ทำเว็บรัฐบาล ตอนที่ 6 : แดงทั้งแผ่นดินแล้วผมจะได้เงินมั้ยเนี่ย

กระบวนการทำเว็บด้วย WordPress ของทีมงานและคณะทำงานท่านรองนายกนั้น เปรียบเสมือน นวตกรรมในการทำเว็บราชการของประเทศไทยเลยทีเดียว เพราะทุกคนสามารถทำงานที่ไหนก็ได้ อยู่คนละที่ก็ได้ ในขณะที่คุณเม่นและคุณจ๋งกำลัง config ระบบนั้น คณะทำงานรวมทั้งผมเองก็รุมแก้ WordPress กันใหญ่( ปัญหาที่พบบ้างคือ WordPress ดูจะช้่าลงเมื่อมีคนเข้ามา edit หลายคน และเรื่อง revision ในการแก้ไขหน้าเดียวกันต้องระวังให้ดี ) ไม่ว่ารัฐบาลจะโดนม็อบปิดทำเนียบหรือเข้าไปทำงานไม่ได้ พวกเราก็ยังทำงานกันได้อยู่ดี นอกจากนี้คุณเม่นยังติดตั้งระบบ taskfreak ของโปรเจ็คเว็บนี้ไว้ในกรณีติดตามงานอีกด้วย

บรรยากาศการทำงานของทีมงาน...ขณะพักผ่อน...ที่ iSchool
บรรยากาศการทำงานของทีมงาน...ขณะพักผ่อน...ที่ iSchool

และในขณะประชุม เราสามารถแก้ไขข้อมูลจากมติที่ประชุมได้สดๆเพื่อให้ที่ประชุม Approve กันตรงนั้นซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมากๆและเป็นอุปสรรคการทำงานเว็บแบบดั้งเดิมครับ ปกตินึกสภาพเจ้าหน้าที่รัฐคอมเม้นท์เว็บในที่ประชุม (ซึ่ง snap หน้าจอมาเพราะห้องประชุมมักต่ออินเตอร์เน็ทไม่ได้) ก็จะมีการคอมเม้นท์ในลักษณะ Non sense ออกมามากมายเพราะเจ้าหน้าที่เหล่านั้นคงนึกว่าเรากำลังคอมเม้นท์สื่อสิ่่งพิมพ์กันอยู่เช่นการคอมเม้นท์เกี่ยวกับฟ้อนท์หรือการเว้นวรรคจัดย่อหน้า บางคนก็อยากให้มีคำว่า New กระพริบวาบๆเมื่อมีข่าวสารใหม่ขึ้นมา บางคนอยากใส่นาฬิกาเข้าไป หรืออยากให้ banner หมุนอยู่ตลอดเวลา ฯลฯ แทนที่จะดูเรื่อง site map, navigation หรือการนำเสนอ … โชคยังดีที่คณะทำงานนี้ค่อนข้างทันสมัยรวมทั้งท่านรองฯก็ใช้ IPhone อยู่ด้วยก็เลยลดคอมเม้นท์ประเภทนั้นลงมาบ้าง (แต่ก็ยังคงมีอยู่บ้างแหละครับ) ถ้าเป็นสมัยก่อน AE ก็คงต้องรับคอมเม้นท์กลับมาให้ พนักงาน (หรือ freelance) ทำเว็บทำงานอยู่คนเดียวและข้อมูลต่างๆก็กระจุกอยู่ที่เค้าด้วย จากนั้นพอเสร็จแล้วก็จะอัพเดทและเข้าประชุมอีกครั้ง ซึ่งที่ประชุมก็ลืมคอมเม้นท์คราวก่อนไปเรียบร้อยและตั้งหน้าตั้งตาโชว์พาวว์ด้วยการคอมเม้นท์กันต่อไปเรื่อยๆไม่จบไม่สิ้น จบด้วยการขาดทุนอย่างย่อยยับของบริษัททำเว็บมือใหม่ แต่สมัยนี้ไม่เป็นอย่างงั้นแล้วครับ แก้กันสดๆในที่ประชุมตรงนั้น ถามความเห็นกันตรงนั้น Approve กันเลย (ยกเว้นท่านจะเล่นเกมส์”ผมไม่ค่อยมีเวลาให้ทีมงานไปจัดการกันต่อ”) 😛

