Ford Focus 2.0 TDCi รวมโพสทั้งหมด
Ford Focus 2.0 TDCi ฟอร์ด โฟกัส ตอนที่ 1 : รถครอบครัวสำหรับ Geek
Ford Focus 2.0 TDCi ฟอร์ด โฟกัส ตอนที่ 2 : เรื่องวุ่นๆก่อนจะรับรถ
Ford Focus 2.0 TDCi ฟอร์ด โฟกัส ตอนที่ 3 : วันออกรถใหม่
Ford Focus 2.0 TDCi ฟอร์ด โฟกัส ตอนที่ 4 : ขึ้นเชียงใหม่
ขอบคุณท่านจ๋ง @Warong ที่ช่วย edit โพสนี้ครับ แหม wordpress ก็มีบัคใช้ได้เลยนะเนี่ย 😛
ก่อนขึ้นเชียงใหม่เรามาลองดู usability ของ Ford Focus 2.0 TDCi กันครับ ปกติรถยุโรปและอเมริกันจะมี usability ที่ต่ำกว่ารถญี่ปุ่นอยู่ หมายความว่าใช้ยากกว่านั่นเอง ปกติผมเองใช้รถเป็นประจำอยู่อีกสองคันจึงสามารถที่จะเปรียบเทียบได้ครับ คันแรกคือ Mitsubishi Lancer CEDIA SEI (รุ่นท็อป)และอีกคันคือ BMW 318i E46 รุ่น Executive (ตาเหยี่ยว) ส่วนรถที่เคยใช้คันแรกคือ Lancer GLX e-car วางเครื่อง Mivec 4G-92 ซึ่งเป็นรถที่ผมชอบเบาะนั่งที่สุดเท่าที่เคยขับมา
Ford Focus 2.0 TDCi Power Shift
หมายเลขตัวถัง PE163ENK91NK00017
Engine Number DA000276
แน่นอนว่า Ford Focus 2.0 TDCi คันนี้ถูกวิจัยและพัฒนาในศูนย์ที่เยอรมันจึงรับฟิลลิ่ง”แข็งแกร่ง”ของเยอรมันมามากครับ ไม่ว่าจะเป็นน้ำหนักของที่เปิดประตู น้ำหนักคันเร่งและพวงมาลัยในครั้งแรกที่ลองขับนั้นมีระดับเดียวกับ BMW และเมื่อเข้าไปนั่งจะพบว่าที่นั่งอยู่สูงกว่า BMW และเตี้ยกว่า Lancer ส่วนความรู้สึกในการวางแขนกับที่เท้าแขนทั้งตรงกลางและด้านข้างพบว่าแข็งกว่า BMW เล็กน้อยที่วางแขนตรงกลางสามารถยืดมารับแขนได้ แต่แข็งเหมือนเอาหนังมาหุ้มพลาสติก อย่างไรก็ตามความรู้สึกด้านความแข็งแกร่งนั้นเกือบเทียบได้กับ BMW และคุณแม่บอกผมว่าเมื่อกลับไปขับ Lancer Cedia นั้นรู้สึกว่าเบาโหวงไปเลยทีเดียว รวมทั้งฟิลลิ่งในการปิดกระจกก็รู้สึกว่ามีสักหลาดกดกระจกไว้เป็นอย่างดี สำหรับกลิ่นของรถใหม่นั้นกลับเหมือนรถญี่ปุ่นใหม่มากกว่ารถเยอรมัน เพราะว่าไม่ได้ใช้หนังแท้นั่นเอง และ BMW นั้นมีการวิจัยกลิ่นโดยวิศวกรมาแล้วครับ ผู้สันทัดกรณีกล่าวว่าเมื่อหลับตาและมีรถ BMW ใหม่ๆขับผ่านไปช้าๆนั้นจะรู้ได้ทันทีว่าเป็น BMW ! สำหรับการตกแต่งภายในนั้นก็เป็นสไตล์เยอรมันเช่นกันทั้งปุ่มหมุนเปิดไฟและการเดินหนังกับลายไม้ที่ด้านหน้า รวมทั้งเมื่อเปิดไฟยามค่ำคืนไฟคอนโซลก็จะออกสีส้มแดงสวยงามให้อารมณ์ BMW อยู่บ้างด้วยครับ แต่การตกแต่งภายในที่ผมเห็นว่าไม่สวยมีอยู่สองจุดคือ พวงมาลัยที่รูปทรงเก่าไปกับวิทยุที่ดูเหมือน mini component ราคาถูก (แต่ตอนกลางคืนไฟสวยดีกว่าตอนกลางวันเยอะครับ)

วิทยุซีดีเชนเจอร์เล่น mp3 ได้หกแผ่น จากภาพกำลังใส่แผ่น Michael Jackson mp3 ที่ซื้อมาจาก 7-11 แต่อัดมาห่วยมาก

สีขาวๆรูปหกเหลี่ยมทางขวาในที่เก็บของด้านหน้าคือช่องต่อเครื่องเล่น mp3 ภายนอก ( AUX แบบ minijack ธรรมดา )
ในส่วนของปุ่ม control แอร์นั้นทำได้สวยดีมาก มีปุ่ม Auto แยกอุณหภูมิซ้ายขวาให้ด้วย จากการทดลองปรับแยกพบว่าสามารถปรับอุณหภูมิแยกส่วนแตกต่างกันได้ไม่เกิน 4 องศาเซลเซียสครับ และถ้าปรับอุ่นมากก็จะมีลมร้อนแยกช่องออกมาได้ซะด้วย(ลมเย็นช่องซ้าย ลมร้อนช่องขวาก็สามารถทำได้นะ)

สัญลักษณ์ Airbag ฝั่งคนขับอยู่ตรงนี้ แต่ผมดูรอยต่อของแผงคอนโซลแล้วยังงงๆอยู่ว่าเวลาพองมันจะออกมายังไง?
