วิธีทำ SEO เบื้องต้น [2/2]

seo-blocks

(ต่อจาก วิธีทำ SEO เบื้องต้น 1/2)

search engine optimization starter guide ตอนที่ 2 Google ได้ออก เอกสาร เกี่ยวกับการทำ SEO มาสำหรับผู้เริ่มต้นนะครับ ผมแปลมาอีกที ซึ่งใครสนใจระดับลึกกว่านี้สามารถติดต่อรับการอบรมได้ที่ iSchool ครับ และสำหรับผู้ที่สนใจทำเว็บที่พิถีพิถันในเรื่องการทำ SEO แบบเป็นธรรมชาติ (สายขาว ยั่งยืน) สามารถติดต่อได้ที่ TiGERiDEA Google?s Search Engine Optimization Starter Guide v.1.1 11 พย. 2008 (ต่อ)

The content of this document is licensed under the Creative Commons. Attribution 3.0 License.

Make your site easier to navigate

ทำระบบ navigator ให้เข้าถึงได้ง่าย ระบบ navigator ที่เข้าถึงได้ง่ายจะทำให้ผู้เชี่ยมชมเว็บไซท์สามารถหา Content ที่ต้องการ ได้อย่างรวดเร็ว และยังช่วยให้ search engine เข้าใจได้ว่า Content ใดที่เจ้าของเว็บให้ความสำคัญ ถึงแม้ว่า google จะรับรู้ page level แตมันก็ต้องการการสื่อสารที่แสดงให้เห็นว่าหน้าใดบนเว็บไซท์เป็นภาพหลักของเว็บอยู่ ทุกๆไซท์จะมี root page ซึ่ง เป็นหน้าที่มักจะถูกเข้าถึงง่ายที่สุด และหน้าที่ลึกลงไปซึ่งก็จะเป็นเนื้อหาทีเฉพาะเจาะจงมากขึ้น ทีนี้เราก็ควรจะต้องมาพิจารณาถึงปริมาณเนื้อหา และจำนวนหน้าว่าเหมาะสมกันหรือไม่ มีหน้าที่เกี่ยวข้องซึ่งขึ้นกับหน้าเนื้อหาเฉพาะเจาะจงแค่ไหน ( root page -> related topic listing -> specific topic) ควรจะเอาทุกเนื้อหามาทำเมนูหรือไม่ หรือมีประเภทสินค้าที่แตกต่างกันเป็นร้อยๆชนิดซึ่งจะต้อง’ถูกแบ่งจำพวกตาม Category หรือ Subcategory หรือไม่ ? เปรียบเทียบได้กับประตูห้องน้ำ เราสามารถที่จะทำประตูห้องน้ำใหญ่ไว้ด้านนอก พอเปิดมาจึงพบห้องน้ำแยกชายหญิงอีกที หรือว่าจะทำประตูห้องน้ำแยกชายหญิงไว้ตั้งแต่ด้านนอกเลย อันนี้จะขึ้นอยู่กับปริมาณ Content และ ความสำคัญ

directory structure สำหรับเว็บไซท์ขนาดเล็ก
directory structure สำหรับเว็บไซท์ขนาดเล็ก

Sitemap (lower-case) เป็นหน้าปกติบนเว็บซึ่งจะแสดงให้เห็นถึงโครงสร้างของเว็บไซท์ ปกติแล้วจะแสดงลำดับของหน้าต่างๆบนเว็บ ผู้เข้าเยี่ยมชมสามารถเข้ามาที่นี่ในกรณีที่มีปัญหาไม่สามารถหาหน้า page ที่ต้องการ ในขณะที่ search engine ก็จะเข้ามาที่หน้านี้ด้วยเช่นกัน โดยทำตัวคล้ายๆผู้มาชมเว็บทั่วไป และได้ภาพที่เอื้อต่อค้นหาทั่วไซท์ ไฟล์ XML Sitemap (upper-case) จะเป็นตัวที่ทำให้ Google ค้นพบหน้า page บนเว็บได้ง่ายขึ้น การใช้ไฟล์นี้ยังเป็นหนทางหนึ่งที่จะบอก Google ว่าเราต้องการให้ URL ของเว็บตัวใดเป็นตัวหลัก( เช่น http://ischool.in.th/ หรือ http://www.ischool.in.th.com ) เราสามารถ Submit ได้ที่ Google’s Webmaster Tools https://www.google.com/webmasters/tools/ และ google ยังมี open sourceSitemap Generator script https://www.google.com/webmasters/tools/docs/en/sitemap-generator.html ให้ใช้อีกด้วย

