พี่บัง @Joomlacorner กับเส้นทางเพื่อสังคม

ช่วงนี้ทางไทเกอร์มีงานร่วมกับ Marvelic อยู่บ้างครับ (ประสาบริษัทเล็ก ร่วมงานกับคนอื่นไปเรื่อย 😛 ) ทำให้ได้รู้จัก พี่บังและทีมงานมากขึ้นเรื่อยๆ ผมเองก็นับถือพี่บังและทีมงานในฐานะผู้บุกเบิกวงการ Open source ไทยมานาน

อ่านเจอบันทึกเก่ามากๆจาก http://fire2rescue.com/krit/ เป็นเว็บที่พี่บัง @joomlacorner ทำไว้ช่วงแรกๆ ลองอ่านเหตุการณ์ต่างๆดูจะรู้สึกถึงสำนวนในวัยหนุ่มได้ดีครับ 😛 ( รวมบล็อก ) แต่หลังจากได้มาจับ mambo ทำ open source ก็เลยไม่ได้อับเดดเว็บ fire2rescue.com อีกเลย แต่เว็บนี้ก็ได้เป็นต้นแบบให้กับ www.fire2rescue.net ในเวลาต่อมา

พี่บังในชุดกันไฟ
พี่บังในชุดกันไฟ

พี่บังกับงานด้านอาสาสมัคร

พี่บังแต่ก่อนชื่อ กฤษดา ตำราเรียง และได้เปลี่ยนชื่อเป็น อัครวุฒิ เป็นคนที่ทำงานด้านอาสาสมัครอย่างจริงจัง ก่อนที่จะเริ่มควบคู่มากับงาน IT ตลอด โดยงานอาสาสมัครในช่วงแรกๆนั้นทำเป็นงานด้านอาสาสมัครบรรเทาสาธารณภัย ซึ่งมีภารกิจที่พวกเราชาว IT นึกไม่ถึงอย่างเช่นไปดับไฟ หรือช่วยงานในเหตุด่วนเหตุร้าย จนถึงปัจจุบันตำแหน่งตอนนี้ ในสมาคมอาสาสมัครบรรเทาสาธารณภัยแห่งประเทศไทย พี่บัง เป็นผู้อำนวยการฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ

พี่บังหมดแรงหลังซ้อมดับเพลงขั้นสูง
พี่บังหมดแรงหลังซ้อมดับเพลงขั้นสูง

พี่บังเล่าให้ฟังว่า เมื่อก่อนขับรถกระบะติดไซเรน ศุกร์ เสาร์ ถ้าตรงกับเวรร่วมกตัญญูก็จะเข้าเวร กลับเข้าบ้านก็เช้าอีกวัน เหตุที่ทำอาสาสมัคร เพราะเมื่อก่อนไม่มีร่วมด้วยช่วยกัน ไม่มี taxi อาสามากขนาดนี้ เวลามีคนเจ็บมีอุบัติเหตุก็มีแต่ไทยมุงแต่ไม่มีใครกล้าช่วย หรือรับคนเจ็บไปส่งโรงพยาบาล (มีเงินก็เรียกแท็กซี่ไม่ได้) เนื่องจากอยากช่วยเหลือก็เลยได้เข้าไปเป็นอาสาสมัคร ก็เข้าอบรมหลักสูตร กู้ชีพ , ดับเพลิง การทำอาสาสมัครนั้นต้องลงทั้งแรงและทรัพย์่ส่วนตัว พีบังเล่าให้ฟังว่าเมื่อก่อนพวกเราอาจจะมองว่าพวกอาสาสมัครนี่แหละที่รุมทึ้งหรือชิงทรัพย์คนเจ็บแต่พอไปคลุกคลีจริงๆแล้ว จึงเข้าใจว่าคนเป็นสาสมัครเขาทำด้วยใจที่จะช่วยเหลือจริงๆ ไม่ได้หวังสิ่งตอบแทนใดๆของคนเจ็บส่วนใหญ่ที่หาย ก็มักจะหายจากไทยมุง ที่ฉกไป ก่อนที่ อาสาสมัครจะเดินทางไปถึงนั่นเอง สมาคมให้เพียงอาร์มติดเสื้อ ปีละ 2อัน แต่รถ ,ค่าน้ำมันรถรวมถึงอุปกรณ์ช่วยชีวิตต่างๆนั้นต้องซื้อกันเอง

ด้านการผจญเพลิงไม่ใช่ทำเล่นๆ อันนี้เป็น certificate หนึ่งในหลายๆอันครับ
joomlacorner-certificate

หนึ่งในการทำกิจกรรมอาสาสมัครก็คือการตั้ง Tsunami?s Temporary Morgue & Data Center ปี 2004