สำหรับรูปทรงของคอนโซลกลางนั้นค่อนข้างใหญ่ ถ้าคนอ้วนอาจจะมีปัญหาขาถูกเบียดได้ครับทำให้ต้องถอยเก้าอี้มาทางด้านหลังมากขึ้น รถคันนี้มีขนาดเท่าๆกับ CEDIA และ BMW 318i พอดีครับ
ตอนก่อนจะถอย เซลล์เสนอว่ามี option ที่ศูนย์ให้ร้านเครื่องเสียงมาติดให้ถึงที่เองเป็นเครื่องเสียง DVD TV +Navigator ยี่ห้อ ZULEX F-310 โดยจะติดตั้งแทนวิทยุเดิมได้ลงตัวพอดีโดยไม่ต้องตัดต่ออะไรเลย แถมยังควบคุมจากก้านพวงมาลัยได้เหมือนเดิมซะด้วยครับ สำหรับราคาก็สูงนิดหน่อยเพราะมันทำมาสำหรับ Ford Focus โดยเฉพาะ โดยราคา 2หมื่นขึ้นไป จะได้ทั้ง DVD TV จอใหญ่ กล้องส่องเวลาถอยหลังและระบบรับโทรศัพท์ Bluetooth แต่ถ้าเพิ่มกล่อง GPS สำหรับ Navigation ราคาจะพุ่งขึ้นไปอีกสองหมื่นแพงมาก อย่างไรก็ตามผมเองเป็นคนฟังเพลงเป็นหลักครับประกอบกับได้อ่านรีวิวที่ www.fordclub.net/ZULEX ว่า interface ของ ZULEX F-310 มันใช้ยากเล็กน้อยและตังค์หมด 😛 เลยไม่ได้สนใจติดเพิ่มเติม สำหรับคนอยากเท่ก็ติดได้ไม่ว่ากันนะครับ
ด้านการใช้รถเนื่องจากผมเป็นคนที่ชอบศึกษาเรื่องรถ (Geek) ดังนั้นเมื่อเริ่มใช้รถก็จะศึกษาก่อนอย่างรวดเร็วทำให้ใช้งานไม่ค่อยผิดพลาด เพราะฉนั้นในกรณีศึกษาเรื่องความง่ายในการใช้งานผมจึงใช้คุณแม่เป็น Reference แทนดีกว่าครับ 😛 สำหรับด้าน Usability หรือความใช้ง่ายของรถนั้นสามารถวิเคราะห์เทคนิคการออกแบบได้สองกรณีครับคือ
Ford Focus 2.0 TDCi ฟอร์ด โฟกัส: Usability
1. ฟอร์ด โฟกัส: การออกแบบให้รถมีลักษณะเฉพาะ ผู้ใช้เกิดความเคยชินเมื่อเปลี่ยนรถใหม่ก็อยากได้ยี่ห้อเดิม
กรณีนี้ตำแหน่งก้านไฟเลี้ยวและที่ปัดน้ำฝนจะเห็นได้ชัดที่สุดครับ รถยุโรปและอเมริกันที่มีพวงมาลัยซ้ายจะทำก้านไฟเลี้ยวไว้ด้านซ้ายที่ปัดน้ำฝนไว้ด้านขวาเช่นเดียวกับฟอร์ดคันนี้ และยังทำปุ่มหมุนเปิดไฟไว้ด้านเดียวกับ BMW อีกด้วยทำให้คุณพ่อซึ่งขับ BMW เป็นประจำสามารถเปลี่ยนมาขับคันนี้ได้ง่ายเช่นกัน ในส่วนของเกียร์นั้นก็มีลักษณะคล้ายกับ BMW เป็นอย่างมาก ครับ
แต่สิ่งที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวคือรถคันนี้ไม่มีสามปุ่มนี้เลย : นั่นคือปุ่มเปิดฝากระโปรงหลัง ปุ่มเปิดฝาถังน้ำมัน และปุ่มเปิดฝากระโปรงหน้า ! ทำให้ผู้ใช้ครั้งแรกจะงงกันนิดหน่อยครับเพราะว่า การเปิดฝากระโปรงหลังและฝาถังน้ำมันสามารถเปิดได้โดยตรงทันทีถ้าประตูฝั่งคนขับนั้นไม่ได้ล็อก ครับ สำหรับฝาถังน้ำมันเด็กปั๊มก็คงจะชินเพราะเหมือน BMW แต่ถ้าเป็นฝาประโปรงหลังคนใช้ครั้งแรกจะต้องจำตำแหน่งของสวิตช์ที่อยู่เหนือป้ายทะเบียนหลัง และฝากระโปรงหน้านั้นจะเปิดได้ต้องหมุน Emblem Logo Ford ที่กระจังหน้าและใช้กุญแจเปิดครับ นั่นหมายความว่าจะเปิดฝากระโปรงหน้าได้ต้องดับเครื่องยนต์ก่อนนั่นเอง
แต่ส่วนที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวเช่นการควบคุมวิทยุที่ก้านขนาดใหญ่หลังพวงมาลัยด้านซ้ายมือนั้นต้องใช้เวลาเรียนรู้พอสมควร แต่เมื่อใช้ได้แล้วก็จะพบว่ามันทำให้เพื่อนๆในรถงงได้ครับว่าเราเพิ่มลดเปลี่ยนเพลงเปลี่ยนแผ่นได้ยังไง 😛
