่ได้เชื่อถือมาก แต่ถ้าผมบอกให้เค้าไปอ่านวิธีการคิดราคาใน quotation ของเราที่เปิดเผยบนเว็บไซต์ไปแล้ว ส่วนใหญ่ลูกค้าจะเห็นว่าโอเคเนื่องจากเราได้ประกาศออกไปเป็น Standard นั้นเอง

ข้อดีอีกด้านที่ชัดเจนคือบริษัทขนาดเล็กนั้น ตัวเจ้าของบริษัทสามารถที่จะพูดเชิงโฆษณาถึงบริษัทได้อย่างเป็นธรรมชาติมากกว่าครับ ในขณะที่บริษัทขนาดใหญ่นั้นมีผู้บริหารหลายคน แต่ละคนมีบทบาทต่างกัน การจะพูดอะไรก็ต้องคำนึงบทบาทของตัวเองมากกว่าและคำนึงถึงผลกระทบสู่คนอื่นด้วย บริษัทขนาดใหญ่มีความลับในองค์กรที่สำคัญมากมายทำให้การเขียนเรื่องราวของธุรกิจลงในบล็อกนั้นยากเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ยิ่งเป็นธุรกิจบริการขนาดใหญ่ การเปิดเผยความลับหรือยุทธวิธีต่างๆมีผลทำให้เกิดความเสี่ยงต่อคู่แข่งจะลอกเลียนทรัพย์สินทางปัญญาและอาจจะสูญเสียลูกค้ารายใหญ่ซึ่งมีอยู่น้อยรายไป นอกจากนี้ยังมีปัญหาทางด้านกฎหมายที่มาจากโมเดลธุรกิจที่ซับซ้อน ในขณะที่บริษัทธุรกิจบริการขนาดเล็กนั้นมีโอกาสที่จะเกิดลูกค้ารายเล็กอยู่เป็นจำนวนมาก ( Prospect to Customer ) การประกาศความรู้ของเจ้าของออกไปแทนที่บริษัทจะสูญเสีย Asset ทรัพย์สินทางปัญญากลับทำให้บริษัทถูกมองว่าเป็น Specialist ด้านต่างๆแทน และเมื่อนั้นลูกค้าก็จะมาหาโดยที่เราไม่จำเป็นต้องกังวลเรื่องคู่แข่งครับ ใครกันจะไปหาคนที่ตัวเองไม่รู้จักและไม่เคยพูดอะไรที่เกิดประโยชน์แก่คนอื่นเลยล่ะ ?

สำหรับยุคของ Social Media ผู้คนไม่ค่อยตามหา Content ของเว็บไซต์บริษัทที่เป็นคำอธิบายหรูหราเชิง Marketing กันอีกแล้วครับ เค้าอยากได้ตัวตนของมนุษย์จริงๆมากกว่าดังนั้นหากผู้บริหารเขียนบล็อกของตัวเอง บล็อกของผู้บริหารต่างหากที่ดึงดูดคนท่องเว็บให้เข้ามา และเมื่อเค้าประทับใจจึงอาจจะลิงก์ไปยังเว็บไซต์บริษัทเป็นครั้งคราวไปครับ

( ต่อจาก บริษัทเล็กดีอย่างไร ตอนที่ 1 : ประสิทธิภาพ )