Good practices for site navigation

  • Create a naturally flowing hierarchy ทำให้ผู้เยี่ยมชมเข้าถึงเว็บไซท์จากหน้า general ไปหน้า specific ให้ง่ายที่สุด ทำให้ปุ่มหรือเมนูต่างๆให้ เข้าใจง่าย และ make sense ที่สุด เว็บบางเว็บอาจมีการดีไซน์ที่หวือหวา แต่ต้องคำนึงถึงจุดนี้ให้ดีมิเช่นนั้น ถ้าเลย์เอาท์ทำให้ผู้เยี่ยมชมงงและไม่เข้าใจภายในไม่กี่วินาทีเว็บไซท์ก็ไม่มีประโยชน์อะไรกับ SEO สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงคือ การสร้างเว็บที่มี naviation ซับซ้อน เช่นการเอาลิงค์ที่ไปถึงทุกๆหน้าของเว็บไปใส่ไว้ในทุกๆหน้า หรือการมีคอนเท้นท์ที่ลึกเกินไป ต้องคลิกมากกว่า สิบครั้ง เพื่อที่จะเจอคอนเท้นท์ โดยทั่วๆไปแล้วเว็บที่ดีไม่ควร จะมีการคลิกเกินสามครั้งเพื่อให้ได้เนื้อหาที่ลึกที่สุด
  • Use mostly text for navigation ควรให้ navigation เป็น text ทั้งหมด การสร้าง Text links นั้นทำให้ search engine ค้นเว็บได้ง่ายขึ้นและเข้าใจ และผู้ใช้งานหลายคนก็ชอบเนื่องจากคอมพิวเตอร์บางเครื่องหรืออุปกรณ์บางอย่างอาจไม่ได้ support Flash หรือ java script หลีกเลี่ยงการใช้ navigation เป็น ภาพ หรือ animations อย่างไรก็ตาม search engine ได้พัฒนาขึ้นเพื่อ detect สิ่งเหล่านี้ได้บ้าง และ cms เช่น wordpress ก็สามารถที่จะตั้งชื่อรูปต่างๆให้เป็นชื่อของ ลิงค์ navigation ได้ แต่ในกรณีที่ ผู้ใช้ทำการ search ทุกๆหน้าของเว็บที่ใช้ text link ปกติ การใช้ text links ก็จะมีประสิทธิภาพดีกว่าอยู่ดี
  • Use “breadcrumb”navigationbreadcrumb (ซึงแปลว่าเศษขนมปังซึ่งโรยไว้นำทางให้ผู้อื่นในนิทานของต่างประเทศ) คือลำดับของ internal links ซึ่งสามารถที่จะวางไว้ด้านบนสุดหรือล่างสุดของหน้าต่างๆ breadcrumb ทุกๆอันจะมีหน้าหลัก หรือ root page ไว้ด้านซ้ายสุดและต่อด้วยหน้าที่มีข้อมูล specific มากขึ้นไปทางด้านขวา ดังตัวอย่างด้านล่าง seo
  • ใส่ HTML sitemap page ที่ site และใช้ XML Sitemap file หน้า Site map เป็นหน้าที่สำคัญและใช้ประโยชน์ได้มาก กับ SEO ถ้าเว็บไซท์มีหน้ามากเป็นร้อยเป็นพัน การสร้าง XML Sitemap file สำหรับเว็บไซท์ของเราจะช่วยให้ Search Engine หาเจอได้อย่างแน่นอนขึ้น อย่างไรก็ตาม Site map ต้อง update ตลอดเวลาและห้ามมีลิงค์ที่เสีย นอกจากนั้นยัังต้องจัดการชื่อของ site-map แต่ละตัวให้ถูกต้องด้วย
  • ให้พิจารณากรณี User ใส่ URL ไม่ครบว่าสามารถโชว์เว็บไซท์ได้หรือไม่ บางกรณีผู้ชมเว็บอาจใส่ URL แบบเดิมเนืองจากต้องการดูภาพที่ General กว่า เช่นแทนที่จะใส่ว่า http://www.brandonsbaseballcards.com/news/2008/upcoming-baseball-card-shows.htm แต่ไปใส่ http://www.brandonsbaseballcards.com/news/2008/ ใน address bar แทนเนื่องจากคาดว่าเว็บไซท์จะโชว์ข่าวสารในปี 2008 ทั้งหมด ในกรณีนี้ถ้าคุณไม่ได้ใส่หรือไม่ได้วางแผนการแสดงข้อมูลในปี 2008 คุณอาจจะต้องเลื่อน Directory Level ไปเป็น http://www.brandonsbaseballcards.com/news/ แทน เพื่อหลีกเลี่ยงหน้าที่โชว์ว่า 404 (“page not found” error)
  • สร้างหน้า 404 pages ที่เป็นประโยชน์ บางครั้งผู้ชมเว็บก็เข้าหน้าเว็บไซท์ที่ไม่ได้ถูกสร้างขึ้นมา เราควรจะสร้าง Custom 404 page ที่จะไกด์ลิงค์ให้ผู้ใช้สามารถกลับไปยังหน้าที่มีอยู่ได้เช่นหน้า Root page หรือ หน้าที่ได้รับความนิยมอื่นๆ และทำให้เกิด User Experience ที่ดี Google ได้ออก 404 widget มาให้ใช้ embed ในหน้า 404 ของเว็บไซท์อีกด้วย และเราสามารถหา sources of URLs causing “not found” errors. สำหรับข้อควรระวังก็เช่น อย่าให้หน้า 404 ของเว็บไซท์ถูก index ใน search Engine (เมื่อหน้าที่ไม่ปรากฎในเว็บถูก request ขึ้นมา ต้องเช็ค web server ว่าได้ Configed เพื่อแจก 404 HTTP status code หรือไม่

