ดีไซน์ที่ดี ต้องออกมาจากเผด็จการ : Art Director

ถ้านี่คือรสนิยมของลูกค้าของคุณ คุณก็ยังยอมให้เค้าช่วยออกความเห็นหรือ ?
ถ้านี่คือรสนิยมของลูกค้าของคุณ คุณก็ยังยอมให้เค้าช่วยออกความเห็นหรือ ?

อ่านบทความของ Stephen Bayley ในหนังสือ Car (เรียบเรียงโดย Pansawat Paitoonpong) ได้กล่าวว่า ถ้ารถถูกออกแบบโดย Twitter มันก็ไม่น่าเรียกว่าได้รับการออกแบบมาจริงๆ ผมเห็นด้วยพอสมควรนะ ข้อความด้านล่างมีอ้างอิงจากบทความนี้ด้วยครับ

ดีไซน์ที่ดี กับทีมดีไซน์

การออกแบบงานชิ้นใหญ่ๆอย่างเช่นรถยนต์,ตึกหรือแม้กระทั่งเว็บไซต์นั้นก็เหมือนกันกับดนตรี ภาพยนตร์ และสิ่งอื่นๆ ที่เป็นเอกลักษณ์แห่งวิถีชีวิตสมัยใหม่ซึ่งเกิดจากการกลั่นกรองทางความคิดและทำงานร่วมกันในลักษณะทีมเพื่อการผลิต บางครั้งจะต้องมีทีมในการออกแบบที่ใหญ่ และต้องรวบรวมความคิดหลากหลายพร้อมข้อจำกัดต่างๆเพื่อมาออกแบบ เว็บไซต์ที่ดูแล้วใช้ยาก บางทีก็เกิดจากฝ่ายต่างๆชี้นิ้วสั่งว่าตนเองต้องการอย่างนั้นอย่างนี้ ต้องเด่นเสมอกันหมด โดยต้องประกบด้วย CI ( Corporate Identity ) เว็บก็เลยออกมาไม่สวย หรือลักษณะที่ขัดตาบางอย่างของรถนั้นอาจไม่เกิดจากนักออกแบบแต่เกิดจากทีมวิศวกรที่ชี้นิ้วสั่งงานก็ได้ครับ เช่นนักออกแบบอยากได้กระจกบานใหญ่มากๆ วิศวกรก็บอกว่าต้นทุนจะสูงมากและปรับลดขนาดลง

ถ้าให้ทุกคนรวมหัวออกแบบรถบัสคนละส่วนโดยตั้งโจทย์ว่า ให้สปอร์ตเหมือน Lambo คงเป็นงี้
ถ้าให้ทุกคนรวมหัวออกแบบรถบัสคนละส่วนโดยตั้งโจทย์ว่า ให้สปอร์ตเหมือน Lambo คงเป็นงี้

ความสามารถของ Art Director

ในความจริง นักออกแบบที่เก่งมากในระดับ Art Director นั้นจะต้องนำเอกลักษณ์ที่อยู่ในจินตนาการมาใส่ในสิ่งที่ตนออกแบบให้ได้มากที่สุด โดยจะต้องมีเหตผลพอที่ทำให้ทุกคนที่มีส่วนในการผลิตนั้นคล้อยตามกันไปได้ ดังนั้นถ้าเกิดมีรูปแบบดีไซน์หรือแรงบันดาลใจที่โดนใจจริงๆในครั้งแรก มันก็จะถูกทำออกมาจนได้ครับ เหมือนกับการสร้างหนังหนึ่งเรื่องที่คนทำเป็นร้อยแต่ผู้กำกับมีได้คนเดียวเท่านั้น

น้องๆ Designer หลายคนที่เคยทำงานที่ไทเกอร์ (ครั้งเมื่อบริษัทยังใหญ่โต) บางครั้งไม่เข้าใจว่าพี่ที่เป็น Art Director ทำไมถึงได้เงินเดือนเยอะทั้งที่ skill ในการใช้โปรแกรม Adobe ไม่ได้ต่างจากพวกเค้าเลย ความจริงแล้วมันต่างตรง Director สามารถโน้มน้าวลูกค้าและจบงานได้ด้วยตนเองโดยคงคุณภาพงานออกแบบไว้ได้นี่เองครับ

การดีไซน์เป็นแนวคิดปัจเจก

ความคิดสร้างสรรค์ในลักษณะนี้ไม่ได้เกิดจากการเอาคนกลุ่มหนึ่งมานั่งถกกัน มันเป็นสิ่งที่อธิบายได้ยากและทำนายได้ยาก และไม่สามารถจัดการอย่างเป็นระบบได้ทั้งหมด Charles Eames พูดไว้ว่า “เราไม่แคร์หรอกว่าจะมีข้อจำกัดบ้างแต่เราคงไม่ยอมถ้าจะต้องปรับดีไซน์เพื่อเอาใจใคร” นี่เป็นวิธีคิดแบบปัจเจกชน ดังนั้นกระแสยุคใหม่ที่ทำความคิดของลูกค้ามาใช้ในการออกแบบนั้นไม่น่าจะใช่สิ่งเรียกได้ว่าเป็นการออกแบบขนานแท้

เลือกคนดีไซน์ แต่อย่าบังคับคนดีไซน์

ดังนั้นทางออกสำหรับลูกค้าล่ะ ? ลูกค้า ( รวมถึง Agency ด้วย) ควรจะรู้จักนักออกแบบดีพอ นักออกแบบหลายคนก็มีประสบการณ์ในการศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคมาพอสมควร บางคนถนัดออกแบบลายเส้น บางคนเก่งขาวดำ บางคนออกแบบเชิงวิศวกรรม บางคนติสต์หลุดโลกผลงานเตะตาแต่ใช้ยาก งานแต่ละงานของนักออกแบบนั้นสะท้อนให้เห็นถึงอารมณ์ความรู้สึกของแต่ละคน เราควรเลือกใช้ให้ถูกคนนั่นเองครับ งานออกแบบชั้นดีก็สมควรที่จะถูกออกแบบโดยคนที่มีใจให้กับการออกแบบนั้นๆ ไม่ใช่เอาความเห็นใครมายำใส่ก็ได้นะ

ลิงก์ที่น่าสนใจ การ์ตูนล้อเว็บดีไซเน่อร์ ฮามากครับ

ภาพแถม การออกแบบบางครั้งให้ผลที่คาดไม่ถึง
ภาพแถม การออกแบบบางครั้งให้ผลที่คาดไม่ถึง
follow @ipattt
follow @ipattt