@Joomlacorner , @iamnadia และทีมงานได้ไปช่วยตั้งศูนย์ข้อมูลผู้ประสบภัยซึนามิและร่วมเก็บข้อมูลด้วยครับ คุณนุ่นเล่าให้ฟังว่ามีหน้าที่เปิดปากศพที่นอนเรียงกันในลานเพื่อพิสูจน์ตัวตนจากฟัน หนอนเต็มยั้วเยี้ยไปหมด สำหรับกิจกรรมลองดูรูปจากเอกสารของคุณ Joy Aswalap สำหรับความต้องการของเว็บคือการทำให้เหมือนหน้าค้นข้อมูลสำหรับคนที่ต้องการเซิร์ทหาผู้ประสบภัยที่มาจากต่างประเทศนั่นเองครับ

งานพิสูจน์ศพซึนามิภาคสนามที่ @iamnadia ไปช่วยทำด้วย
งานพิสูจน์ศพซึนามิภาคสนามที่ @iamnadia ไปช่วยทำด้วย
การ set up และตั้งศูนย์ข้อมูลผู้ประสบภัยชั่วคราว
การ set up และตั้งศูนย์ข้อมูลผู้ประสบภัยชั่วคราว

ตัวอย่างเว็บไซต์ค้นหาผู้ประสบภัย Registration for missing persons from Tsunami Thailand

ผลการ search Missing person list - Finland nationality - หนึ่งในผู้สูญหาย
ผลการ search Missing person list - Finland nationality - หนึ่งในผู้สูญหาย

งานด้าน IT และ Open source

ด้านไอทีก็เข้าร่วมเป็นวิทยากรโครงการ Young Webmaster Camp #รุ่น1 ณ มหาวิทยาลัย บูรพา ตั้งแต่ปี 2003 ลองอ่านได้ที่ http://fire2rescue.com/9krit/archives/00000060.html

พี่บังครั้งได้รับเลือกให้เป็นทีมพัฒนาหลัก MSC
พี่บังครั้งได้รับเลือกให้เป็นทีมพัฒนาหลัก MSC

สัมภาษณ์ไทยรัฐและ นิตยสารอีคอมเมอร์ซ สมัยเกี่ยวกับ Mambo มีแนวคิดที่น่าสนใจหลายอย่าง อ่านที่
ถอดหัวใจนักพัฒนา CMS คนไทย หนึ่งในทีมงานพัฒนาระดับโลก

แม้ว่า CMS จะเป็นโปรแกรมประเภทโอเพนซอร์ส ที่ใครๆก็สามารถนำไปพัฒนาต่อได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย แต่ CMS ที่จะพัฒนาตัวเองเพื่อรับใช้นักพัฒนาเว็บไซต์ทางอินเทอร์เน็ตได้ดีนั้น จำเป็นต้องมีการพัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลา

การที่โปรแกรมโอเพนซอร์สใด จะสามารถพัฒนาตัวเองต่อได้ ก็จำเป็นที่จะต้องได้รับการยอมรับและเคารพในสิทธิทางปัญญาของผู้พัฒนาที่อาจ ไม่ต้องการผลตอบแทนเป็นตัวเงินจนร่ำรวยเป็นมหาเศรษฐี

แต่อย่างน้อยที่สุด การยอมรับในความเป็นผู้พัฒนา หรือเงินบริจาคเพื่อให้เกิดการต่อยอดโปรแกรมนั้น ให้ก้าวหน้าไปได้

นอกจากนี้พี่บังยังเคยเขียนเป็นนักเขียนประจำของ TelecomJournal ด้วยในปี 2002

TelecomJournal
TelecomJournal

มุมมองต่อ บิสซิเนสโมเดล เพื่อความอยู่รอดของโอเพ่นซอร์ส

จาก มุมมองของการก่อตั้ง แมมโบฮับ

“ปัจจัยสำคัญของความอยู่รอดนั้นอยู่ที่วิธีการสร้างรายได้ให้กับตัวเว็บไซต์และชุมชนอาสาสมัครที่เข้ามาพัฒนาซอฟต์แวร์”

“ไม่ใช่ว่าทุกอย่างจะเป็นของฟรี โอเพ่นซอร์สคือการเปิดเผยรหัสในการพัฒนาต่อยอด คนที่มีความรู้จะมีความเหมาะสมมาก ความจำเป็นของโอเพ่นซอร์สคือเรื่องของการบริการ บิสซิเนสโมเดลก็คือการบริการ ซึ่งแมมโบฮับเองเป็นต้นแบบที่ดีของนักพัฒนาโอเพ่นซอร์ส และเหมาะกับคนชอบเรียนรู้ คนจะสามารถซื้อเซอร์วิสได้ นั่นหมายความว่านักพัฒนาซอฟต์แวร์ประเภทโอเพ่นซอร์ส จะมีรายได้และสร้างสรรค์ผลงานดีๆ ได้”

“สิ่งที่ภูมิใจสุด ก็คือทีมได้เป็นต้นแบบ ของทำธุรกิจ ใน CMS ให้กับประเทศอื่นๆ เช่น จัดอบรม ฝรั่งไม่เคยคิด แต่เราทำให้เขาเห็น และทำตาม”

สำหรับในเมืองไทยพี่บังเคยเขียนสรุปใน community.joomla.org เกี่ยวกับ Future expectations ดังนี้

In Thailand there are lots of capable software designers and developers. But still only a handful of them have understanding and participating with Project open source. Typically ones will get tie up with income generating activities, and forgot to share or help each other for benefits of people in general. Had one followed sufficiency economy?s principle, one would find happiness and still enjoy working and living. We could have sharing and kind society, it is not necessary based on the affluent of any society but rather based on one?s kind heart and sharing spirit. And that?s the principle of LaiThai team. It always keeps us happy at work and enjoy life.