2. ฟอร์ด โฟกัส: การออกแบบที่เป็นมาตรฐานที่เหมือนรถทั่วๆไป
เช่นการปรับเลื่อนเกียร์ออโต้ก็เป็นแบบปกติรถญี่ปุ่นครับคือ ตำแหน่ง N และ D สามารถเลื่อนได้โดยไม่ต้องเหยียบเบรคเหมือน BMW แต่การจอดรถดับเครื่องต้องเข้าที่ตำแหน่ง P เหมือนรถสมัยใหม่ถึงจะดึงกุญแจออกได้ ในกรณีที่ต้องการจอดรถขวางและเข้า N ก็ให้ใช้กุญแจเสียบเพื่อกดปุ่มปลดล็อกตำแหน่ง P ที่หัวเกียร์เหมือนรถญี่ปุ่นรุ่นใหม่ๆคันอื่น แต่การเสียบกุญแจปลดล็อกต้องกดให้ตรงตำแหน่งซึ่งต้องใช้ความตั้งใจนิดนึงนะครับ ถ้าเปรียบเทียบคือ CEDIA ใช้ง่ายสุดๆ แต่ก็เคยมีเคสอุบัติเหตุรถเบียดเจ้าของเสียชีวิตไปแล้วเช่นกัน ส่วน BMW นั้นเวลาจอดไม่สามารถปลดล็อกจากตำแหน่ง P ได้เลย ( อาจเป็นข้อดีทำให้เวลาเข้าห้าง พนง.ต้องกุลีกุจอหาที่จอดรถให้ 😛 ) อย่างไรก็ตามที่โคนก้านเกียร์นั้นไม่มีไฟแสดงตำแหน่งว่าเข้าเกียร์ใดอยู่ ทำให้ต้องมองไฟแสดงตำแหน่งที่แผงหน้าปัดเท่านั้นซึ่งเล็กนิดนึงครับ ส่งผลให้แม่ผมงงกับตำแหน่งเกียร์ในช่วงแรกมากเพราะติดนิสัยต้องมองที่ก้านเกียร์ด้านล่างเวลาเข้าเกียร์แต่ก็น่าจะทำให้ปลอดภัยขึ้นเพราะไม่ต้องละสายตาลงต่ำมากไป
ในส่วนของก้านไฟเลีี้ยวนั้นออกแบบให้มีสองระดับเหมือนรถทั่วๆไปเช่นกัน แต่ในระดับแรกคือแตะก้านไฟเลี้ยวลงเฉยๆ(ไม่ต้องให้ถึงตำแหน่งล็อก) หนึ่งที ไฟเลี้ยวจะกระพริบสามทีโดยอัตโนมัติซึ่งเป้นการออกแบบที่เพียงพอต่อการใช้เปลี่ยนเลนนั่นเองครับ แต่อย่างไรก็ตามเสียงสัญญาณไฟเลี้ยวนั้นจัดว่าเบาเกินไปสำหรับคนใช้รถ ประกอบกับตำแหน่งสัญญาณไฟเลี้ยวที่อยู่บนแผงหน้าปัดนั้นมีขนาดเล็กและไม่ค่อยเด่นทำให้ผมกับคุณแม่ลืมปิดไฟเลี้ยวอยู่บ่อยครั้งบนท้องถนนโดยเฉพาะเวลาที่ฟังวิทยุอยู่
3. ฟอร์ด โฟกัส: ส่วนของการออกแบบ Usability ที่ไม่ค่อยดี
ที่เห็นน่าจะมีอยู่สองตำแหน่งครับคือ สวิตช์เปิดไฟหน้าที่ใช้ปุ่มหมุน โดย ปกติตำแหน่งหมุนสุดด้านซ้ายน่าจะเป็นตำแหน่ง ปิดไฟ โดยสมบูรณ์ทุกดวง แต่กลายเป็นตำแหน่งไฟสำหรับจอดรถแทน (ไฟสำหรับจอดรถกลางคืนคือ ไฟหรีและไฟท้ายติดแต่ไฟในรถไม่ติด) ทำให้คุณแม่ผมบิดกดปุ่มปิดไฟเกินตำแหน่ง”ปิด”เป็นประจำผลคือเปิดไฟทิ้งไว้นั่นเอง และเมื่อต้องการจะเปิดไฟตัดหมอกหน้า และหลัง จะต้องดึงปุ่มหมุนนี้ออกมา 1 ล็อก และ 2 ล็อกตามลำดับ ซึ่งกว่าจะหาวิธีเปิดได้ก็ต้องใช้เวลาพอสมควร และวิธีเปิดนั่นทำให้ถ้าคุณแม่ต้องการเปิดไฟตัดหมอกหน้าอย่างเดียวอาจดึงเลย 2 ล็อกจนเปิดไฟตัดหมอกหลังไปด้วยได้ครับ นอกจากนั้นก็ยังไม่สามารถเปิดไฟตัดหมอกหลังอย่างเดียวโดยไม่เปิดไฟตัดหมอกหน้าได้ด้วย (แน่นอนว่าผมไม่มีปัญหากับตรงนี้เพราะเป็น GEEK นั่นเอง)
ในส่วนของปุ่มควบคุมเซ็นทรัลล็อกของประตูทุกบานรวมทั้งฝาถังน้ำมันและกระโปรงหลังโดย official แล้วคือปุ่มกดล็อกข้างประตูคนขับนั่นเอง ซึ่งมีอยู่ที่เดียวและเสมือนทำหน้าที่เยอะมากครับ และอยู่ในตำแหน่งที่ไม่ค่อยเด่นอีกด้วย เพราะเมื่อล็อกเข้าไปแล้วไม่มีแถบสีแดงหรืออะไรที่ระบุว่าล็อคนอกจากผู้ใช้ต้องเคยชินเองว่ามันจะบุ๋มเข้าไป แต่ระบบล็อคอัตโนมัติเมื่อรถเริ่มเคลื่อนที่ก็ทำงานได้ดีครับ