Offer quality content and services

กรสร้างเว็บที่มีเนื้อหาที่ดีและตรงใจผู้ชมนั้นมีความสำคัญยิ่งกว่าทุกๆข้อที่กล่าวมาเสียอีก ผู้ใช้ที่เข้าเว็บจะรู้ว่าเว็บไหนดีและแนะนำให้ผู้อื่นเข้ามาชมด้วย ผ่านการลิงค์จาก Blog Post, Social media service, Emails, Forums หรืออื่นๆ Word of month เป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่ Google พยายามพัฒนาการ Search ไปให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเรื่อยๆ

วิธีการเขียน Content ที่ดี

  • เขียนด้วยคำที่อ่านง่ายอ่านสนุกและอยากติดตาม อย่าเขียนให้ผิดไวยากรณ์หรือคำที่ดูไม่น่าเชื่อถือ และต้องระวังให้ตัวอักษรเป็น Text จริงๆทุกตัวเพราะบางครั้งผู้ทำเว็บเ embed text ไปเป็นรูปภาพแทน
  • จัดการหัวข้อและเนื้อหาให้ติดตามง่าย ดูง่ายว่าตรงไหนเริ่ม ตรงไหนจบ หลีกเลี่ยงการใส่ Text จำนวนมากเข้าไปโดยมี Topic จำนวนมากที่หลากหลายไม่เกี่ยวข้อง โดยไม่มี paragraph, subheading หรือการแยก layout
  • คิดถึงเสมอว่าคนส่วนใหญ่น่าจะ Search ด้วยคำว่าอะไร คนที่มีความเข้าใจเนื้อหาเป็นอย่างดีนั้นจะมี Keyword การ search ที่แตกต่างจากคนที่ใหม่ในเรื่องนั้นๆ บางคนอาจจะ search ด้วยคำย่อของสถานที่ หรือ search สิ่งของโดยมีคำวิเศษณ์ (คำขยาย) ข้อสำคัญคือเราต้องมี ช่วงของข้อความ ใน content ที่มี Keyword อยู่ (using a good mix of keyword phrases) สำหรับเว็บของเมืองไทยอาจสร้างความได้เปรียบในเรื่องการผสมผสานภาษา เช่นถ้าเซิร์ท “mac teaching” นั้นยากที่จะเจอ iSchool ได้ แต่ถ้าเซิร์ท “เรียน Mac” จะเห็นว่า iSchool อยู่ในอันดับแรก
  • สร้าง content ที่ใหม่สดเสมอ และ Unique จะทำให้ผู้ใช้กลับมาอีกครั้งและ Search เจอง่าย แต่ต้องหลีกเลี่ยงการ Copy Content ที่ไม่ได้มีประโยชน์กับผู้ใช้ และหลีกเลี่ยงการ Duplicate ระหว่างเว็บไซท์
  • สร้าง Content ที่พิเศษจริงๆ และใหม่ๆ คุณสามารถเขียนงานวิจัยลง หรือเล่าเรื่องราวใหม่ๆที่น่าตื่นเต้นเพื่อรักษาระดับของกลุ่มผู้ชมของเรา เว็บอื่นๆอาจไม่มีความรู้เพียงพอที่จะเขียนหรือไม่มีงานที่ดีให้อ่านเหมือนเว็บของเรา

