กรณี OpenOffice :การพูดถึง Bug ไม่ตรงประเด็นและอาจทำให้เสียหาย

การพาดหัวหนังสือที่ค่อนข้างแรงและไม่เป็นธรรมต่อ Open Office
การพาดหัวหนังสือที่ค่อนข้างแรงและไม่เป็นธรรมต่อ Open Office

จากเหตการณ์ที่มีข่าวประชาสัมพันธ์ “PC World เตือนผู้ใช้ OpenOffice ระวังข้อผิดพลาดจากโปรแกรมในช่วงเร่งฟื้นฟูกิจการ” และมีการตอบโต้จากหน่วยงานหลายหน่วยงาน

รวมบทความตอบโต้การกล่าวอ้างดังกล่าว

ข้อความจาก แคมเปญ ดิสเครดิต OpenOffice.org และ Open Source ในไทย
โดย @Osdev ลองเข้าไปดูได้ครับ

กรณี OpenOffice ข้อสังเกตเจตนาในหนังสือ, ไม่ใช่บทความเชิงเทคนิค:

1. เป็น บทความ bug review ฉบับแรกในโลก
2. ภาษาประชดประชันที่ใช้เช่น “ช้าได้อีก” “ข้อมูลสยองขวัญ” นั้นผิดปกติมากสำหรับ technical writer ในนิตยสารสำหรับ IT professional อย่าง PC World
3. ผู้เขียนไม่ศึกษาการใช้งานหรือถามในฟอรัมที่ใดเลย ซึ่งผิดวิสัย technical writer คำตอบในแต่ละปัญหามาจากที่ Osdev เขียนไปให้
4. ก่อนจะเป็นบทความ เขาทำเป็นคลิป screencast บันทึกเสียงบรรยายคุณภาพระดับมืออาชีพนำขึ้น YouTube ก่อนจะลบทิ้งทันทีที่ Osdev เขียนตอบ ข้อสังเกตคือนำขึ้น YouTube เพื่ออะไร จะมีประโยชน์กับใครในเมื่อคลิปแสดงวิธีทำให้เกิดปัญหา ไม่ใช่วิธีแก้ปัญหา คลิปเกือบทั้งหมดผมมีต้นฉบับเป็น AVI ในกรณีที่ท่านไหนอยากดู
5. ปัญหาส่วนใหญ่มาจากการค้นหา bug report แล้วสร้างวิธีการใช้งานตามนั้นให้เหมือนกับว่าเป็นการใช้งานของผู้ใช้จริงๆ
6. ปัญหาทั้งหมด Osdev ได้เขียนตอบความเข้าใจผิดของผู้เขียนไปหมดแล้ว แต่ผู้เขียนเพียงนำคำตอบของ Osdev ไปเขียนปัญหาให้แนบเนียนขึ้นเท่านั้น
7. ปัญหาอีกส่วนหนึ่งมาจาก bug report ที่ Osdev เสนอ SIPA และ NECTEC เพื่อขอสนับสนุนทุนในการพัฒนาแก้ไข

กรณี OpenOffice บทความจาก thaiOpenSource.org

อันนี้เป็นอีกบทความ หัวข้อประชดประชัน ประเทศไทยไม่เหมาะกับ Free Software และ Open Source Software (แต่เหมาะกับการใช้งานซอฟต์แวร์ที่คุ้นเคยและยินดีที่แคร๊กได้เท่านั้น!)