ตั้งบริษัท Marvelic Engine

Marvelic เกิดจากการรวมตัวกันของผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ MamboHub.com เว็บไซต์ชุมชนของผู้ใช้ Mambo เว็บไซต์แรกของไทย โดยพี่บัง และกลุ่มนักพัฒนาซอฟต์แวร์ Open Source ซึ่งทางทีมงานเป็นหนึ่งในทีมพัฒนาหลัก (Core Team) ของทั้ง Mambo, Joomla และ VirtueMart รวมถึงเป็นผู้พัฒนาโปรแกรมดังกล่าวเป็นภาษาไทย ภายใต้ชื่อ Mambo LaiThai, Joomla Laithai และ Joomla LaiThai Shop ตามลำดับ นอกจากนี้ทีมงานยังเป็นผู้พัฒนา Component/Extension ต่างๆ ที่ใช้กับทั้ง Mambo และ Joomla อีกด้วย โดยระบบที่พัฒนาขึ้นได้ทำการ Contributed ให้กับผู้ใช้ทั้งในและต่างประเทศเสมอมา โมเดลการ Contribute แบบที่บริษัทมาร์เวลิคทำ เป็นของใหม่มาก (เมื่อ 5-6 ปีที่แล้ว) ทำ Community ด้วย แล้วก็เลี้ยงตัวเองด้วย ไม่ได้พึ่งการสนับสนุนจากภาครัฐ ตัวอย่างงานที่ทีมทำตอบแทนคืน open source ในขณะนี้โดยทำร่วมกับฝรั่งเศสและอเมริกา เป็นการช่วยกันพัฒนา http://flexicontent.org/ เป็น CCK (Content Construction Kits) สำหรับแจกใน Joomla!

ได้รับเชิญร่วมงาน JoomlaDay ที่ German ปี 2009
ได้รับเชิญร่วมงาน JoomlaDay ที่ German ปี 2009

Open Source Events

Event ที่ทีมงานพี่บังได้เคยจัดกันมาเพื่อ Contribute สู่ CMS Community นั้นมีมากมายดังนี้ครับ

Events

2004 First Mambo Meeting #1 Keynote Brian Teeman

2005 Mambo on the Beach Keynote Peter Lamon

2006 LaiThai Talk the mixed event Mambo / Joomla! (Rey Gigataras / Samuel Moffatt)

  • LRU Joomla Camp #1

2007 Thailand Open Source Software Festival 2 Days seminar and Show case (Alex Kempkens / Samuel Moffatt)

  • Mambo Training for Police region 7 (240 persons from 150 police stations)
  • JoomlaDay 2007
  • Asia Open Source Software Festival#9 (Samuel Moffatt)
  • LRU Joomla Camp#2v
  • Joomla! Workshop for Ministry of Agriculture and Forestry (www.maf.gov.la) this?s workshop we prepare Joomla 1.0.x Lao localize package full translation frontend and backend
  • Joomla & VirtueMart Workshop at Chiangmai
  • The Northern Open Source Software Festival #2

2008 Seminar on Driving Open Source Using in Software Industry 2008 at Suranaree University of Technology

  • Joomla!Day 2008

2009 ส่วนงานล่าสุด Joomla! Day 2009 ลองดูที่โพส JoomlaDay : Open Source ไม่ได้โตมาเพราะโชคช่วย

รูปถ่ายสำหรับกิจกรรมต่างๆของทีม Marvelic ดูได้ที่ Flickr

สำหรับความเห็นผมคือ ทีม Marvelic เป็นทีมที่มีจุดแข็งเรื่อง Opensource และมีความโดดเด่นในประเทศไทยอย่างมาก ( นึกถึงหน้า @lungkao ลอยเด่นขึ้นมาเลยเชียว 😀 ) แต่ก็ทำให้ Branding ไปในทางการกุศลมีมากเช่นกันดังนั้นชาว OpenSource จึงควรช่วยกัน marketing concept ของการบริการให้ขึ้นมาให้ได้ครับ และธุรกิจการ training นั้นในระยะยาวจะมี Conflict กับธุรกิจการให้บริการอยู่ด้วย จึงควรพิจารณาเรื่องการแยก Business Model ของทั้งสองธุรกิจให้ดี ตัวพี่บังเองเป็นคนที่เข้าถึงได้ง่าย สบายๆ และมีบุคลิก OpenSource Business ในตัวอยู่มากทีเดียวและได้ทำให้ผมรับทราบเรื่องทางสังคม (การเมือง) ของผู้ทำงานเพื่อสังคมอยู่หลายเรื่อง

สู้ต่อไป ชาว Open Source !