Write better anchor text

Anchor Text คือตัวอักษรที่สามารถคลิกลิงค์มาได้ซึ่งอยู่ระหว่าง tag

Anchor text ที่ดีจะทำให้เห็นภาพชัดเจนถึงหน้าเว็บที่เราจะลิงค์ไป
Anchor text ที่ดีจะทำให้เห็นภาพชัดเจนถึงหน้าเว็บที่เราจะลิงค์ไป

การเขียน Anchor Text ที่ดีจะทำให้ user navigate ไปยังหน้าเว็บได้ง่ายขึ้น(ไม่ว่าจะเป็น Internal หรือ External)และทำให้ Google เข้าใจถึงเนื้อหาได้ดีอีกด้วยและส่งผลดีต่อ SEO ตัวอย่างการเขียน Anchor Text ที่ดี – Choose descriptive text ข้อความต้องมีเนื้อหาเกี่ยวข้อง อย่าใช้ข้อความลิงค์จำพวก “article”, “click here”หรือ “ดูที่นี่” หรือข้อความที่ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา – Write concise text เขียนให้สั้นแต่ยังรู้เรื่อง ใช้ประโยคสั้นๆได้แต่อย่างลิงค์ยาวเป็น paragraph – ตัว Anchor Text ควรทำให้มองเห็นง่าย และมีความแตกต่างจากตัวอักษรปกติ หลีกเลี่ยงการเขียน CSS ให้ Anchor Text ออกมาเหมือน Text ธรรมดา – ทำ Anchor Text สำหรับ Internal link ในเว็บไซท์ของเราให้มากขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อ SEO ด้วย

Use heading tags appropriately

Heading tags (อย่าสับสนกับ HTML tag หรือ HTTP headers) เป็นสิ่งที่ใช้แสดงโครงสร้างของเนื้อความทั้งหมด heading tag นั้นมี 6 ขนาดด้วยกัน h1 จะมีขนาดใหญ่และมีความสำคัญทีสุดมักใช้เป็นชื่อหัวข้อเรื่อง เรียงลงมาเรื่อยจนถึง h6มีความสำคัญน้อยสุด

ในแต่ละหน้าของเว็บ เราสามารถใส่ชื่อเว็บไซท์ ที่ h1 และ topic ในหน้านั้นๆที่ h2
ในแต่ละหน้าของเว็บ เราสามารถใส่ชื่อเว็บไซท์ ที่ h1 และ topic ในหน้านั้นๆที่ h2

การใส่ heading ที่ดีจะทำให้ง่ายต่อการอ่านและลำดับใจความของเรื่องได้ และ google ก็พิจารณาส่วนนี้ด้วยเช่นกัน และเวลาเขียนให้นึกถึงการเขียน paper ขนาดใหญ่ที่เราต้องมีหัวข้อใหญ่ หัวข้อย่อยตามลำดับ อย่างไรก็ตามควรหลีกเลี่ยงการใส่ Heading ที่ไม่ค่อยเกี่ยวข้องหรือไม่เกิดประโยชน์ในการช่วยด้านโครงสร้าง และในบางจุดเราอาจจะใช้ < em> หรือ < strong> แทนจะดีกว่า อีกประการคืออย่าใส่ Heading tag มากเกินความจำเป็น หรือใช้ทั้งย่อหน้ามาเป็น Heading