ภาพบรรยากาศในการประชุม เมื่อ Mac 5 ตัวบุกรัฐสภา

patchara

pat

5mac

เรียกได้ว่า เทคโนโลยีในการทำงานร่วมกันหลายคนได้พัฒนาไปอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา แต่เช่นเดียวกัน มนุษย์ก็มีเทคโนโลยีที่เข้ามาคุกคามและไม่อยากมันให้พัฒนาด้วยเช่นกัน นั่นคือเทคโนโลยีด้านการชำระเงินให้แก่ Supplier นั่นเอง พนักงานของรัฐก็จะต้องรอเข้าคิวเซ็นยาวเหยียด อย่างสัญญาของธ.ทหารไทยที่ผมก็ทำระบบอยู่นั้นต้องให้ผู้ใหญ่สี่คนเซ็น แต่ละคนใช้เวลาหนึ่งเดือน และของโปรเจ็คช่วยชาติ นอกจากขั้นตอนซับซ้อนในการตรวจรับแล้ว เรื่องง่ายๆอย่างเช่น เข้าไปดำเนินการเรื่องเงินในทำเนียบไม่ได้เพราะมีม็อบปิดอยู่ก็ถ่วงเวลาเช่นกันครับ จริงๆวิธีอื่นๆก็มีตั้งเยอะแต่เมื่อไหร่ก็ตามที่เป็นเรื่องจากจ่ายเงินมักจะปากว่าตาขยิบเสมอ ในส่วนของเอกชนเองอย่าง TRUE ก็มีลูกเล่นตรงฝ่ายบัญชีช่วงใกล้ๆ Deal จ่ายเงิน (ซึ่งมีแค่สองวันในหนึ่งเดือน) จะตามตัวยากเป็นพิเศษ ในหลายกรณีต้องโทรหาผู้ใหญ่ให้ช่วยตามตัวลงมาแทนไม่งั้นโปรเจ็คไม่เดิน และมีอยู่ครั้งหนึ่งที่ผู้ใหญ่ให้คำตอบผมว่า “เค้าลาพักร้อนไปเที่ยวเกาะน่ะครับ ตามตัวไม่ได้เลย” ( ผมว่า KPI ของพนักงานจ่ายเงินนี่คือจำนวนวันลาพักร้อนในช่วงครบดีลแน่ ๆ ถึงแม้ลูกเล่นนี้อาจจะเกิดโดยธรรมชาติก็ตาม)อย่างไรก็ตามผมจะโพสเรื่อง เทคนิคการตามเงินของ Freelance ให้ฟังต่อไปนะครับ เรื่องนี้กลั่นจากประสบการณ์ล้วนๆของผมเอง

ตอนนี้เว็บเสร็จแล้ว อยากให้ท่านผู้ติดตามเว็บมาร่วมลุ่นกันว่าผมจะได้เงินงวดแรกเมื่อไหร จากเดิมที่กำหนดว่าจะได้เมื่อต้นเดือน เม.ย ที่ผ่านมา

ก. อีกสองอาทิตย์ (ประมาณ 20 เมย) ซึ่งผมให้ Deadline คณะทำงานไว้
ข. อีกสี่อาทิตย์
ค. อีกสองเดือน
ง. อีกสี่เดือน

ปล/ผมเคยสงสัยกับคุณเม่นว่า ทำไมบริษัท messenger หรือบริษัทรับส่งเอกสารถึงอยู่ได้ โมเดลธุรกิจของเค้ามันดูแล้วค่อนข้างเปราะบางเทียบกับถ้าเรามีมอเตอร์ไซค์รับจ้างที่ไว้ใจได้ซักคนหรือพนักงานเราเองที่เงินเดือนห้าพันบาทและมีมอเตอร์ไซท์ด้วย ก็น่าจะทดแทนได้ทันที จริงๆแล้วธุรกิจนี้ทำให้เกิดข้ออ้างในการส่งงานหรือการรับเช็คนั่นเองครับ เช่น “หมดเวลารับเช็คแล้วค่ะ ไม่เห็นมีเมสเซ็นเจอร์มารับเลยนะคะ รบกวนรออีกสองอาทิตย์” หรือ ” โทษทีค่ะ เมสเซ็นเจอร์ไปแบ๊งค์ไม่ทันบ่ายสามครึ่ง ยังไงรอหลังสงกรานต์นะคะ” หรือ “เอ เห็นเมสเซ็นเจอร์ออกไปตั้งแต่เมื่อเช้าแล้วนะคะ เช็คยังไม่ถึงอีกหรอคะ” เป็นต้น

ภาคผนวก จดหมายถึงทีมงาน

(ถ้าไม่ได้เงินตามกำหนดก็ขอกู้ซะเลย พิสูจน์ความมั่นใจเรื่องการเบิกจ่าย)

ขออนุญาตกำหนดเวลาการทำงาน และ เรื่องค่าใช้จ่ายครับ

เรียนทีมงาน

เนื่องจากการทำงานของทีมงานควรจะมีการกำหนดเวลาทำงานเพื่อการวางแผนด้าน man-day
แต่ที่ผ่านมาทางทีมงานเร่งให้เป็นกรณีพิเศษและขณะนี้เว็บสามารถขึ้นได้แล้วนั้น
หลังวันที่ 8 เมษายน ทางทีมงานขอกำหนดเวลาทำงานร่วมกัน หนึงวันต่อสัปดาห์ซึ่งทาง ไทเกอร์เสนอวัน
อังคารหรือพฤหัสบดีครับ อย่างไรรบกวนกำหนดด้วยนะครับ

ในเรื่องค่าใช้จ่าย ทางไทเกอร์ขอให้ทางทีมงานช่วยผลักดันให้ด้วยครับ เนื่องจากเลยเวลามาพอสมควร
(แผนเดิมทางคณะทำงานแจ้งว่าได้ไม่เกิน 7 วันจากต้นเดือนเมย) หลังสงกรานต์
ไม่แน่ใจว่าทางทีมงานพอจะสำรองใช้จ่ายหรือให้ทีมไทเกอร์ทำสัญญากู้ยืมได้บางส่วนหรือไม่
ถ้าไม่มี ทางไทเกอร์ อาจจะทำไม่สามารถดำเนินโปรเจ็คนี้ต่อไปได้ครับ

ขอบคุณครับ

พัชร