สุดท้ายเป็นระบบกุญแจ ที่ผมได้มาเป็นกุญแจแบบมีดพับซึ่งเท่กว่า BMW ซะอีก และกุญแจแบบธรรมดาอันนึง รวมแล้วสองอัน เจ้าหน้าที่บอกผมว่ากุญแจแบบมีดพับนี้มีราคาถึงห้าพันบาท และมีปุ่มปิดประตู เปิดประตู และเปิดฝากระโปรงหลังตามลำดับครับ จากการทดลองถ้าอยู่ในรถแล้วกดกุญแจปิดประตู้ จากนั้นเปิดประตูตัว immobilizer จะร้องเสียงดังสนั่นเลยทีเดียว แต่จุดที่ไม่ดีอยู่ที่ไม่มีไฟคอนเฟิร์มการล็อคประตูของรถเวลากดกุญแจครับ ทำให้ต้องไปดึงประตูคอนเฟิร์มกันอีกทีเพราะไม่แน่ใจว่าสัญญาณถึงหรือเปล่านั่นเอง ในขณะที่เมื่อเปิดล็อกกับมีไฟคอนเฟิร์มเป็นไฟเลี้ยวติดยาวๆหนึ่งทีทั้งๆที่ตอนเปิดล็อกเรามักจะต้องเข้ามาที่ตัวรถอยู่แล้ว ไม่ต้องมีไฟก็ได้ ผมเองก็ไม่รู้ว่าคนดีไซน์จุดนี้คิดไว้ยังไง
ทดสอบ Ford Focus 2.0 TDCi ฟอร์ด โฟกัส ขึ้นเชียงใหม่
ทีนี้ก็เริ่มออกเดินทางไปเชียงใหม่กับ Ford Focus 2.0 TDCi กันได้ครับ การเดินทางยามค่ำคืนครั้งนี้โดนสายฝนเกือบตลอดทาง
โฟกัส TDCi กทม-นครสวรรค์
สายฝนกระหน่ำไม่ลืมหูลืมตา แถมคุณแม่ผมรับช่วงขับก่อนด้วย แถวๆพอเลยช่วงนวนครช่วงที่ต้องชิดซ้ายออกนครสวรรค์มีน้ำท่วมขังอยู่ Focus TDCi ก็ลุยน้ำด้วยความเร็วสูงผ่านมาได้ดีครับ น่าจะเป็นที่แผงปิดช่วงล่างนั้นกันน้ำปะทะเข้าเครื่องยนต์ได้ดี (รุ่นก่อนไมเนอร์เชนจ์มีปัญหาเรื่องลุยน้ำแล้วเครื่องดับกันมาก) ตัวรถมีการซีลด้านใต้ดีทำให้เสียงน้ำไม่ลอดเข้ามามากนัก ส่วนเสียงเครื่องยนต์ในช่วงฝนตกจะไม่ค่อยได้ยินเลยครับ เพราะที่หลังคารถไม่ได้ซีลไว้ ( BMW ซีลหลังคาด้วย) ทำให้ได้ยินเสียงเม็ดฝนกราวเหมือนรถญี่ปุ่นทั่วไป ไฟส่องสว่างด้านหน้าในตำแหน่งไฟต่ำนั้นดีมากเพราะรูปทรงตัวสะท้อนแสงกลมดี ไฟตัดหมอกก็ใช้ได้ดี ส่วนไฟสูงแม่บอก “เฉยๆนะ ไม่เห็นความแตกต่างเท่าไหร่เลย”
ในส่วนของการปัดน้ำฝนทำได้ดีปานกลางอาจเป็นเพราะยางที่ติดมาจากฟิลิฟปินส์ค่อนข้างนานแล้ว ปกติโหมดฉีดน้ำการปัดจะเป็น ฉีดและตามด้วยปัดสามครั้งครับ แต่หลังจากนั้นนิ่งไปอีกสัก 4 วินาทีจะมีแถมปัดมาอีกทีด้วย (กันน้ำย้อยลงมานั่นเอง) คือรู้ใจคนขับดีจัง 🙂 แต่ครั้งแรกๆที่ใช้จะงงกับการปัดแถมครั้งสุดท้ายทำให้นึกว่าปิดสวิทช์ที่ปัดน้ำฝนผิดครับ
โฟกัส TDCi นครสวรรค์-ตาก
ช่วงนครสวรรค์ถึงตากถนนไม่ค่อยดี ทำให้ผมรู้สึกว่า Focus TDCi นั้นมีช่วงล่างที่แข็งพอสมควรทีเดียว ประกอบกับเบาะก็ค่อนข้างแข็งเพื่อส่งความรู้สึกจากพื้นขึ้นมาที่คนขับด้วยครับดังนั้นการใส่ล้อขอบ 16 นิ้วถึงแม้จะดูไม่เต็มเท่าไหร่แต่ในการใช้งานจริงน่าจะเหมาะสมสุดแล้วครับ ผมเลยทดลองปูที่นั่งด้วยผ้าห่มก็พบว่านอนสบายขึ้นมาก อืม..แสดงว่าจริงๆแล้วที่แข็งไปหน่อยน่าจะเป็นเบาะใหม่นี่ต่างหาก แต่จะโทษรถก็ไม่น่าถูกเพราะถนนช่วงนี้แย่กว่าทุกครั้งที่เคยขับมาจริงๆ แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลหมดงบประมาณในการซ่อมแซมอย่างแท้จริง 😛