Optimize your use of images

ปกติโดยทั่วไปการวางรูปในเว็บไซท์ก็แสดงความชัดเจนต่อผู้ชมได้ดี แต่เราก็สามารถที่เพิ่มประสิทธิภาพของ seo ที่รูปได้เหมือนกัน โดยในทุกๆรูปจะมีการตั้งชื่อที่ต่างๆกันได้และมีค่า “alt” ที่สามารถใส่ได้ด้วย ซึ่งเราต้องพิจารณาทั้งคู่

การใส่ "alt" ที่ code ของชื่อเป็นวิธีที่ดีในการอธฺบายรูป

สำหรับ attribute “alt” นั้นเป็นตัวที่เราใส่ไว้ให้ขึ้นโชว์กรณีที่มีปัญหาหรือเหตุผลบางประการและรูปไม่สามารถที่จะขึ้นโชว์ได้ เช่นใช้ browser รุ่นที่ไม่ support หรือดูเว็บโดยใช้โปรแกรมอื่นๆ ตัวอย่างที่รูปไม่ขึ้นคือรูปด้านล่าง

seo

ในอีกกรณีคือถ้าเราใช้รูปแทน link ของเว็บไซท์ ค่า “alt” นั้นจะเปรียบเสมือน Anchor หรือ Text link ที่กล่าวมาในข้างต้นนั่นเอง

อย่างไรก็ตามก็ไม่แนะนำให้ใช้รูปจำนวนมากลิงค์เข้าสู่ Navigation ของเว็บไซท์เนื่องจาก text links ก็ให้ผลเช่นเดียวกัน และสิ่งที่สำคัญสุดท้ายก็คือการใส่ชื่อให้รูปและ alt text จะทำให้ Google Image Search สามารถเข้าใจรูปของคุณได้มากขึ้นด้วย

ตัวอย่างที่ดีของการใส่รูป

  • ใส่ชื่อที่เหมาะสมและเกี่ยวข้องกับเนื่อหาของเว็บไซท์ที่รูปและ alt text เหมือนกับการ Optimization ในแต่ละ page นั่นเอง แต่ชื่อและ alt ก็ควรจะไม่ยาวเกินไปด้วย หลีกเลี่ยงการใส่ชื่อที่ธรรมดาเช่น “image1.jpg”, “pic.gif”, “1.jpg” สำหรับ website ที่มีขนาดใหญ่มากและมีรูปหลายพันรูปควรคิดถึงระบบการ Generate ชื่อภาพโดยอัตโนมัติ ไว้ด้วย
  • ใส่ alt text เมื่อใช้ รูปเป็น links จะทำให้ Google เข้าใจรูปของคุณมากขึ้นเช่นเดียวกับการเขียน text link หลีกเลี่ยงการใส่ชื่อยาวและเป็นในลักษณะของ spam และไม่ควรใช้ image link อย่างเดียวในการทำเมนูหรือ site’s navigation
  • เก็บรูปไว้ใน directory ของมันเอง เช่น ischool.in.th/images แทนที่จะเก็บไว้กระจัดกระจายเต็มไปหมดใน sub -directory
  • ใช้รูปที่ Browser ส่วนใหญ่ support เช่น jpeg , gif , png, และ bmp และถ้าจะใส่ extension ไว้ที่ filename ให้ตรงกับ filetype ก็เป็นความคิดที่ดี

<h2>Make effective use of robots.txt </h2>

ไฟล์ “robots.txt” นั้นเป็นตัวบอก search engines ว่าสามารถที่จะ access เข้าไปที่แต่ละส่วนของ site ได้หรือไม่ ไฟล์นี้จะอยู่ที่ root directory ของเว็บไซท์ เช่น http://www.ischool.in.th/robots.txt

ในบางครั้งที่ไม่ต้องการให้หน้าบางหน้าในเว็บไซท์ถูกค้นหาได้เพราะว่าหน้านั้นไม่มีประโชน์กับผู้ใช้ Google Webmaster ได้ทำเครื่องมือ robot text Generator เพื่อช่วยในการสร้างไฟล์ อย่างไรก็ตามถ้าเราไม่ต้องการให้เห็นที่ระดับ subdomain ก็ควรจะแยก robots.txt ไว้ในแต่ละ subdomain

seo starter
seo starter

มีอีกหลายวิธีที่จะป้องกัน content ไม่ให้ถูกพบใน search result เช่นการเพิ่ม “NOINDEX”ใน Robot meta tag หรือใช้ .htaccess ให้ผ่าน password ของ directory หรือใช้ Google Webmaster Tools เพื่อลบ Content ที่ถูก crawled ไปแล้ว

