ccSalon กิจกรรมการผลักดัน Creative Commons ในไทย

ไปร่วมงาน ccSalon มา เห็นคุณเม่นบล็อกไปแล้วที่นี่ครับ

ผมคิดว่าการจัดงานเป็นการเริ่มต้นที่ดี ในคราวหน้าเราจะได้พัฒนางานได้เพราะในคราวนี้เราได้บทเรียนจากมิติการรับรู้ของผู้ฟังที่มีความหลากหลายมากจริงๆครับ 😛 ในงานเราแทบไม่ได้มีโอกาสพูดถึงการพัฒนา CC ในแง่ดนตรีอย่างแท้จริงเท่าไหร่ แต่พูดถึงความหมายและอำนาจบังคับใช้ของ CC กันซะมากกว่า ( จริงๆแล้วผมเตรียมตัวอย่างเพลงมาเล่นแล้วเสวนาไว้ส่วนหนึ่งแต่ไม่ได้พูด ) ดังนั้นหากมีสัมนาคราวหน้าผมเสนอแยกกลุ่มย่อยก่อนแล้วจึงมา Discuss รวมครับ จะได้ทำความเข้าใจแนวคิดของแต่ละคนก่อนว่าอยู่เลเวลใด

ขอบคุณทีมงานทุกท่าน @phichai @Fringer @hongsyok @mene078 @simplywit @iMenn @warong @moui @bact @kijjaz @Noterious @theniw

ภาพโดย คุณจ๋ง @warong

@fringer ส่วนใหญ่จะตอบคำถามด้าน CC ทั้งหมด
@fringer ส่วนใหญ่จะตอบคำถามด้าน CC ทั้งหมด

คุณ อธิป กำลังพูด ส่วนด้านซ้ายคือคุณ คเณศ  และ พรภัฏ  (@Noterious)
คุณ อธิป กำลังพูด ส่วนด้านซ้ายคือคุณ คเณศ และ พรภัฏ (@Noterious) จากวงกาเนชา
เม่นกำลังบรรยาย
เม่นกำลังบรรยาย
@kijjaz จากโมโนโทนพูดถึงโมเดล Business ตอนนี้กิจก็เป็นสมาชิก #ihear เช่นกัน
@kijjaz จากโมโนโทนพูดถึงโมเดล Business ตอนนี้กิจก็เป็นสมาชิก #ihear เช่นกัน
คุณ @moui ให้ของที่ระลึก @fringer
คุณ @moui ให้ของที่ระลึก @fringer
ผมก็ได้เหมือนกันนนน
ผมก็ได้เหมือนกันนนน

CC กับสิ่งที่เรานำเสนอ

สิ่งที่ผมกับเม่นพูดก็คือสิ่งที่เราเคยทำมาทั้งอัลบั้ม HappyDDogs และ Nat Vuthisake ก่อนหน้าที่จะใช้สัญญาอนุญาต CC และเผยแพร่อัลบั้มนี้บนอินเทอร์เน็ท เราก็เคยพยายามผลักดันผลงานชุดนี้ตามแนวทางการทำดนตรีแบบที่พวกเราคุ้นเคยกัน คือการผลิตตามอุตสาหกรมดนตรีที่อาศัยช่องทางประชาสัมพันธ์ในสื่อสารมวลชนกระแสหลัก เช่นโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ และช่องทางการเข้าถึงผู้ฟังตามบริษัทจัดจำหน่ายและหน้าร้านขายปลีก

ในความคิดของผม CC นั้นคือ การเสียสละมูลค่าด้านลิขสิทธิ์บางส่วนเพื่อทดแทนต้นทุนช่องทางการเผยแพร่ผลงานที่หายไปจากเทคโนโลยี และเสริมสร้าง asset ให้กับตัวบุคคลในลักษณะปัจเจก

ความยากของ CC นั้นมีหลายมิติเหมือนกัน แต่สิ่งที่ยากที่สุดนั่นคือ คนไทยยังไม่ได้มีวิธีคิดเรื่องลิขสิทธิ์ทางปัญญาอย่างที่คุณเม่นเคยคอมเม้นท์ไว้ในโพสเรื่อง opensource

