มาทำเว็บแบบรายเดือนและบริหาร content รายเดือนกันเถอะ #TiGERiDEA

สภาพกลืนไม่เข้าคายไม่ออกเมื่อโปรเจ็คไม่จบสักทีและไม่มีเงินมาทำต่อ
สภาพกลืนไม่เข้าคายไม่ออกเมื่อโปรเจ็คไม่จบสักทีและไม่มีเงินมาทำต่อ

( ภาพป้ายโฆษณา Lowe’s จาก http://www.funnycommercialsworld.com/lowes )

ทุกวันนี้ ส่วนใหญ่การทำเว็บนั้นไม่ได้ทำครั้งเดียวแล้วจบครับ คนจะสนใจเว็บที่มีชีวิตและมีคอนเท้นท์ที่น่าสนใจออกมาอย่างสม่ำเสมอมากกว่าเว็บที่หยุดนิ่งเหมือนตายแล้ว ดังนั้นวิธีการคิดราคาเว็บไซต์ก็ควรเปลี่ยนไป อีกทั้ง Solution หลายอย่างก็ช่วยให้ต้นทุนการทำเว็บแบบดั้งเดิมลดลงและต้นทุนการทำ Content กลับทวีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆแทน

อย่างไรก็ตามเว็บองค์กรจะมี Mind set ที่ต้องการทำจบแล้วจบเลยอยู่ แต่เราสามารถนำวิธีคิดเบื้องต้นไป Convince ให้ลูกค้าเปลี่ยนเป็นเว็บรายเดือนแทนครับ ไทเกอร์ไอเดียมีความตั้งใจในการทำเว็บรายเดือนมาระยะหนึ่งจากบล็อก Rate ราคา manday ไทเกอร์ไอเดียที่เขียนมาระยะหนึ่งและเมื่อมีลูกค้ารายใหม่เข้ามา ผมจะส่งให้ลูกค้าดูก่อนเสมอ และตัวอย่างลูกค้าบริษัทใหญ่ (แต่เว็บไม่ใหญ่) อย่าง SCG ได้ทำมาแล้ว

ปัญหาของการทำเว็บแบบเหมาโปรเจ็คคือคาดเวลาจบงานได้ยากในทางปฎิบัติ

ที่ผ่านมาคนที่รับทำเว็บไซต์หรือระบบต่างๆน่าจะเคยประสบปัญหากันคือเรื่อง cash flow หรือกระแสเงินสดครับ เนื่องจากการทำเว็บบางทีไม่สามารถกำหนดวันเสร็จได้อย่างชัดเจนเหมือนกับงานสิ่งพิมพ์หรืองาน presentation เพราะเว็บเปรียบเสมือนองค์กรที่ต้องมีการปรับปรุงแก้ไขให้มีชีวิตอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นการวางแผนกระแสเงินสดในบริษัทจะทำใด้ยากและมักมีปัญหาตามมา

ลูกค้าหลายคนตอนเริ่มทำเว็บก็มักไม่มีไอเดีย ซึ่งไอเดียจะมาเกิดต่อเมื่อเห็นหน้าตาเว็บแล้ว ทำให้เค้าอยากจะปรับปรุงไปเรื่อยๆ ซึ่งเป็นเรื่องที่เจอกันอยู่เสมอกับ Product ที่มีความซับซ้อนและต้องมีการ educate ลูกค้าระหว่างการทำเว็บไซต์อยู่เรื่อยๆ ลองอ่าน ปัญหาที่สำคัญในการพัฒนาโปรเจ็คคือความเข้าใจตัวเอง

การทำเว็บรายเดือน สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้

เมื่อลูกค้ามีความต้องการมากขึ้นในภายหลัง หรือพูดง่ายๆว่า requirement เพิ่มเติมในภายหลัง หนทางที่ fair ที่สุดในการดีลงานคือเค้าควรจะจ่ายเพิ่มให้เราด้วยเช่นกันครับ ดังนั้นการทำเว็บรายเดือนจึงตอบปัญหาในจุดนี้ได้และการ์ตูนล้อ Web Designer ตัวนี้คงไม่เจ็บปวดขนาดนั้นเพราะ designer อย่างน้อยยังได้เงินตลอด ข้อแลกเปลี่ยนคือ การทำงานของบริษัทที่รับทำเว็บรายเดือน ต้องมีแผนการทำงานที่ชัดเจนและต้องสามารถทำได้ตามแผนนั้น หากลูกค้ามีความต้องการที่จะจ่ายน้อยและงานเสร็จเร็ว ตัวลูกค้าเองต้องมีความชัดเจนตั้งแต่แรก แต่หากลูกค้าไม่ชัดเจน เค้าสามารถจ่ายเพิ่มภายหลังได้เช่นกันเพื่อพัฒนาเว็บจนกว่าเค้าจะพอใจครับ