เป็นเรื่องที่น่าตกใจ คนไทยแยกระหว่าง Software Feature กับ Bug ไม่ออก ตัวอย่างเช่น

โปรแกรม A ทำงานได้ไม่เหมือนโปรแกรม B หรือทำงานได้เหมือนกันแต่ทำงานหลายขั้นตอนกว่า ก็สรุปว่าเป็น Bug
โปรแกรม A ทำงานไม่ได้เหมือนโปรแกรม B ก็สรุปว่าเป็น Bug
โปรแกรม A ทำงานไม่ได้ครบเท่าโปรแกรม B ก็สรุปว่าเป็น Bug

กรณี OpenOffice ลงข่าวไทยรัฐ

แจงปัญหาบั๊ก โอเพนออฟฟิศ กล่าวหาเกินจริง

บก.บห.โอเพนซอร์สทูเดย์ ระบุ ข้อมูลของพีซีเวิล์ดเกี่ยวกับ 21 Bug ผิดพลาดเหมือนดิสเครดิต ชี้ ซอฟต์แวร์ทุกตัวมีบั๊ก แต่ความผิดพลาดบางข้อนั้นไม่ใช่ ย้ำโอเพนซอร์สรัฐต้องสนับสนุน ให้เป็นซอฟต์แวร์ของชาติ

กรณี OpenOffice ใน Boss

บทความในเว็บไซต์ Business for Opensource Society กรณี Bug ใน OpenOffice

น่าจะเกิดความเข้าใจที่ผิดในเรื่องของการสนับสนุนจากทางภาครัฐจริงๆ แล้วภาครัฐเองไม่ค่อยได้ทุ่มเงินงบประมาณมาในส่วนของโอเพนซอร์สสักเท่าไร โอเพนซอร์สหลายๆ อย่างเกิดจากการต่อยอดของนักวิจัยไทย

ซอฟต์แวร์มีบั๊กจริงแต่ที่แสดงออกมาบางอย่างไม่ใช่บั๊ก นักคอมพิวเตอร์ทุกคนตลอดจนผู้ใช้งานรู้กันอยู่ว่าไม่มีซอฟต์แวร์อะไรที่ไม่มีบั๊กแต่การแยกบั๊กกับเรื่องการใช้งานไม่ถูกวิธี ควรจะต้องแยกกันให้ออกหรือบางครั้งการใช้งานผิดประเภทของซอฟต์แวร์ก็มักจะมีให้เห็นกันอยู่มากมาย

แถมบทความจากพี่บังครับ ลองอ่านที่

จงภูมิใจที่เลือกใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส

บริษัทที่หยิบมาใช้ Implement งานให้ลูกค้าก็เช่นกัน
ก็ควรต้องทำให้ถูกต้องอย่ามักง่่าย รู้จักเคารพให้เครดิต
กับคนพัฒนาด้วยเช่นกัน

มาเถอะครับมาช่วยกันสร้างวัฒนธรรมการใช้งานโอเพนซอร์สที่ถูกต้องกันดีกว่า
ใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส อย่างถูกต้อง ถูกลิขสิทธิ์ไม่ต้องหลบๆ ซ่อนๆ
แต่จงอายที่จะใช้ ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์

กรณี OpenOffice ข้อคิดเห็นของผม

เทคโนโลยีนั้นมีจุดเด่นและจุดด้อยต่างกันไป ค่าใช้จ่ายก็ต่างกันไปด้วยครับ การเปรียบเทียบไม่ควรใช้บรรทัดฐานเดียวกันและไม่ควรตั้งเป้าโจมตีประเด็นที่ Sensitive , OpenOffice นั้นมีการใช้งานมานาน มีส่วนแบ่งการตลาดที่มีนัยสำคัญ แน่นอนว่า Spec ของมันย่อมเหมาะกับหน่วยงานบางหน่วยหรือองค์กรบางประเภท ส่วน software ประเภทที่ต้องจ่ายเงินอย่าง Excel feature ก็แน่นอนว่าเยอะกว่า ในแง่ของฝ่ายบัญชีหลายบริษัทก็ยังใช้ผลิตภัณฑ์ของ MS เนื่องจาก features ที่รองรับ แต่ในองค์กรเดียวกันสำหรับแผนกอื่นถ้าต้องการการลงทุนที่สมเหตสมผลก็สามารถพิจารณาใช้ OpenOffice ก็ได้เช่นกัน ไม่มีเหตผลที่ต้องลงทุนสูงให้ ROI ต่ำครับ จึงอยากให้องค์กรต่างๆลองพิจารณาที่จุดนี้ด้วย

กรณีการขาดการสนับสนุนอย่างจริงจังจากรัฐบาลก็เป็นเรื่องสำคัญของ Open Source ไทยเช่นกัน ถ้ามองอย่างผิวเผิน การใช้ Open Source อย่างถูกต้องแน่นอนว่าจะช่วยลดการนำเข้า Software ราคาสูงและยังช่วยสร้างงานสร้างความสามารถทางด้าน IT ในเมืองไทยอย่างไม่ผูกขาด ( เพราะ Source Code ที่เปิดเผยทำให้เกิดการเรียนรู้ และเข้าใจในเทคนิคของการพัฒนาซอฟต์แวร์ซึ่งจะเป็นตัวอย่างที่ดีให้โปรแกรมเมอร์ ) นอกจากนี้องค์กรที่ทำงานด้าน OpenSource สามารถเลี้ยงตัวเองได้และร่วมพัฒนา Open Source กลับคืนสู่โลก…
ประเทศไทยในอดีตเคยมีการประกาศว่ารัฐบาลต้องการดำเนินการด้าน Open Source อย่างจริงจัง แต่เมื่อมีการเจรจา”ในวงแคบ”ระหว่างผู้ผลิต Software ชื่อดังกับรัฐมนตรีที่รับผิดชอบโครงการในแต่ละท่าน เรื่องเปล่านั้นก็เงียบหายไป น่าเสียดายที่ในองค์กรขนาดใหญ่ทั่วไปก็จำลองโมเดลของรัฐบาลนั้นมาใช้ด้วยเช่นกัน 🙁

ตัวอย่างกระแสนิยม OpenSource ในต่างประเทศ

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ staff.buu.ac.th/~seree/nu/Oss-nu1.ppt

เวียดนาม:

* ประกาศเร่งพัฒนาและส่งเสริมการใช้ ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สภายใน 5 ปี
* RedHat Vietnam Edition (based on RH 7.1)
* Vietkey Linux

อินเดีย:

* เอพีเจ อับดุล คาลาม (A.P.J. Abdul Kalam) ประธานาธิบดีอินเดีย หนุนซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ส โดยกล่าวว่าซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ส ช่วยให้ประเทศกำลังพัฒนา เช่น อินเดีย มีโอกาสก้าวได้ทัดเทียมกับชาติตะวันตกหรือประเทศที่พัฒนาแล้วทั่วโลก

ไต้หวัน

o โครงการซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส เริ่มปี 2546 มีเป้าหมายเพื่อประหยัดเงิน 295 ล้านเหรียญสหรัฐในการจ่ายค่าสิทธิ์ (royalty) ให้กับไมโครซอฟต์ โครงการนี้รวมถึงการวิจัยและพัฒนาซอฟต์แวร์สำนักงานโดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ ในประชาคมซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส
o นอกจากนี้ยังมีแผนในการจัดตั้งศูนย์ ฝึกอบรม 6 แห่งทั่วไต้หวัน เพื่ออบรมนักพัฒนาซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส คาดว่าภายใน 3 ปี ศูนย์ฝึกอบรมดังกล่าว จะให้การอบรมระดับผู้ใช้ทั่ว 120,000 คน และผู้ใช้ระดับก้าวหน้า 9,600 คน

เยอรมัน

เทศบาลเมืองมิวนิก ประเทศเยอรมนี ได้ประกาศอัพเกรดคอมพิวเตอร์จำนวน 14,000 เครื่อง จากระบบ Windows ไปเป็น Linux รวมถึงเปลี่ยนชุดซอฟต์แวร์ออฟฟิศจาก Microsoft Office ไปเป็น OpenOffice ด้วย คิดเป็นมูลค่า 30 ล้านยูโร (ประมาณ 1.5 พันล้านบาท)