ผมคิดว่า กระบวนการที่ทำให้เกิดสังคม Opensource ได้นั้น คือ

1. ผู้คนเห็นคุณค่าของงานที่ทำขึ้น ไม่ใช่ขโมยของกันจนเป็นปกติ
2.จากข้อ 1. ทำให้เกิดระบบลิขสิทธิ์ และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับลิขสิทธิ์
3.ผู้คนพยายามลดค่าใช้จ่ายด้านลิขสิทธ์ โดยใช้ซอฟแวร์ทดแทน (Freeware/Opensource) ซึ่งต้องยอมรับในข้อจำกัด และยอมรับในการพึ่งตัวเอง
4.สามารถลดค่าใช้จ่ายได้ มีอิสระในการแก้ไขสิ่งต่างๆ เกิดการแลกเปลี่ยนและพัฒนา และตอบแทนสังคม Opensource ด้วยปัจจัยต่างๆ

ความยากของ CC ในแง่เพลง/ดนตรี

ความยากของการใช้ CC ในแง่เพลงนั้นผมว่ายากกว่าสื่ออื่นๆครับ ประการแรกๆคือ เวลาเราฟังเพลง ไม่มีตรงไหนของเพลงที่บอกว่าเป็นเพลงเรายกเว้นเปิดในวิทยุแล้วมีดีเจมาบอก ในขณะที่ บทความ ภาพถ่าย หรือ วีดีโอ เราสามารถแนบ Credit ได้โดยไม่น่าเกลียด สำหรับประเด็นการเปิดในคอมพิวเตอร์สามารถแก้ปัญหาตรงนี้ได้เพราะมี Coding,Meta ซึ่งสามารถแนบรายละเอียดเพลงลงไปได้ ลองดูใน itunes จะเข้าใจครับ อย่างไรก็ตามการเปิดเพลงตามห้างนั้นก็ไม่สามารถบอกรายละเอียดได้ ขึ้นอยู่กับเราต้องตรวจสอบเอง

ความหมายของการใช้ CC ในเพลงนั้นเห็นได้ชัดเจนว่ามีความหมายเพื่อที่จะสามารถเอาไป Remix ต่อได้โดยอ้างถึงเจ้าของเพลงเก่าได้ ในทางปฎิบัติการรีมิกซ์ยังเป็นส่วนน้อยของเพลงทั้งหมด ผมยังมองภาพที่เป็นรูปธรรมในเพลงทั่วไปที่เล่นดนตรีสดแต่นำ”แนวคิดในการทำเพลงคนอื่นมาใช้”ได้ยากนิดหน่อย

จริงสิ่งที่ @fringer พูดเรื่อง Sampling นั้นหมายความว่าเป็นชิ้นส่วนดนตรีที่นำมาสร้างเป็นเพลงจะชัดเจนกว่าครับ เช่น loop กลองชุดนี้เล่นโดย @sexdrum หรือกีต้าร์นี้เล่นโดย @kijjaz เมื่อนำมาใช้ต้องอ้างถึง อย่างไรก็ตามผู้สร้าง loop ไทยยังไม่ค่อยประกาศ CC ตรงนี้ชัดเจน บางคนกลับแจกฟรี สำหรับเว็บที่ @fringer แนะนำคือ http://ccmixter.org/ อย่างไรก็ตามคุณเม่นตั้งคำถามว่า ขโมย loop มาแล้วฟ้องกันได้จริงหรือ ? ถ้าฟ้องไม่ได้ จะ cc หรือไม่ ก็ไม่มีประโยชน์ สำหรับเรื่องนี้เท่าที่ผมได้ยินในเคสเมืองนอกคือ เอา track ดนตรีเสียงกลองที่ทำให้ศิลปินรายหนึ่งไปใช้กับศิลปินรายหนึ่งแล้วโปรดิวเซอร์เลยจะฟ้องกันเองครับ

สำหรับผู้ที่ไม่เข้าใจว่า “ชิ้นส่วนของเครื่องดนตรี”ที่นำมาใช้ในเพลงหรือที่เรียกว่า loop นั้นคืออะไร ลองดูพรีเซ้นท์การ์ราจแบนด์ iStudioช่วงท้ายๆดูได้ครับ