สำหรับกรณี SCG ทั้งสองเว็บที่ทำอยู่ ลูกค้าเลยเตรียมตัวเรื่องข้อมูลกันดีมากๆเพราะไม่อยากเสียเวลาไปกับการตัดสินใจระหว่างการทำเอง เพราะถ้าลูกค้าตัดสินใจนาน ผลเสียจะตกอยู่ที่ลูกค้าเองตรงที่เวลา Man day นั้นเดินไปเรื่อยๆครับ

ทำอย่างไรลูกค้าจึงจะตัดสินใจเลือกทำเว็บรายเดือน ?

อันดับแรกคือ เว็บรายเดือนมีสิทธิที่จะจบงานได้ด้วยราคาที่ถูก

สาเหตเพราะเราไม่ต้องคิดเผื่อ ต้นทุนความเสี่ยงจากการทำงานที่ไม่เสร็จสักที กับต้นทุนการหมุนกระแสเงินสดครับ ทำให้คิดราคาได้ถูกลงมากโดยสามารถคิดได้จากค่าแรงของพนักงานคูณกับตัวแปรด้านโสหุ้ยตรงๆนั่นเอง สมมติว่าทำเว็บรายเดือนๆละ 30,000 บาท ถ้าสามารถทำให้จบได้ในเดือนเดียวก็จะมีราคาเพียง 30,000 บาทเท่านั้น

ตัวอย่าง (จริงๆ) ที่กำลังทำอยู่ขณะนี้คือลูกค้าบริษัทมหาชนเจ้าหนึ่งต้องการทำเว็บให้องค์กรมหาชนของเขา ซึ่งมีเว็บ cataloque อยู่ด้วย ( เว็บนี้ซับซ้อนกว่าของ SCG ) จึงให้หัวหน้าฝ่าย IT ติดต่อทาง TiGERiDEA เพื่อประเมินราคาร่วมกับบริษัทอื่นๆ ในครั้งแรกผมเองได้เสนอ Solution เว็บรายเดือนไปแต่ทางบริษัทยังยอมรับได้ยากเพราะผู้บริหารใช้เหตผลที่ว่า ” บริษัทของเขาจะแน่ใจได้อย่างไรว่าเราจะทำเสร็จตามกำหนดจริงๆภายใต้คุณภาพที่เขาพอใจ” ดังนั้นผมจึงเสนอไปสองราคาดังนี้ครับ

  • Quotation ตัวที่ 1 เสนอราคาเหมาทั้งโปรเจ็คที่ 300,000 บาท ใช้เวลาทำงานไม่เกิน 3 เดือน
  • Quotation ตัวที่ 2 เสนอราคารายเดือน เดือนละ 40,000 บาท ใช้เวลาทำงานตาม requirement ประมาณให้ 4 เดือน ( รวมสี่เดือน 160,000 บาท )

จากราคาทำให้ Quotation ตัวที่ 2 มีความโดดเด่นเหนือบริษัทที่มาร่วม pitch งานด้วยกันอย่างมากและราคาถูกกว่า Quotation ตัวที่ 1 ครึ่งหนึ่งเลยทีเดียวครับ ทำให้ทีมงานต้องกลับมาพิจารณา ถึงแม้งานจะยังไม่เสร็จ ก็ไม่น่าจะเลทเกิน 1 เดือนรวมแล้ว 200,000 และเมื่อดูความคุ้มค่าแล้วจึงตัดสินใจทำเว็บด้วย Quotation ตัวที่สอง