ตัวอย่างที่ดีสำหรับการใช้ robots.txt

  • ยิ่งข้อมูลมีความ sensitive มาก ก็ต้องใช้ระบบความปลอดภัยมากขึ้น ในกรณีที่เราได้ป้องกันข้อมูลไว้แล้วแต่มีการ links มาจากภายนอก ควรจะ ป้องกันโดยการ Encrypting หรือ ทำ password protection กับมันด้วย .htaccess จะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า
  • หลีกเลี่ยงการทำให้ search result เจอทุกหน้า ที่ไม่ได้มีประโยชน์กับผู้ชม หลีกเลี่ยงการทำ auto-generate หน้าที่มีความคล้ายคลึงกันหรือต่างกันเพียงเล็กน้อย

Be aware of rel=”nofollow” for links

วิธีการใช้ rel=”nofollow” สำหรับลิงค์

การกำหนดค่าของ attribute “rel” ให้เป็น “nofollow” จะเป็นตัวบอกกับ Google ว่าลิงค์ที่อยู่บน site ของคุณนั้น
จะไม่ถูกติดตามออกไปนอกหน้านั้นๆ (ไม่ต้องการการอ้างอิงจาก site ของเราหรือไม่ต้องการให้ผ่าน site’s reputation) การทำให้ลิงค์ไม่ถูกติดตามไปทำได้โดยใส่ rel=”nofollow” ภายใน link’s anchor tag

viagra spam
viagra spam

การกระทำดังกล่าวจะช่วยในกรณีที่ site ของเรามี blog ซึ่งเปิดเป็นระบบ public comment และเราไม่อยากให้ลิงค์ที่ถูกใส่ในคอมเม้นท์องเราบางอัน activated การทำ nofollow กับ user ที่มักใส่ links จะทำให้แน่ใจได้ว่าคุณไม่ได้ให้ reputation ไปสู่ spammy site ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเว็บของคุณเพราะ Google จะพิจารณาผลของ reputation ของ site ของเราเองถ้า Google รู้ว่าลิงค์ไปสู่ spammy site แม้ว่าจะมี blogging software หลายตัวที่สามารถทำ nofollow user comments ได้โดยอัตโนมัติ (หรือการใช้ CAPTCHAs )แต่ก็ยังไม่สามารถทำได้เหมือนกับที่ทำแบบ manual edited นอกจากนี้ยังควรพิจารณาในส่วนที่มี user created content อื่นๆของเว็บไซท์เช่น guestbooks ,forums, shout-boards, referrer listing, และอื่นๆ แต่ถ้าคุณต้องการให้เกิดการลิงค์จาก third party ที่ไว้ใจได้ ก็ไม่มีความจำเป็นต้องใส่ nofollow links แต่อย่างใด

nofollow
nofollow

การทำ nofollow ยังสามารถทำได้อีกในกรณีที่ เราต้องการที่จะ reference เว็บไซท์อื่นๆแต่ไม่ต้องการที่จะผ่าน reputation ไปให้เว็บนั้นๆ และสุดท้ายถ้าคุณต้องการที่จะให้หน้าทั้งหน้านั้นๆที่มีลิงค์อยู่เป็น nofollow ทั้งหมด เราสามารถที่จะใส่ “nofollow” ไว้ใน robots meta tag ที่อยู่ภายใน tag ของหน้า H TML นั้น เช่น
name=”robots” content=”nofollow”>