สืบเนื่องจากความคิดของคุณเม่นในข้างต้น ยังมีความยากในแง่่ “การพัฒนาองค์ความรู้ต่อยอด” ที่ทาง CC หวังจะให้เป็นอีกด้วย เพราะเราไม่ได้มีความภูมิใจที่จะบอกว่า เราได้แนวคิดการทำเพลงนี้มาจากเพลงเก่าของใคร ดังนั้นการต่อยอดก็ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ครับ อีกอย่างนิสัยของศิลปินนั้นก็ไม่สม่ำเสมอยากแก่การคาดเดา

ความยากของการตีความในตัวเพลง เพลงหนึ่งเพลงมีมิติการฟังที่หลากหลายอยู่มาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง เมโลดี้ (ซึ่งเป็นเรื่องเดียวที่มีกฎหมายรองรับ ได้แก่เพลงจะเหมือนกันได้ขึ้นกับว่ามีเมโลดี้ซ้ำกันเกิน 7 ตัวหรือไม่) ฮาร์โมนี่หรือเรื่องคอร์ดต่างๆ การเรียบเรียงเพลงหรือเครื่องดนตรีชนิดต่าง คุณภาพของเสียงและคาร์แร็คเตอร์ ดังนั้นการตีความว่าเพลงนี้ลอกมาจากเพลงอื่นหรือไม่ยังยากสำหรับคนทั่วไปแน่นอน ผิดกับภาพถ่ายและวีดีโอที่เราเห็นปั๊ปเรารู้เลยว่ามันน่าจะดัดแปลงหรือลอกมาจากอะไรตามสามัญสำนึก นอกจากนี้ยังมีความบังเอิญเหมือนเกิดขึ้นได้อีกเพราะเรามีโน้ตดนตรีเพียง 12 ตัวแต่มีเพลงเป็นล้านเพลงแล้วนะครับ เพลงที่จะเพราะได้ก็มีสูตรและทฤษฎีของมันอยู่

แนวทางที่จะสนับสนุน CC ดนตรีให้เป็นรูปธรรมเท่าที่ผมคิดได้ในตอนนี้

อยากให้ร่วมกันออกความคิดเห็นเล็กน้อยถึงแนวทางครับ ผมเองอาจจะไม่ได้แม่นด้านปรัชญามาก แต่ในฐานะนักดนตรี CC มีประโยชน์ชัดเจนกับผมในช่วงที่ผ่านมา เพราะเพลงที่ดีเมื่อเกิดขึ้นมา นักดนตรีมักจะถูกเป็นที่รู้จักในวงการเบื้องหลังโดยธรรมชาติ ( สมัยก่อนมีปกเทปซึ่งจะบอกรายชื่อนักดนตรี อันนี้ถือเป็นการใส่ Credit ซึ่งผมถือว่าให้ผลเช่นเดียวกับ CC ตั้งแต่โบราณแล้ว ) ดังนั้นผมจะลองทำสิ่งเหล่านี้ดูก่อน work ไม่ work ค่อยมารีวิวกันอีกที

1. จะเล่นเพลงใครทุกครั้ง ถ้ารู้แล้วก็ต้องประกาศชื่อเพลงให้ละเอียดที่สุด ยิ่งเพลงไหนใช้ CC เอามาเล่นใหม่ก็จะต้องบอกที่มาให้ชัดเจน เพลงไหนใช้ Loop ใครก็จะบอกด้วยครับ ให้เป็นธรรมเนียม

2. เข้าใจแนวคิดของลิขสิทธิ์

3.นำเพลงที่มี CC มารีมิกซ์ต่อ หรือเล่นในแบบที่ผมชอบ แล้วปัฎิบัติตามข้อกำหนด

4. แนะแนวทางให้วง #ihear band สามารถผลิต “ชิ้นส่วนดนตรี” หรือ loop ในแบบ CC และผลิตงานเพลงที่ดัดแปลงจากงาน CC ของคนอื่น และ ผลิตต้นฉบับงานเพลง CC ทั้งแบบสมบูรณ์ หรือไม่สมบูรณ์ ( minus-1 หรือ Backing track ) คุณ @kijjaz เสนอแนวคิด Music Opensource ด้วยครับ

5. วง #iHear จะเริ่มเป็นที่สำหรับเผยแพร่ผลงานและสร้างชื่อเสียงให้กับนักดนตรีแบบปัจเจกและนักดนตรีเหล่านั้นจะสามารถ Survive ได้ครับ (อันนี้คล้ายคลึงกับกาเนชาตรงที่เค้าต้องการสร้าง Musician Union)

CC แท้จริงแล้วเกิดจากแรงกดดันทางเทคโนโลยี?