อันดับที่สอง ทำอย่างไรจะให้ลูกค้าแน่ใจว่าเราจะทำเสร็จจริงๆ

ตัวอย่างแผนอย่างง่ายที่ @muenue วางให้ลูกค้า
ตัวอย่างแผนอย่างง่ายที่ @muenue วางให้ลูกค้า

ในขั้นตอนนี้ต้องอยู่ที่การวางแผนในการทำเว็บด้วยเวลาที่เหมาะสมครับ และต้องเผื่อเวลาของการ Approve งานของลูกค้าไว้ตามสมควรด้วยเช่นกัน โดยขั้นตอนที่มีความเสี่ยงต่อการ Revise มากที่สุดคือขั้นตอนการดีไซน์นี่เอง เนื่องจากเป็นเรื่องของรสนิยม ดังนั้นการคุยเรื่อง reference งานก่อน หรือเว็บไซต์ที่ลูกค้าชอบก่อนเป็นเรื่องสำคัญครับ จากนั้นจึงวางแผนการตามลำดับดังนี้

  • Wireframe หรือโครงร่างหลักของเว็บ เป็นขั้นตอนการรวบรวมลำดับความสำคัญในการนำเสนอเว็บไซต์ ตัว wireframe จะไม่มีสีสันใดๆมารบกวนทำให้การมองโครงสร้างของเว็บและ User interface นั้นตรงไปตรงมามากขึ้น สำหรับเว็บองค์กรโดยทั่วไปอาจใช้เวลาไม่ถึงเดือน แต่ถ้าเป็นเว็บ e-commerce หรือเว็บ social deal อาจจะใช้เวลานานมากหลายเดือนถ้าลูกค้ายังไม่ชัดเจนเรื่อง function การทำงานในแต่ละหน้า
  • Design ทำการ design mood and tone ตาม requirement และ reference ของลุกค้า ผมมีข้อแนะนำว่าอย่าใช้วิธีคิดเชิง Agency มากเกินไปในการดีไซน์เว็บเพราะเว็บมีความ Dynamics มากกว่าสื่อสิ่งพิมพ์หรือ presentation ที่เราสามารถกำหนด environment ได้ โดยของไทเกอร์ไอเดียจะดีไซน์หน้าแรกก่อน เมื่อ Approve แล้วจึงเริ่มดีไซน์หน้าต่อไป
  • จากนั้นจึงเป็นขั้นตอน Architecture ตัด CSS , HTML, testing ฯลฯ ตามลำดับซึ่งแล้วแต่นโยบายการเผื่อ Man day ของแต่ละบริษัทครับ

เว็บรายเดือน กับการเผื่อเวลา error และ delay

การวางแผนข้างต้นควรมีเผื่อเวลา Approve กับลูกค้าไว้ด้วยครับ( แล้วแต่ policy ) โดยอาจบอกลูกค้าไว้ก่อนว่าใช้เวลา Approve ไม่เกิน 1 วันและเราทำเสร็จก่อนหน้านั้น ของไทเกอร์ไอเดียเองช่วงเวลาทั้งหมดที่ Plan ไว้กับการดีไซน์จะเผื่อแก้ไขด้วยประมาณ 2-3 revision แต่ถ้าหากลูกค้าจะแก้เกินกว่านั้น ทางเราจะบอกลูกค้าว่าการแก้ไขจะกระทบเวลารวมของโปรเจ็ค และลูกค้าอาจต้องจ่ายเงินซื้อเวลาเพิ่มเติมในเดือนต่อไปครับ

เว็บรายเดือนกับความเข้าใจเรื่อง Man day เป็นเรื่องสำคัญ : กรณีศึกษาที่ล้มเหลว

ในช่วงแรกๆที่ไทเกอร์ทำงานแบบรายเดือน (ประมาณปีก่อน) ก็มีลูกค้าไม่พอใจอยู่บ้างเช่นกันถึงขั้นทางไทเกอร์คืนเงินลูกค้า ซึ่งความผิดพลาดของไทเกอร์คือการวางแผนที่ไม่ได้เผื่อเวลา error และเมื่อมีการแก้ไขทำให้ทำงานไม่ได้ตามแผน นอกจากนี้ Customer support ของไทเกอร์ยังไม่มีมาตรฐานเพียงพอที่จะ Service ได้อย่างใจลูกค้าในขณะนั้น