ถ้าเปรียบเทียบคาดว่าช่วงล่าง CEDIA จะนุ่มกว่ารวมทั้งเบาะก็นุ่มกว่าครับ แต่ CEDIA ก็ไม่ได้ให้ความมั่นใจเวลาถลาบนถนนขรุขระยามฝนตกเท่ากับ Focus TDCi ด้วยเช่นกัน ส่วน BMW 318i ยังนับว่าเป็นรถที่มีช่วงล่างที่มีความรู้สึกที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ดีเยี่ยมที่ทำให้ผู้ที่เคยใช้เสพติดได้ คือ BMW จะรู้สึกว่ารถมีความหนักและหน่วงความสะเทือนไว้ได้ด้วย ในขณะที่ Focus TDCi ให้ความรู้สึกเบากว่าแต่ให้ความมั่นใจได้มากเช่นกัน อย่างไรก็ตามถ้าเราขับ BMW ก็คงไม่สบายใจแน่ๆถ้าเจอถนนขรุขระครับ เพราะช่วงล่างอลูมิเนียมนั่นค่า Maintenance แพงหูฉี่ทีเดียว
โฟกัส TDCi ตาก-ลำปาง
ช่วงตากถึงลำปางเป็นช่วงทางตรงยาวซะเป็นส่วนใหญ่ ช่วง นี้ความสามารถด้านสมรรถนะที่แท้จริงของรถก็เป็นที่ประจักษ์ครับ ! จากความแน่นของช่วงล่างทำให้การขับของผมที่ความเร็วสูงคุณแม่ผมไม่ได้ปริปาก บ่นออกมาเลย ปกติถ้าเป็น CEDIA พอขับที่ 130 km/h คุณแม่จะเริ่มรู้สึกว่าเร็วแล้ว แต่นี่ 160km/h คุณแม่ก็ยังเฉยอยู่ครับ ! อัตราเร่งของรถนั้นดีมากเมื่อกดคันเร่งจะรู้สึกถึงคลื่นพลังที่อัดแน่นรอขับ เคลื่อนเราไปข้างหน้า แต่ด้วยรอบที่ต่ำทำให้รู้สึกเหมือนเครื่องยนต์ไม่ต้องเค้นมาก คนขับไม่เครียดคนนั่งก็ไม่เครียดด้วย อย่างไรก็ตามอัตราเร่งที่ดีก็ทำให้ผมไม่สามารถเพลิดเพลินกับมันได้นานเพราะ เร่งแล้วก็จะเข้าสู่ความเร็วสูงเกินกฎหมายกำหนดอย่างรวดเร็ว ที่ความเร็วสูงพวงมาลัยก็ยังมีน้ำหนักดีมากถึงแม้จะสั่นจากเครื่องยนต์ในขณะ ที่เร่งเครื่องบ้าง เสียงเครื่องยนต์ก็ไม่ดังเหมือน CEDIA โอ้ว สนุกจริงๆรถคันนี้ ( ตลอดการขับให้คุณแม่นั่งผมไม่สามารถกดคันเร่งเกิน 1/4 ของความลึกได้เลยเพราะกลัวคุณแม่ตกใจ เลยไม่มีการคิกดาวน์เกิดขึ้นเลย )
โฟกัส TDCi ลำปาง-เชียงใหม่
ช่วงนี้เป็นช่วงขึ้นเขาซึ่งคุณแม่เริ่มง่วงหลับไป โอกาสมาถึงแล้ว 😛 การขับรถคันนี้ในทางคดโค้งมันช่างวิเศษจริงๆเลยยยยย กดคันเร่งครึ่งหนึ่งรถก็พุ่งขึ้นเข้าไปอย่างรวดเร็วเหมือนตัวเบา การเข้าโค้งหลบรถบรรทุกทำได้คล่องแคล่วและตัวถังก็ยังแข็งโป๊กไม่มีการบิด การส่ายหรือเข้าสู่ภาวะที่ทำให้แม่ผมตื่นได้เลยครับ ! เรียกได้ว่าไม่มีใครแซงผมได้แน่นอนครับสำหรับพื้นที่บนเขาอย่างงี้ กดคันเร่งเพียงครึ่งเดียวก็สวนรถเบนซินดีเซลที่วิ่งซ่าๆบนดอยขุนตาลได้ทุก คันไม่เว้นแม้แต่ BMW 525i หรือ เอ่อ…วีโก้ ยางและช่วงล่างของ Focus ทั้งหน้าหลังทำงานสอดประสานกันได้ดีมากและไม่มีเสียงรบกวน ( ถ้าตั้งใจจะทำให้เกิดเสียงยางคุณแม่คงกระเด็นหลุดจากเก้าอี้ได้ ) พวงมาลัยแม่นยำมาก เกียร์ตัดต่อส่งกำลังได้อย่างนุ่มนวลและมีประสิทธิภาพเยี่ยมมาก ขนาดของรถกำลังดีสำหรับถนนแบบนี้ โอ้วว I Love My Car !! 😀 ( ช่วงนี้ลืมสิ่งที่เคยตำหนิรถมาหมดแล้วครับเพราะมันส์มาก )
โฟกัส TDCi @เชียงใหม่

