ความหมาย Joint venture กับความสำเร็จที่ยังเป็นปริศนาสำหรับคนไทย

Joint venture คืออะไร

Joint venture ( JV ) คือการร่วมกลุ่มในทางเศรษฐศาสตร์ตั้งแต่2กลุ่มขึ้นไปเพื่อทำกิจกรรมทางธุรกิจอย่างใดอย่างหนึ่งที่ทุกกลุ่มเห็นไปในทิศทางเดียวกัน กลุ่มทั้งหมดจะร่วม share ทุนก่อนจากนั้นจึงร่วม share รายได้และรายจ่ายในกิจกรรมดังกล่าว Joint venture สามารถที่จะใช้กับโปรเจ็คโปรเจ็คเดียวก็ได้หรือแม้แต่ร่วมธุรกิจระยะยาวอย่าง FujiXerox ก็ได้ ความแตกต่างของ Joint venture กับ Strategic Alliance อยู่ที่ถ้าเปรียบเทียบกันระหว่าง JV กับ Strategic Alliance ตัวหลังจะมีการรวมกลุ่มแบบหลวมๆและทำกิจกรรมเพื่อเอื้อผลประโยชน์กันมากกว่าที่จะแชร์ต้นทุนและกำไรแบบ JV ครับ กลุ่มที่มาร่วม Joint venture ด้วยกันอาจจะเป็นบริษัท ห้างหุ้นส่วน หรือ partner ก็ได้ แต่ต้องเป็นกลุ่มทางธุรกิจตามกฏหมายและมีความซับซ้อนได้หลายระดับรวมถึงวิธีการจ่ายภาษีด้วย

Joint venture ใช้เมื่อไหร่

Joint venture ตามความนึกคิดของเราจะใช้เมื่อธุรกิจที่มีทักษะต่างๆกันมาร่วมกันทำงานชิ้นหนึ่ง แต่ความจริง Joint venture ส่วนใหญ่มักใช้กับบริษัทที่ลงทุนข้ามชาติ จากผลการวิจัยพบว่า Joint venture มีอัตราการล้มเหลว 30-61% และมีความล้มเหลวตั้งแต่เริ่มต้นหรือภายใน 5 ปีจะค่อยๆหยุดทำกิจกรรมกันสูงประมาณ 60 % (Osborn, 2003) ถ้าเป็นประเทศที่กำลังพัฒนาจะปรากฏว่า Joint venture จะยิ่งมีความไม่เสถียรสูงขึ้นมาก และถ้าเป็น Joint venture กับรัฐบาลก็มีอัตราการล้มเหลวสูงมากเช่นกัน ( ส่วนใหญ่เอกชนจะมีประสิทธิภาพไม่ match กับรัฐบาล ) อย่างไรก็ตาม การล้มเหลวของ Joint venture นั้นมีความสัมพันธ์กับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนเร็วมาก ดังนั้นจุดแข็งของธุรกิจหนึ่งเมื่อเวลาผ่านไปอาจหมดประโยชน์ได้อย่างรวดเร็วนั่นเอง !

อย่างไรก็ตามสำหรับ จีน และอินเดีย นั้นการทำธุรกิจและเปิดตลาดจากต่างชาติต้องเข้าไปในรูปของ Joint venture เพื่อเป็นการบังคับให้เผยแพร่เทคโนโลยีเข้าไปภายในประเทศนั่นเองครับ นี่คือความน่ากลัวของจีนอีกอย่างหนึ่งทีเดียว

Joint Venture ในไทย

Joint venture ในไทยนั้นถ้าวัดกันตามจริงแล้วส่วนใหญ่น่าจะมีประสิทธิภาพไม่มากเพราะคนไทยนั้นไม่ค่อยพยายามเข้าใจกันนั่นเองว่าใครกำลังทำอะไรอยู่บ้าง และไม่เข้าใจเรื่องมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญาของแต่ละบริษัทกันด้วยครับ สำหรับ TiGERiDEA เองนั้นก็เคยมีกรณี Joint Venture ที่ล้มเหลวมาแล้วเหมือนกันดังจะได้เล่าในโอกาสต่อไป ส่วน Case ที่ประสบความสำเร็จของ iSchool นั้นไม่ได้ใช้ JV แต่มีการระดมทุนแบบ Venture Capital ครับ ในส่วนของเคสที่น่าศึกษาของเมืองไทยในเรื่อง Joint venture มักเกิดกับบริษัทในเครือ CP ลองดู Tesco , 7-11 หรือ TRUE กับ Grammy UBC ก็ได้ครับ กรณี AF บางคนถึงกับให้ฉายาว่า TRUE จอมตบ ( สนับสนุนวอลเล่ย์บอล์ลไงครับ อย่าคิดมาก 😛 ) อย่างไรก็ตาม “ความเคี่ยว” ในทัศนะคติของคนไทยก็มักจะเกิดกับบริษัทที่โด่งดังและอยู่ยงคงกระพันมาถึงทุกวันนี้ได้ ทำให้ผมชักไม่แน่ใจว่า ที่ว่าบริษัทนู้นบริษัทนี้ “ไม่เคี่ยว” นั้นเป็นเพราะ”มีคุณธรรม” “ไม่ใช่มืออาชีพ” หรือว่าประกอบกิจการด้วย”โมเดลธุรกิจพิศดาล”กันแน่ -_-”

จุดประสงค์ที่ทำ Joint Venture

เหตุผลภายใน

1. สร้างจุดแข็งจากแต่ละบริษัท
2. กระจายต้นทุนและความเสี่ยง
3. เพิ่มศักยภาพในการเข้าถึง Finance
4. Economies of scale ความประหยัดจากขนาด
5. ได้รับเทคโนโลยีใหม่และลูกค้ารายใหม่ๆ
6. ได้รับตัวอย่างการบริหารงานทางนวตกรรมใหม่ๆ