ในแง่ลูกค้าหากลูกค้าไม่เข้าใจเรื่อง Man day ก็อาจมีปัญหาเช่นกัน ลูกค้าหลายเจ้าอยู่บริษัทใหญ่ที่มี Agency ซึ่งได้ Agency fee หลายแสนหลายล้านบาทต่อเดือนและมีการบริการที่ดีมากเนื่องจาก Agency เหล่านั้นได้บวก Man day ไว้ใน Agency Fee แล้ว แต่พอมาทำเว็บราคาไม่แพงก็ยังต้องการบริการแบบเดียวกันเช่นกันทำให้บางคน โทรศัพท์หา AE ของไทเกอร์ทั้งวัน หรือใช้เวลาตอบเมล์แบบลงดีเทลลึกมากโดย AE ต้องใช้เวลาตอบเมล์นึงถึงครึ่งวัน ดังนั้นหากพบลูกค้าดังกล่าวทางบริษัทควรทำ Package การบริการที่ต่างกันให้เลือกตั้งแต่แรก และการจัด package จะทำให้ลูกค้าเข้าใจโดยธรรมชาติครับ

ตัวอย่างการจัด Package ให้ลูกค้าแบบทำแล้วจบงานเลย

  • Package ที่ 1 ทำงานเดือนละ 25,000 ต่อเดือน ตาม requirement เริ่มแรก น่าจะทำเสร็จใน 4 เดือน และโทรศัพท์ติดต่อได้ในวันธรรมดาเวลา 13:00-14:30 เท่านั้น
  • Package ที่ 2 ทำงานเดือนละ 40000 บาทต่อเดือน (โปรเจ็คเดียวกัน) ตาม requirement เริ่มแรก น่าจะทำเสร็จใน 2 เดือน โทรศัพท์ติดต่อได้ทั้งวัน เป็นต้น

ซึ่งลูกค้าเห็นราคาแล้วจะเข้าใจทันทีว่า ที่ Package ที่ 1 ราคาถูกกว่าเพราะเราจัด Man day ให้โปรเจ็คน้อยกว่าจึงทำให้เสร็จช้ากว่า

ตัวอย่างการจัด Package ให้ลูกค้าแบบทำเว็บเสร็จบริหาร Content ต่อ

  • เดือนที่ 1-2 Wireframe and Design
  • เดือนที่ 3 CSS HTML
  • เดือนที่ 4 – 12 Blog and Social Media implementation

โปรเจ็คใหญ่มากก็สามารถคิดแบบรายเดือนได้

โปรเจ็คประเภทเว็บ System หรือ Social Commerce ขนาดใหญ่ก็สามารถทำเว็บรายเดือนได้เช่นกัน โดยเป็นลักษณะการจัดสรร Resource ตาม Rate Card ที่ลูกค้าซื้อครับ ลองดูที่ Rate ราคา manday ไทเกอร์ไอเดีย ด้านล่างสมมติว่าลูกค้าซื้อเวลาทั้งหมด 60000 บาทต่อเดือน จะสามารถจัดสรร System Analyst, Programmer, Art Director ลงไปได้ตามส่วนครับ และเดือนต่อๆไปก็สามารถนำเวลาทั้ง 60000 บาทไปลงกับ Content Copywriter แทนได้เช่นกัน

ทำไมผมถึงนำวิธีการทำเว็บรายเดือนมาแชร์ ?

เพราะว่าผมเองคิดว่า วิธีการทำงานแบบนี้มีประสิทธิภาพที่สูงกว่า และเป็นธรรมกับทุกฝ่ายทั้งลูกค้าและบริษัททำเว็บครับ Business การทำเว็บและการบริหารข้อมูล เป็น Business แบบพิเศษจริงๆ การทำงานแบบดั้งเดิมเองผมคิดว่าเป็นวิธีที่ไม่ค่อยเหมาะสมกับงานที่ Dynamics และต้องก้าวไปข้างหน้าตลอดเวลาของเว็บไซต์ เลยอยากให้เพื่อนๆบริษัททำเว็บและฟรีแลนส์ ลองพิจารณาดูเพื่อร่วมสร้างมาตรฐานใหม่กันครับ 🙂