ผมขับต่อจากคุณแม่โดยขับประมาณ140 อัดขึ้นเขาที่ลำปางทำให้มาถึงเชียงใหม่ ด้วยการกินน้ำมันรวม 18.87 กิโลลิตร
Ford Focus 2.0 TDCi กับเบาะนั่ง
สำหรับตำแหน่งที่นั่งนั้นสามารถปรับได้ทุกทิศทางด้วยระบบไฟฟ้าด้านคนขับครับ เสียดายที่ไม่มีระบบ memory ผมกับแม่ซึ่งผลัดกันขับเลยต้องตั้งใหม่ทั้งเบาะทั้งกระจกมองข้างกันอุตลุด ( แหม คันอื่นเค้าก็มี Memory กันหมดแล้ว ) แต่คุณแม่ถูกใจตัวปรับ Support ดุนหลังมากครับ ส่วนพวงมาลัยนั้นก็ปรับสูงต่ำเข้าออกได้ทุกทิศทางเช่นเดียวกัน ถ้าให้เวลากับการปรับตั้งทั้งหมดสักนิดก็จะได้ตำแหน่งนั่งขับที่ดีทีเดียว ครับ แต่ผมเองติดเบาะสปอร์ตของ Lancer E-Car มานานเลยรู้สึกว่าเบาะของ FOCUS มันก็ยังสูงไปนิดหน่อยสำหรับการเซ็ทตำแหน่งสปอร์ต แต่การใช้งานธรรมดาก็โอเคครับ
Ford Focus 2.0 TDCi กับระบบขับเคลื่อน
สำหรับสิ่งที่โดดเด่นของระบบขับเคลื่อนของรถคันนี้คือ เครื่องยนต์ดีเซลดูราทอร์ค 2.0 ที่พัฒนาเพื่อใช้ร่วมกับเปอร์โยต์และซีตรองนั่นเอง เครื่องยนต์ตัวนี้มีแรงบิดสูงถึง 320 NM และมีกำลังแฝงเมื่อกดคันเร่งมิดเพิ่มเป็น 340 NM ได้อีก 8 วินาทีอีกด้วย สำหรับระบบเกียร์นั้นใช้ เกียร์อัตโนมัติ 6 จังหวะ Power Shift แบบ Dual Clutch ที่พัฒนาโดย GETRAG Ford Transmission Gmbh สำหรับรายละเอียดด้านเทคนิคและที่มาแนะนำให้ดูคุณ Jimmy รีวิวไว้ดีละเอียดแล้วครับ ผมจะพูดในประเด็นความรู้สึกและข้อสันนิษฐานในการใช้งานละกันครับ สำหรับความรู้สึกโดยทั่วไปของรถคันนี้ก็คือ รถเก๋งดีเซลที่มีการเปลียนเกียร์ที่ ราบเรียบมาก มีอัตราเร่งในการใช้งานปกติที่ดีในรอบต่ำทำให้เครื่องยนต์ไม่ต้องเค้นมากและ ไม่จำเป็นต้องคิกดาวน์มาก แต่เมื่อกดคันเร่งลึกเครื่องยนต์จะส่งเสียงดังกว่าเดิมออกมาแต่คุณก็จะอยู่ ในอัตราเร่งที่เหมาะสมกับเสียงเครื่องยนต์พอดี เพื่อนผมที่เชียงใหม่ถึงกับหงายหลังหัวกระแทกเบาะเมื่อผมกดคันเร่งลึกลง แต่ผมยังไม่กล้าเหยียบจมมิดอยู่ดีครับเพราะรู้สึกว่ารถยังรันอินอยู่ 😛
ในเรื่องของเกียร์ Power Shift Dual Clutch ( หรือผมเรียกว่า ระบบเกียร์ธรรมดาที่เปลี่ยนโดยอัตโนมัติ) ที่หลายๆคนกังวลกัน ผมเองในวันออกรถได้ถามช่างที่ศูนย์ฟอร์ดรัตนาธิเบตรพบว่าช่างให้คำตอบว่า”ผม ซ่อมได้ครับ เรียนมาแล้ว” จึงไม่ค่อยห่วงเท่าไหร่ ในด้านการใช้งาน เกียร์ตัวนี้มีอัตราการเปลี่ยนเกียร์ที่ถี่และสมูทแต่ไม่ใช่เกียร์ที่ขยัน เปลี่ยนบ่อยๆตามความเร็วนะครับ เพราะว่าการเปลี่ยนเกียร์ที่สังเกตได้ขึ้นอยู่กับ “ความเร็วของรถในขณะนั้น” มากกว่า “ความลึกของคันเร่งที่กด” หมายความว่าถ้าเราขับไม่ถึง 80 km/h รถจะไม่สามารถเปลี่ยนเป็นเกียร์ 6 ซึ่งเป็นเกียร์สุดท้ายได้(แสดงว่าเป็นเกียร์ที่เน้นสมรรถณะมากกว่าความประหยัด) ในขณะที่รถเกียร์อัตโนมัติทั่วไปเพียงขับไปแค่ 40-50 พอผ่อนคันเร่งรถก็เข้าเกียร์สูงสุดให้ซะแล้ว น่าจะเกิดจากการพยายามรักษารอบให้อยู่แถวๆแรงบิดสูงสุดที่ 2000 รอบตลอดเวลาครับ ทำให้การเปลี่ยนเกียร์ซึ่งเป็นต้นเหตุของความสึกหรอนั้นกลับน้อยกว่าเกียร์ อัตโนมัติในรถเบนซินทั่วไปซะอีก ส่วนในเรื่องของการ maintenance คาดว่าคงมีการเปลี่ยนชุดคลัตช์กันบ้างเช่นเดียวกับรถเกียร์ธรรมดา แต่ถ้าเกียร์พังคงมีราคาโหดเท่าๆกับเกียร์อัตโนมัติทั่วไปเท่านั้นเอง 😛 ( เกียร์ CVT ของ CEDIA นั้นลูกละ 220,000 บาท !) อย่างไรก็ตามตามความรู้สึกผม มันน่าจะพังยากถ้าเราขับปกติในชีวิตประจำวันเพราะเกียร์ออกแบบมาให้สามารถ ที่จะรับแรงบิดสูงได้มากกว่าแรงบิดที่ใช้ในชีวิตประจำวันเยอะ

คุณแม่สามารถขับรถคนนี้ได้อย่างนิ่มนวลสบายๆ โดยไม่จำเป็นต้องรู้รายละเอียดเครื่องยนต์หรือเกียร์แต่อย่างใด
สำหรับ Feeling ในการผ่อนคันเร่งของเกียร์ตัวนี้จะหน่วง Engine Brake เล็กน้อยซึ่งผู้ที่ใช้รถเกียร์อัตโนมัติมานานอาจไม่ค่อยชิน แต่สำหรับคุณแม่ผมซึ่งมักมีนิสัย “ขับไปเบรคไป” กลับเหมาะกับเกียร์ของรถคันนี้มากครับเพราะทำให้ลดการใช้เบรคในกระแสจราจรลง ได้มาก ส่วนคุณพ่อจะบ่นว่าราคาขนาดนี้แล้วทำไมไม่มี Cruise Control ให้ แถมตอนถอนคันเร่งก็ลดความเร็วอีก เพราะคุณพ่อติด Cruise Control เวลาขับ BMW นั่นเอง เมื่อคุยกับทางผู้จัดการศูนย์ก็พบว่าเครื่องกับเกียร์รุ่นนี้ไม่ได้วางแผน ให้มี Cruise Control ตั้งแต่แรกครับ ส่วนผมน่ะหรอ ? ชอบ Engine Brake อยู่แล้วครับ
Ford Focus 2.0 TDCi กับการขนของ
ลองทดสอบพับเบาะดูครับ รถคันนี้ตอบสนองไลฟ์สไตล์ผมเพราะต้องยกเปียโนไฟฟ้าพร้อมตู้แอมป์และอุปกรณ์ไปเล่นดนตรีตามที่ ต่างๆบ่อยๆ การพับเบาะได้หลายรูปแบบนั้นทำให้ผมชอบใจจริงๆ ( CEDIA กับ BMW 318i นั้นพับเบาะไม่ได้ ) อย่างไรก็ตามขออภัยที่ยังไม่ได้แกะพลาสติกเบาะนะครับ 😀 เรียงลำดับความเล็กไปใหญ่ของ Trunk ด้านหลังคือ BMW เล็กสุด(เพราะระบบขับเคลื่อนล้อหลังกินที่) ตามด้วย CEDIA และ FOCUS ใหญ่สุด

การยกฝากระโปรงใช้โช๊คอัพเช่นเดียวกับ BMW ไม่กินเนื้อที่ในห้องเก็บสัมภาระ ในขณะที่ CEDIA มีก้านยกเข้าไปด้านใน

เบาะหลังของ Ford Focus เมื่อยกเบาะหลังหมุนไปทางด้านหน้าจะพบว่าสามารถใส่ของที่มีความสูงอย่าง จักรยานได้

ซูมเข้ามาใกล้กับที่เก็บของด้านหลังเมื่อพับเบาะนั้นกว้างขนาด เลี้ยงสุนัขได้ มีจุดติที่ด้านหลังของเบาะไม่มีอะไรหุ้ม เป็นเหล็กพ่นสีเฉยๆ
Ford Focus 2.0 TDCi ไฟส่องสว่างภายใน
Ford Focus 2.0 TDCi กับการเติมน้ำมัน
สำหรับปั๊มในกทม การบอกให้เดิมดีเซลเด็กปั๊มจะชินและไม่น่าห่วงเรื่องเติมผิดครับ บางคนก็สนใจรถเรามากกว่าคันอื่น แต่ถ้าเป็นต่างจังหวัดต้องดูแลนิดหน่อย ถ้าหัวจ่ายดีเซลกับเบนซินอยู่ติดกันแล้วเด็กเหม่อก็จะผิดได้ ทางศูนย์แนะนำให้ซื้อสติกเกอร์ดีเซลมาติดด้านนอกฝาถังเลยซึ่งผมรู้สึกว่ายังไม่ค่อยสวย ต้องตามหาสต๊ิกเกอร์อีกพักนึง ในส่วนของน้ำมันเชื่อเพลิงที่เติมจะเติมอะไรก็ได้ครับ แต่ที่น่าเติมที่สุดคือ เชลล์ V-Power Diesel กับ บางจาก EURO4 ซึ่งบางจากเป็นเจ้าเดียวที่มี EURO4 ครับ
Ford Focus 2.0 TDCi กับการ maintenance