Promote your website in the right ways

ในขณะที่ links ต่างๆที่ผ่านไปสู่ site ของเรานั้นทำงานได้ดี และทำให้ผู้ชมสามารถที่จะค้นพบ เว็บได้ทั้งจากการ search sรือวิธีอื่นที่ลิงค์เข้ามา Google เองนั้นเข้าใจอยู่แล้วว่าคุณต้องการที่จะทำให้ผู้อื่นรับรู้และการทำงานอย่างหนักที่จะเพิ่มประสิทธิภาพเข้าไปใน Content ของคุณ การ promote content ใหม่ๆอย่างมีประสิทธิภาพจะทำใให้ผู็ที่สนใจใน Content แบบเดียวกันสามารถพบข้อมูลของเราได้เร็วขึ้น แต่อย่างไรก็ตามการทำตามข้อแนะนำทุกๆจุดอย่าง extreme เกินไปอาจจะส่งผลลบต่อ reputation ของ site ได้บ้างเหมืือนกัน

ตัวอย่างที่ดีของการโปรโมทเว็บไซท์

  • ทำ Blog เกี่ยวกับ content หรือ services ใหม่ๆ

การเขียน Blog ในเว็บไซท์จะทำให้กลุ่มผู้ชมพื้นฐาน รับรู้เกี่ยวกับ content หรือ services ใหม่ๆ ได้ดีที่สุด webmasters คนอื่นๆที่ติดตามเว็บของคุณ หรือ รับ RSS feed ก็สามารถที่จะ รับข้อมูลของคุณได้ทันทีเช่นเดียวกัน

  • อย่าลืมการโปรโมทแบบ offline ด้วยเช่นกัน

การใส่ความตั้งใจในการทำ offline promotion ของ บริษัทหรือ website ของเราก็ส่งผลดีแน่นอนเช่นเดียวกัน เช่การใส่ URL ไว้ใน นามบัตร หัวจดหมาย โปสเตอร์ต่างๆ หรืออื่นๆ คุณยังสามารถที่จะส่ง newsletters ผ่าน mail เพื่อที่จะให้พวกเขาได้รู้เกี่ยวกับเนื้อหาใหม่ๆบนเว็บไซท์

  • ศึกษาเกี่ยวกับ social media site

Site ที่มีสิ่งแวดล้อมประกอบด้วย Social interaction และ Sharing ทำให้ง่ายต่อการที่เราจะจับกลุ่มที่น่าสนใจซึ่ง น่าจะสนใจเนื้อหาของเราเหมือนกัน อย่างไรก็ตามควรหลีกเลี่ยง การโปรโมทงานใหม่ๆที่เป็นส่วนย่อยๆเกินไป ควรจะโปรโมทโดยคำนึงถึงสิ่งใหญ่ๆที่เป็นที่น่าสนใจมากกว่า

หาความสำพันธ์กับเว็บไซท์ที่มีเนื้อหาไปในทางเดียวกัน
การหาศึกษาเว็บไซท์ขนาดใหญ่หรือ community ที่มีเนื้อหาไปในทางเดียวกันและกว้างกว่าเว็บไซท์ของเราจะทำให้เกิดโอกาสที่คนจะค้นหาหัวข้อที่เกี่ยวข้องที่คนพูดกันมาก (hot topics) ได้มากขึ้นและเราสามารถมาแตกประเด็นเป็นแบบเฉพาะด้าน (niche) ได้ดีซึ่งทำให้เกิด site ใหม่ๆที่น่าสนใจเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่ต้องหลีกเลี่ยงการตั้งใจ spam link โดยไม่สนใจเนื้อหาและการลงทุนจ่ายเงินสำหรับ banner โดยหวังผลแค่ pagerank แต่ไม่หวังผลด้าน Traffic

Make use of free webmaster tools

ใช้เครื่องมือของ google ที่ช่วยเว็บมาสเตอร์ได้ฟรีๆโดยสามารถ Search สิ่งเหล่านี้ได้

  • Google’s Webmaster Tools

? see whichparts of a site Googlebot had problems crawling
? upload anXML Sitemap file
? analyze and generate robots.txt files
? remove URLs already crawled by Googlebot
? specify the preferred domain
? identify issues with title and description meta tags
? understand thetop searches used to reach a site
? get a glimpse at how Googlebot sees pages
? remove unwanted sitelinksthat Google may use in results
? receive notification of quality guideline violationsandfile for a site reconsideration

และสุดท้าที่ Google แนะนำสำหรับเอกสารตัวนี้คือการใช้ประโยชน์จาก Google Analyticsเพื่อการวิเคราะห์ขั้นสูงต่อไปครับ