อยากทำโครงการออนไลน์ มีแต่ไอเดียและจ้างคนอื่นทำหมด เจ๊งนะ!

หมายเหต ภาพประกอบไม่เกี่ยวกับบทความนี้แต่อย่างใด ที่มา www.thaimarch.com/index.php?topic=13479.15
หมายเหต ภาพประกอบไม่เกี่ยวกับบทความนี้แต่อย่างใด ที่มา www.thaimarch.com/index.php?topic=13479.15

การทำโปรเจ็คเว็บไซต์ขนาดใหญ่ จ้างคนอื่นทำอย่างเดียวเจ๊ง ต้องมี in house ด้วย

ที่ผ่านมาทางทีมงานได้ order หลากหลายจากลูกค้า โดยมีลูกค้าบางกลุ่มมีโมเดล business ทาง internet ในใจเช่นบางคนอยากเป็นศูนย์กลางการ?ซื้อขายของเฉพาะด้าน (Classified) หรือบางคนต้องการทำ
ร้านค้าออนไลน์ครบวงจร (e-commerce) บางคนต้องการเป็นตลาด และมี social network ในตัวด้วย

จากนั้นลูกค้าก็จะเรียกบริษัททำระบบและทำเว็บเข้าไปคุย บางบริษัทก็เสนอราคาเป็นโปรเจ็ค บางบริษัทก็อาจเสนอราคาเป็น manday ซึ่งการเสนอราคาอย่างหลัง มักไม่ค่อยได้รับการจ้างเพราะลูกค้าเองไม่แน่ใจว่าตนเองจะต้องจ่ายรวมแล้วเท่าไหร่ แต่ท้ายที่สุด ลูกค้าที่เลือกจ่ายเป็นโปรเจ็คกลับมัปัญหาระหว่างผู้รับจ้างและผู้จ้างมากกว่าเพราะ requirement งอกออกมา ( การทำเว็บใหญ่แล้ว requirement เพิ่มขึ้นไม่แปลก มันเป็นกฎซะด้วยซ้ำ )

ในขณะที่การจ้างทำโปรเจ็คใหญ่โดยที่ตัวลูกค้าเองนั้นมีเพียงไอเดีย และไม่มี business ที่เป็นจุดแข็งอยู่แล้วและต้องการนำ internet มาต่อยอด โครงการจะเจ๊งทุกรายครับ

เว็บไซต์เหมือนองค์กร ต้องพัฒนาต่อเนื่อง ต้องรื้อและทำใหม่ ไม่สามารถทำครั้งเดียวเสร็จ

Business Model ที่ให้คนอื่นสร้างให้ยากที่จะประสบความสำเร็จได้ครับ เพราะ IDEA นั้นไม่สำคัญ แต่สำคัญที่ Implementation ต่างหาก ( วาทะ Guy Kawasaki ข้อ 8 ) หลายอย่างเกิดขึ้นโดยความบังเอิญ เช่นใครจะรู้ว่า Flickr ไม่ได้ต้องการเป็นเว็บ community ด้านรูปภาพ แต่กำเนิดจากการตั้งใจจะทำเกมส์ต่างหาก แต่ฟังก์ชั่นเก็บรูปได้รับความนิยมมากจึงถูกพัฒนาขึ้นมา (อ้างอิง @Jakrapong)

การทำเว็บไซต์ขนาดใหญ่จึงไม่เหมาะแก่การจ้างเป็นโปรเจ็คสำเร็จรูป

การ implementation สำคัญเพราะเราจะไม่มีทางรู้ภาพรวมเลยว่า เว็บเราจะได้รับความนิยมหรือไม่? user friendly ที่ดีมาจากการ research และรับ feedback จากลูกค้าไปเรื่อยๆ ปรับปรุงไปเรื่อยๆ แม้แต่ facebook ก็ยังปรับเปลี่ยนรูปแบบมาเรื่อยๆ ดังนั้นลักษณะการทำเว็บไซต์ขนาดใหญ่จึงไม่เหมาะแก่การจ้างเป็นโปรเจ็คสำเร็จรูป คุณอาจเถียงว่าเว็บราชการก็จ้างเป็นโปรเจ็คสำเร็จรูปนี่นา แต่ผมก็ถามกลับได้ว่ามีเว็บราชการไหนที่ Work และมีคนใช้จำนวนมากตั้งแต่การสร้างครั้งแรกเสร็จเรียบร้อยบ้าง?

แล้วจะแก้ไขหรือพัฒนาเว็บอย่างไรดี?

1. ธุรกิจของคุณ หรือตัวคุณต้องมีจุดแข็งสักอย่างก่อน

ค้นหาจุดแข็ง แล้วพัฒนาให้จุดแข็งของคุณนั้นสามารถที่จะต่อเชื่อมกับ Model Business ของคุณได้ อย่าเล็งผลเลิศจากการสร้างระบบออนไลน์เพียงอย่างเดียว กรีณีนี้ผมเคยเขียนไว้ในบล็อก One2Car ระบบต้องมาควบคู่กับการสร้างมาตรฐานการบริการ จะเห็นว่า one2car มีจุดแข็งที่”ช่างกล้องและการบริการจัดระเบียบถ่ายรูปรถ” และ การสร้างตลาด เริ่มด้วยการสร้าง Demand อาจง่ายกว่าเริ่มด้วยระบบ