เรื่องที่ทุกคนกังวลใจเกี่ยวกับฟอร์ดน่าจะเป็นการ maintenance ซึ่งผมเองก็กำลังหาข้อมูลอยู่ครับ ในส่วนของการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องผมคิดว่าศูนย์ไหนก็น่าจะเหมือนกัน แต่ถ้าเป็นในเรื่องการซ่อมก็น่าจะเป็นศูนย์พระรามสามที่บ้านแฟนผมอยู่ใกล้พอดีครับ บางกระแสก็ว่าเป็นศูนย์พระรามสองหรือศูนย์ในเครือมหานคร น้ำมันเครื่องของฟอร์ดนั้นเปลี่ยนทุก 15,000 กิโลเมตร จากข้อมูลศูนย์รัตนาธิเบตร์มีน้ำมันเครื่องให้เลือกสองเกรดครับคือกึ่งสังเคราะห์และน้ำมันเครื่องสังเคราะห์โดยทางเจ้าหน้าที่บอกว่ามีค่าเปลี่ยนประมาณพันกว่าบาทจนถึงสองพันกว่าบาทขึ้นกับเกรดน้ำมันเครื่องที่เลือก ผมคาดว่ารถคันนี้น่าจะมีค่าบำรุงรักษาที่แพงกว่ารถญี่ปุ่นทั่วไปสัก 20% ซึ่งก็ยังถูกว่า BMW มาก อย่างไรก็ตามสำหรับระยะ 15,000 และ 30,000 กิโลแรกมีคูปองเปลี่ยนน้ำมันเครื่องฟรีให้อยู่ครับ
สำหรับเรื่องการรับประกัน รถคันนี้รับประกันสามปีหรือหนึ่งแสนห้าพันกิโลอย่างใดอย่างหนึ่งถึงก่อน ซึ่งเป็นการรับประกันจากการใช้งานทั่วไปไม่รวมอะไหล่และวัสดุสิ้นเปลืองเช่นเดียวกับรถยนต์ทั่วไป และทางเซลล์เสนอแผนการยืดระยะรับประกันเป็นห้าปีซึ่งต้องจ่ายด้วยเงินจำนวนหนึ่งครับ ผมสามารถมีเวลาตัดสินใจได้หลายเดือนจึงยังพิจารณาอยู่ โดยแผนนี้ระหว่างรถเกียร์ ธรรมดากับ Power Shift นั้นเท่ากันอยู่ นอกจากนี้ยังมีการเสนอให้ซื้อคูปอง maintenance ล่วงหน้าด้วย เป็นพวกเปลี่ยนน้ำมันเครื่องและวัสดุสิ้นเปลืองต่างๆ จากการคำนวนแล้วประหยัดได้ 15% แต่เนื่องจากต้องจ่ายเงินก่อน ผมจึงไม่ได้สนใจครับ
รวมๆแล้วสิ่งที่ผมกังวลนั้นน่าจะมีเพียงเกียร์ Power Shift ซึ่งมีครั้งแรกในไทยเท่านั้น แต่จากการใช้งานแล้วด้วยความรู้สึกส่วนตัวมันน่าจะเสียไม่ง่ายนักครับเพราะการตัดต่อกำลังของมันนุ่มนวล เปลี่ยนเกียร์ไม่มากและเกียร์ถูกออกแบบมาให้รับแรงบิดได้มากกว่าที่ใช้งานในชีวิตประจำวัน ถ้าเกิดเสียจริงๆผมจะขอเข้ามาร่วมวิเคราะห์ด้วยนะครับ 😛 อย่างไรสามารถติดตามบล็อกนี้ในตอนที่ห้าจนกว่าจะครบหมื่นห้าพันกิโลว่าจะมีประเด็นอะไรเกี่ยวกับการ Maintenance บ้างหรือไม่นะครับ
สรุปตามความคิดของผม คนไทยน่าจะมีความกังวลเกี่ยวกับการซ่อมบำรุงที่มากเกินไปนิดหน่อยครับ ถ้าเราไม่ได้ใช้รถยี่ห้อที่หายากและมาบุกตลาดครั้งแรกในไทยจริงๆล่ะก็ ปัญหาของการ Maintenance น่าจะทำให้เราเสียเวลาและเสีย Cost ต่างกันไม่มากจนเกินไป แต่อย่างไรก็ตามผู้ผลิตรถหลายรายก็ได้ทำให้ผู้บริโภคเกิดความกลัวใน”ความเป็นไปได้ที่น้อยนิด”ครับ แต่ผู้ที่ขยันหาข้อมูลและรถที่มีคอมมิวนิตี้เหนียวแน่นก็น่าจะผ่านไปได้ด้วยดีเพราะทุกคนช่วยกันนั่นเอง ส่วนแนวคิดของผมก็คือ เราใช้รถเป็นเวลา 95% และอาจจะต้องซ่อมและมีปัญหา 5% เราก็ไม่น่าจะต้องเอาเวลา 95% มาเป็นกังวลแทน 5% นั้นไปด้วยครับ เลือกรถที่ขับได้สนุกตลอดเวลา 95% และถ้าเกิดปัญหาก็ค่อยไปซีเรียสกับเวลา 5% นั่นทีเดียวดีกว่าครับ 😀