อย่างไรก็ตาม คุณจ๋งนั้นก็มีแนวคิดทาง CC ที่น่าสนใจว่ามันเป็นวิวัฒนาการที่ผูกกับเทคโนโลยีดังนี้

ประการณ์เหล่านี้ หากเราได้ย้อนรำลึกถึง ตั้งคำถาม และครุ่นคิดกับข้อมูลอื่นๆ ประกอบตาม เราน่าจะเห็นพัฒนาการและเข้าใจความเป็นมาของแนวคิดและวิธีการเรื่องลิขสิทธิ์ รวมทั้งเหตุผลที่จำเป็นต้องมีสัญญาอนุญาต CC ก็เป็นได้ครับ สำหรับตัวคุณจ๋งเองเห็นว่าการเข้าใจเหตุผลและความจำเป็นของ CC อาจจะไม่สามารถเข้าใจได้เต็มที่ หากไม่เข้าใจพัฒนาการของการทำดนตรีและเทคโนโลยีในการผลิตซ้ำและการเข้าถึงระหว่างผู้ทำดนตรีและผู้ฟัง เช่นวิธีการทำอัลบั้มและค่าใช้จ่ายในดนตรีเหล่านี้ ขั้นตอน/ค่าใช้จ่ายในการประชาสัมพันธ์ ขั้นตอน/ค่าใช้จ่ายในหน้าร้านและสายส่ง

พอมาถึงจุดนี้ จะเห็นว่าทั้งกระบวนการและค่าใช้จ่ายในการทำดนตรีนั้น เกี่ยวข้องกับการทำดนตรีจริงๆ อยู่ที่ไม่กี่เปอร์เซ็นเท่านั้น หลายๆ คนฟังเมื่อเห็นข้อมูลเหล่านี้ อาจจะรู้สึกในแง่ลบต่อขั้นตอนบางขั้นตอน อย่างไรก็ดี หากเราจินตนาการถึงโลกนี้ที่ไม่มีอินเทอร์เน็ต หรือไม่ก็เอาแค่อินเทอร์เน็ตที่ดาวน์โหลดเพลง mp3 เพลงหนึ่งใช้เวลาครึ่งชั่วโมง (หมายถึงอินเทอร์เน็ตในเมืองไทยเมื่อสัก 10 ปีที่แล้ว) คงจะเห็นว่าที่จริงแล้ว การประชาสัมพันธ์และการจัดจำหน่ายในรูปแบบดั้งเดิมก็มีความจำเป็นอยู่มิใช่น้อย ดนตรีที่เป็นสินค้าและต้องการเข้าถึงกลุ่มผู้ฟังจำนวนมาก มีปัญหาในช่องทางการเข้าถึง ผู้ต้องการเผยแพร่มีมาก แต่ช่องทางติดต่อกับผู้ฟังมีน้อย นั่นเป็นเหตุผลที่ตัวกลางในการสร้างช่องทางเหล่านี้ก็มีความจำเป็น

แต่ต้นทุนในการเป็นตัวกลางนั้นมิใช่น้อยๆ เงื่อนไขทางเทคโนโลยีในขณะนั้นก่อรูปให้เกิดรูปแบบทางอุตสาหกรรมดนตรีที่เรารู้จักกันดี รูปแบบนี้ต้องมีกระบวนการคัดเลือกและปรับตัวระหว่างผู้ผลิตและตัวกลาง เพื่อหาสมดุล อันจำเป็นต้องพึ่งวัฒนธรรมและจริยธรรมทั้งทางศิลปะและการทำงานของผู้ผลิตและตัวกลาง รวมทั้งวัฒนธรรมทางดนตรีของผู้ฟังอยู่ไม่น้อย ซึ่งแต่ละสังคมก็มีความต่างกันไป อันเป็นที่มาของปัญหาหลายๆ ปัญหาที่เราได้ฟังกันจนบางคนก็อาจจะเบื่อเสียแล้ว