ความสามารถในการแข่งขัน

1. สร้างโครงสร้างให้มีอิทธิพลต่อการพัฒนา
2. เติมเต็มความสามารถในการแข่งขัน
3. ป้องกันหรือทำให้กำแพงระหว่างอุตสาหกรรมลดลง
4. สร้างหน่วยที่มีความสามารถในการแข่งขันสูงขึ้น
5. Speed ในการเข้าตลาด
6. เพิ่มความแข็งแกร่ง (agility)

เป้าหมาย เชิงกลยุทธ์

1. รวมกันแล้วได้มากกว่ามูลค่าของผลรวม (Synergies)
2. การถ่ายทอดเทคโนโลยีและ Skill
3. เพิ่มความหลากหลายในหน่วย (Diversification)

อ้างอิงบทความข้างต้นจาก wikipedia )

ความเห็นของผมต่อ JV

ผมคิดว่าในยุคที่ธุรกิจแตกเป็นหน่วยย่อยลงเรื่อยๆนั้น การที่จะสามารถแตกหน่วยย่อยลงไปได้หมายถึงตัวเราต้องเป็นที่รู้จักก่อน ( Registimate ) ว่ามีเราอยู่จากนั้นจึงสามารถที่จะแตกแยกย่อยได้ แต่ถ้าเราเป็นตัวเล็กในตลาดที่ต้องมี Value จากการร่วมขับเคลื่อนด้วยธุรกิจคนอื่นและอาจมีคู่แข่งที่ไม่ทราบสภาวะตลาดที่ชัดเจน การทำ JV ก็เป็นทางเลือกที่เหมาะสม สำหรับบริษัทขนาดเล็กการทำ JV ให้สำเร็จได้ผู้บริหารต้องมีวุฒิภาวะสูงและมีความเข้าใจรอบด้านทุกฝ่าย แต่การทำสัญญาต้องมีการระมัดระวังเพราะเมื่อทุกๆคนรู้จักตลาดดีแล้ว Value ในการทำ JV จะเปลี่ยนไป ในการตกลงครั้งแรกจึงควรคิดถึงประเด็นในการแยกทางในอนาคตไว้ด้วย หรือคิดถึงกรณีที่ Value ของแต่ละฝ่ายเปลี่ยนไปจะต้องมีการ Review ส่วนแบ่งอีกครั้ง

ยกตัวอย่างเช่นบทบาทของ Sale ในครั้งแรกที่ทำ JV และเริ่มธุรกิจใหม่จะมีความสำคัญมาก เพราะยังไม่มีลูกค้าชัดเจนและ Sale ต้องวิ่งหาลูกค้าหรือทำเว็บไซต์ แต่เมื่อสินค้าติดตลาด Sale จะลดความสำคัญลงและ Production จะมีความสำคัญมากขึ้นจึงต้องมีการ Review ส่วนแบ่งกันใหม่ครับ

ภาคผนวก Short Note จากน้องต้อม

ตัวอย่าง JV ที่สำเร็จในไทยได้แก่ บ.Kubota :ซึ่งบริษัทปูนซิเมนท์ไทยและบริษัทจากญี่ปุ่น ประสบความสำเร็จด้วยดีเราได้ประโยชน์จาก technology transfer

การทำ JV ของ Thaioil, มิตรผล, ผาแดง industry เพื่อทำเอทานอลนั้นยังมีอาการกั๊ก technology ส่วนตัวกันอยู่ ทำให้ปุจจุบันไม่ได้รับประโยชน์จากการ JV เท่าที่ควร

บริษัทจาก Japan ไม่สามารถ JV กับบริษัท India เพราะ Culture ต่างกันมาก

Joint-venture

TOPS Super Market คือการร่วมกลุ่มทำ JV มี Central Royal Ahold ซึ่งเป็นบริษัท Super Market ยุโรปชื่อดังจาก netherland โดยเซ้นทรัลจีบมา หลังจากทำ 6-7 ปี TOPS ไปได้ดี Central เลยซื้อหุ้นคืนมาเป็นของตนหมดใน ราคาไม่มาก (ได้โอกาศจากวิกฤติเศรษฐกิจยุโรป)

TESCO และ CP ตอนแรกนำห้างเข้ามา และตอนหลัง CP ขายหุ้น TESCO ซื้อเพิ่มและถือหุ้นน้อยมากในปัจจุบัน

CP – เจียไต๋ เปิดห้างในจีนชื่อ tesco เช่นกัน แต่ปัจจุบันถอนหุ้นแล้วเนื่องจากการดำเนินการลำบาก

ลองอ่าน thaivi.com

CP กับ 7-11 ,มีปัญหาเล็กน้อยจาก CP freshmart แย่งลูกค้า กลุ่ม CP ถือหุ้นไขว้กันซับซ้อนมาก อาจช่วยเหลือในกลุ่มได้

7-11 นั้น CP ได้รับ Licence มา (ไม่ได้ JV) จึงเปิดบริษัทดำเนินการ CP ได้เปิดบริษัท SUpply และบริการต่างๆที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมสะดวกซื้อ ดูแล้วเหมือนจ้างตัวเองนิดๆ

7-11 ในไทยนั้นถือว่ามีสเกลเป็นอันดับ 3 ของโลกรองจาก USA Japan โดยเพิ่งแซง ไต้หวัน สำหรับปีหน้าตั้งเป้า4700 สาขา