2. ควรลงทุนกับพนักงานประจำเมื่อต้องทำโครงการใหญ่

ลองพิจารณาการทำโครงการให้ประสบความสำเร็จเพียง phase ที่ 1 อาจใช้ manday มากมายตั้งแต่ Art Director, System Analyst, Designer, Programmer ราคาก็แน่นอนว่าถ้าให้ถูกต้องตาม Business Model ของคนทำเว็บราคาน่าจะ 300,000 บาทขึ้นไปแน่นอนครับ และในจำนวน manday ที่แพงเหล่านี้ มีบางตำแหน่งที่เราใช้เค้าเพียงครั้งเดียวเช่น Art Diector ส่วนที่เราจะใช้ไปตลอดเพื่อปรับปรุงแก้ไขก็คือ Programmer

ดังนั้นตำแหน่งอย่างโปรแกรมเมอร์ควรเป็นตำแหน่งที่เจ้าของไอเดียควรจ้างไว้เป็นพนักงานประจำ เบื้องต้นอาจจะจ้างเพียงคนเดียวหรือให้เพื่อนร่วมหุ้นของคุณทำก็ได้ โดยเป็นตัวแทนของฝ่ายเจ้าของไอเดียในการช่วยคุยกับผูรับจ้างทำ และเป็นผู้ช่วยเก็บองค์ความรู้ในกรณีต้องเปลี่ยนผู้รับจ้างทำในอนาคตได้ นอกจากนี้ยังช่วยประเมินความเสี่ยงให้คุณได้อีกด้วยครับ ลองพิจารณาเงินเดือนรวมของเค้าหนึ่งปีอาจน้อยกว่าราคาโปรเจ็คอยู่มากก็ได้

3. การจ้างงานเป็น phase

เพื่อแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่าย และเกิดการดีลกับ Supplier ได้ง่ายขึ้น phase แรกควรเป็น phase แห่งการเรียนรู้ของคุณเอง ตัวอย่างที่ทำได้ง่ายมากเช่นการติดตั้ง blog เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับ domain name ของคุณเอง เป็นการตัดการเสียโอกาสในการรอเว็บไหญ่ที่ไม่รู้จะเกิดขึ้นหรือเปล่าด้วยการทำให้ website มีตัวตน ส่งผลด้าน SEO ที่ดี ณ วันที่ระบบใหญ่ถูกติดตั้ง

และเมื่อคุณได้ค้นคว้า Content ลึกลงไปใน keyword field ที่คุณเองต้องการทำธุรกิจ Community เล็กๆจะเกิดขึ้น และความเป็นตัวจริงของเราก็จะตามมาทั้งในมุมมองของคนภายนอก และตัวเราเองจริงๆครับ

ส่วน phase ต่อมาอาจเป็นการลง plugin สำเร็จรูปเพื่อทดลอง และหากลุ่มตัวอย่างหรือหน้าม้ามาอัด Content , การซื้อขายจำลองในเว็บไซต์เข้าไปเพื่อเรียก traffic ฯลฯ ก่อนจะรื้อและทำระบบที่ใกล้เคียงความต้องการมากขึ้นเรื่อยๆต่อไป ตามหลักการทำงานทางธุรกิจ เราควรจะลงทุนต่อยอดจากรายได้ที่เริ่มเข้ามา มากกว่าลงทุนตูมเดียวก้อนใหญ่ในครั้งแรก เพราะถ้า resource ไม่จำกัด model business ที่ถูกต้องจะไม่เกิด

สำหรับไทเกอร์ไอเดียนั้น มีให้บริการการทำงานสำหรับโปรเจ็คใหญ่ๆอยู่สองแบบครับคือ Design & CSS editting ซึ่งขั้นตอนนี้ทางทีมงานจะวิเคราะห์ Business Model ก่อนหาระบบและ System Architecture ที่เหมาะสมให้พร้อมทั้ง Design โดยใช้ประสบการณ์ของ Art Director อย่าง @iMenn เป็นผู้ design first draft ก่อนจะแจกจ่ายให้ Designer และให้ @rabbitinblack ซึ่งเป็นผู้เชียวชาญ CSS editting เป็นผู้ทำงานต่อจาก phase design ก่อนจะประสานงานกับ Programmer ฝั่งลูกค้าในการติดตั้งและ implementation ปรับปรุงต่อไปด้วยตนเองได้ ลองดูงานที่ผ่านมาใน https://ipattt.com/tag/tigeridea/
และ rate ราคาแบบ manday ของไทเกอร์ไอเดีย
อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญด้าน Information Architecture ในไทยนั้นมีน้อยมากครับ ผมแนะนำ @malimali หรือที่ blog http://iamia.wordpress.com/

ตัวอย่างขั้นตอนการทำงานโครงการเว็บไซต์ขนาดใหญ่

1. Website WireFrame โดย @malimali team ร่วมกับลูกค้าเจ้าของไอเดีย
2. Web Design โดย TiGERiDEA
3. CSS Editing โดย TiGERiDEA
4. Systems Integration โดย in house ของลูกค้าเอง (ภายใต้การให้คำปรึกษาของไทเกอร์ไอเดีย)
5. Review and Improvement

สำหรับเว็บไซต์ที่ลูกค้าล้วนมี in house programmer อยู่แล้วและเคยทำงานร่วมกับ TiGERiDEA ได้แก่ Thailand YellowPages, Prakard Property , One2Car , digital2home และ painaidii