ในแง่หนึ่ง ตามความเข้าใจของ รูปแบบที่พูดกันอยู่นี้แหละ มันคือเงื่อนไขของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับลิขสิทธิ์ด้วย

เพราะการเผยแพร่เป็นไปได้ลำบาก ต้องผ่านตัวกลาง ซึ่งมีต้นทุนมิใช่น้อยและอาจจะไม่น้อยกว่าการผลิตดนตรี มีความจำเป็นต้องมีเงื่อนไขบางอย่างที่ทำให้ผู้ผลิต ตัวกลางในการเผยแพร่อยู่ร่วมกันได้ เข้าใจว่าความสลับซับซ้อนและความเปลี่ยนแปลงคงมีอยู่เรื่อยๆ แต่นั่นน่าจะคือที่มาของรูปแบบการเผยแพร่ดนตรีในอดีตเช่นกัน อันที่จริง ปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์ต่างๆ ที่ผ่านมา ถ้าเราลองดูกันให้ดี ก็จะเห็นได้ว่าเป็นปัญหาระหว่างตัวกลางผู้เผยแพร่นั่นเอง (เช่นค่ายเพลงกับคนปั๊มซีดีเถื่อนขาย ค่ายเพลงกับเว็บที่ให้ดาวน์โหลด)

แต่ในทุกวันนี้ เมื่อคนฟังเพลงคุณภาพสูงทาง’เน็ตได้ โดยไม่ต้องพึ่งกระทั่งคนปั๊มซีดีเถื่อน คนอ่านข่าวสารทางดนตรีได้ โดยไม่ต้องพึ่งคอลัมนิสต์ทางสื่อสารมวลชนกระแสหลัก นั่นคงเป็นเงื่อนไขพร้อม ที่จะให้สิ่งที่พวกเราสนใจกันในวันนี้เกิดขึ้นได้ วันที่เงื่อนไขพร้อมแล้วที่ผมผู้สร้างงานดนตรี กับผู้ฟัง สื่อสารถึงกันได้โดยไม่ต้องพึ่งตัวกลางต้นทุนสูง

อัลบั้ม Happy D. Dogs ถือกำเนิดขึ้นในเวลาคาบเกี่ยวกันระหว่างเทคโนโลยีการเผยแพร่แบบเดิม กับรูปแบบใหม่ๆ ที่มาจากเทคโนโลยีที่พร้อมขึ้น ในวันหนึ่ง เมื่อเรามีบล็อก และเราสามารถใช้บล็อกของผมเป็นช่องทางติดต่อผู้ฟังได้โดยตรง อย่างน้อยที่สุด เราก็สามารถเผยแพร่งานของเราทาง ‘เน็ทได้ และเมื่อต้นทุนทางดนตรีจริงๆ แล้วไม่สูงดังที่เคยเป็น เพราะเทคโนโลยีการสร้างช่วยให้ง่าย เทคโนโลยีการเผยแพร่/ผลิตซ้ำ/สื่อสารทำให้เราไม่ต้องผ่านตัวกลางต้นทุนสูง เราก็สามารถสื่อสารกับผู้ฟังที่สนใจได้โดยตรง

สิ่งที่ต้องปรับตัวของเราก็คือ เราคงไม่สามารถประกอบอาชีพเป็นนักแต่งเพลง/นักดนตรีที่ออกอัลบั้มแล้วเก็บโภชน์ผลจากเพลงที่แต่งได้ หรือพูดอีกนัยหนึ่ง เราไม่สามารถประกอบอาชีพ “นักแต่งเพลง” แต่เพียงอย่างเดียวแล้วหวังว่าจะเลี้ยงชีพแบบเดิมได้อีกแล้ว แต่นั่นก็ไม่ใช่เรื่องที่เป็นปัญหาของเรา เพราะการทำเพลงเดี๋ยวนี้ง่ายขึ้นมาก จนเราเองก็ไม่ต้องเสียเวลาหรืออุทิศเวลาในลักษณะการเป็นอาชีพกับการทำดนตรีเช่นเดียวกันครับ ปัญหาที่มีคงเป็นดนตรีบางประเภท เช่นการประพันธ์ดนตรีตามขนบดนตรีคลาสสิคตะวันตก หรือดนตรีที่ซับซ้อน เรียกร้องการอุทิศเวลาในการประพันธ์